ธรรมศึกษา

เพื่อสนทนาธรรม และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อความเป็นกัลยาณมิตร กัลยาณธรรมที่ดีต่อกัน

ธรรมศึกษา

Postโดย wiweksikkaram.hi5 » Thu Nov 11, 2010 12:43 am

ขอยกเรื่องในตำราให้ได้มาศึกษากัน




บุพกรรมของท่านพระอุคคเสน ที่ พูดล้อพระอรหันต์
บุพกรรมของท่านสันตติมหาอำมาตย์ ที่กล่าว สรรเสริญ คุณของพระรัตนไตย

ในอดีตกาลสมัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ในครั้งนั้น พระอุคคเสนและภรรยา เป็นกุลบุตรกุลธิดาชาวพระนครพาราณสี บรรทุกข้าวปลาอาหารและสัมภาระเป็นอันมากในเกวียนหลายเล่ม กำลังไปสู่ที่ก่อสร้างพระเจดีย์

ในระหว่างทางพบพระเถระองค์หนึ่ง กำลังเข้าไปสู่หมู่บ้านเพื่อบิณฑบาต กุลธิดาซึ่งเป็นภรรยาของท่านแลเห็นพระเถระแล้ว จึงกล่าวกะสามีว่า พี่ พระมาบิณฑบาต อาหารของเราก็มีมาก พี่ช่วยไปรับบาตรของท่านมาให้ฉันหน่อยซิ เราจะได้ถวายอาหารบิณฑบาตด้วยกัน สามีจึงลงจากเกวียนไปขอรับบาตรมาจากพระเถระ

ส่วนภรรยาเมื่อได้บาตรมาจากสามีแล้ว ก็ได้บรรจุบาตรด้วยอาหารต่างๆ จนเต็ม แล้วก็ยื่นให้สามีนำไปถวายในมือของพระเถระ แล้วก็ได้ตั้งความปรารถนาว่า ขอให้เราทั้งสองคนพึงได้บรรลุธรรมอย่างท่านด้วยเถิด พระเถระรูปนั้น ท่านเป็นพระอรหันต์ เมื่อท่านได้ตรวจดูไปในอนาคตแล้ว ก็รู้ว่าความปรารถนาของเขาทั้งสองนั้นจะสำเร็จ จึงได้ยิ้มออกมา แต่ก็ไม่ได้พูดอะไร

ผู้เป็นภรรยาเห็นพระเถระแสดงอาการยิ้มแย้มเช่นนั้น จึงพูดกะสามีว่า พี่ พระคุณเจ้าท่านทำท่าทำทางยิ้มแย้มอย่างกับเด็กนักฟ้อน ฝ่ายสามีก็ตอบนางไปว่า ก็คงจะเป็นอย่างนั้น ด้วยอำนาจบุญและบาป ทำให้เขาทั้งสองนั้น

มาในสมัยพุทธกาลนี้ ผู้เป็นสามีได้มาเกิดเป็นบุตรเศรษฐีชื่อ อุคคเสน ส่วนภรรยามาเกิดเป็นธิดาของตระกูลนักฟ้อนรำ ที่ท่องเที่ยวแสดงกายกรรมผาดโผนไปยังเมืองต่างๆ อุคคเสนบุตรเศรษฐีได้พบกับธิดานักฟ้อนรำซึ่งมาแสดงกายกรรมยังเมืองของตน ก็เกิดหลงรักนางขึ้นมา จึงได้ขอนางมาเป็นภรรยา และได้มาอยู่กับคณะของนาง

ต่อมาก็ได้ฝึกเป็นนักแสดง ได้ร่วมแสดงกายกรรมผาดโผนไปกับนางด้วย เพราะวิบากที่พลอยเออออไปกับนางด้วยในชาตินั้น ครั้งหนึ่ง อุคคเสนและภรรยาได้มาเปิดการแสดงที่กรุงราชคฤห์

ขณะที่เขากำลังจะทำการแสดงนั้นเอง พระบรมศาสดาได้เสด็จบิณฑบาตมาถึงพร้อมด้วยพระเถระทั้งหลาย ทำให้มหาชนละสายตาจากอุคคเสนหันมาทำความเคารพพระบรมศาสดากันทั้งหมด จึงทำให้อุคคเสนเสียใจว่า การแสดงของเราคราวนี้คงหมดความหมายเสียแล้ว พระบรมศาสดาทรงทราบอัธยาศัยของเขา จึงตรัสบอกพระมหาโมคคัลลานะให้ไปบอกอุคคเสนว่าจงแสดงศิลปะของตนต่อไปเถิด

อุคคเสนดีใจว่าพระศาสดาจะทรงดูการแสดงของตน จึงได้กระโดดจากแผ่นกระดานที่สูง 60 ศอกขึ้นไปตีลังกาในอากาศถึง 14 รอบ แล้วลงมายืนที่พื้นแสดงความเคารพต่อพระบรมศาสดา จากนั้นก็ได้ฟังธรรมจากพระองค์แล้วได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์

ได้ขอบวชกับพระบรมศาสดา ส่วนภรรยาเมื่อเห็นสามีได้ออกบวชแล้ว จึงได้ออกบวชตาม ภายหลัง นางก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์เถรี ด้วยบุญที่ได้ถวายอาหารบิณฑบาตแก่พระเถระในครั้งนั้น บุคคลทำกรรมเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น การพูดก็เช่นเดียวกัน เพียงการพูดเพ้อเจ้อ ล้อเล่น ล้อเลียนกับพระเถระเพียงแค่นั้น ก็ยังส่งผลให้เป็นไปตามที่ตนพูด จากการเป็นลูกเศรษฐีอยู่ดีๆ ก็ต้องกลายมาเป็นนักแสดงกายกรรมผาดโผนไปได้

คนเราควรพูดถ้อยคำที่เป็นปิยวาจา พูดไพเราะ พูดเป็นอรรถเป็นธรรม เป็นเรื่องจริง มีประโยชน์ และพูดถูกกาลสมัยให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ฟัง เพราะการพูดดีนั้นมีอานิสงส์ ย่อมทำผู้พูดนั้นให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพเลื่อมใสของมหาชน ทั้งให้ได้สมบัติทั้ง 3 คือมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติ ตัวอย่างฝ่ายดีก็มี

อย่างเช่นอดีตชาติของสันตติมหาอมาตย์ ที่ท่านเคยได้เที่ยวป่าวประกาศคุณของพระรัตนตรัย และชักชวนให้มหาชนลุกขึ้นแต่เช้า เพื่อหุงหาอาหารใส่บาตรพระ ชักชวนผู้คนไปวัดเพื่อฟังธรรมและปฏิบัติธรรม

ส่งผลให้ท่านได้มนุษย์สมบัติ คือได้รับม้า รถเทียมม้า ได้ช้างซึ่งประดับประดาเป็นอย่างดี และได้สมบัติเป็นอันมากจากพระราชา ในชาตินั้น ท่านกล่าวสรรเสริญคุณของพระรัตนตรัยจนกระทั่งกลิ่นจันทน์ฟุ้งออกจากตัว กลิ่นดอกบัวฟุ้งออกจากปาก

ด้วยผลบุญนั้น ส่งผลให้ท่านได้ท่องเที่ยวอยู่ในสวรรค์นานถึง 91 กัป มาในชาตินี้ท่านได้มาเกิดเป็นมหาอมาตย์ของพระราชา ได้ฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพียงครั้งแรก ก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์อย่างง่ายดาย
Last edited by wiweksikkaram.hi5 on Thu Nov 11, 2010 12:51 am, edited 2 times in total.
เวลาทำสมาธิ

ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก

ให้รู้ลมหายใจเข้าออก

หายใจเข้าสั้นก็รู้

หายใจออกสั้นก็รู้

หายใจเข้ายาวก็รู้

หายใจออกยาวก็รู้

ไม่ต้องบังคับลมหายใจ

ตามรู้ลมหายใจเข้าออก

สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้

สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย

ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ

เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น

ทำอะไรก็ให้รู้เหตุปัจจัย

รู้ไม่ใช่เพื่อ ยินดี ยินร้าย รู้เพื่อให้ รู้เหตุปัจจัย

เหตุแห่งความเจริญ

เคารพ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

เคารพ สิกขา 3 ศีล สมาธิ ปัญญา

เคารพในความไม่ประมาท

เคารพในการปฎิสันฐาน

เคารพใน ศีล

เคารพใน สมาธิ

เคารพในกันและกัน

หลักตัดสิน ธรรมวินัย 8 ประการ

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด

เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้

เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส

เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย

เป็นไปเพื่อสันโดษ

เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ

เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร

เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย

ธรรมที่ควรเจริญ

สติ

สัมปัชชัญญะ

ศีล

สมาธิ

ปัญญา

วิมุตติ

วิมุตติญาณทัสสนะ

สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ

สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ

สัมมาวาจา พูดชอบ

สัมมาอาชีโว อาชีพชอบ

สัมมากัมมันโต การงานชอบ

สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ

สัมมาสติ ระลึกชอบ

สัมมาสมาธิ ตั้งมั่นชอบ

สัมมาญาณะ ความรู้ชอบ

สัมมาวิมุตติ หลุดพ้นชอบ

สัมมาวิมุตติญาณทัสสนะ ความเห็นในการหลุดพ้นชอบ

สัมมาทิฏฐิ

คือ รู้ชัดซึ่ง เหตุแห่ง กุศล วิชชา เป็น เหตุ

รู้ชัดซึ่ง เหตุแห่ง อกุศล อวิชชา เป็น เหตุ

การบรรลุธรรมอาศัย สติ ปัญญา อุเบกขา เป็นมัทยัทธ์

รักษาสัจจะ เพิ่มพูลจาคะ ไม่ประมาทปัญญา ศึกษาสันติ

การปฎิบัติธรรม

คบสัตบุรุษ ฟังพระสัทธรรม อยู่ในประเทศเหมาะสม ตั้งสัจจะ เดินสัมมาทิฏฐิ เจริญความสงบ

ออกพิจารณาด้านปัญญา + พลังกุศล - บ่มอินทรีย์ นิพพิทา วิราคะ วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ

สติ - ศีล - สมาธิ - ปัญญา - วิมุตติ - วิมุตติญาณทัสสนะ

อัปปมาโณพุทโธ อานุภาพพระพุทธเจ้าไม่มีประมาณ

อัปปมาโณธัมโม อานุภาพพระธรรมไม่มีประมาณ

อัปปมาโณสังโฆ อานุภาพพระสงฆ์ไม่มีประมาณ

เรื่องของสมมติ อวิชชา ตัวตน ยึดตรงไหน หลงที่ไหน ผิดที่นั้น จุดต่อมแห่งภพชาติ

wiweksikkaram.hi5
 
จำนวนผู้ตอบ: 114
สมัครสมาชิก: Mon Mar 15, 2010 12:20 am
ที่อยู่: สุทธาวาสภูมิ

Re: การระวังคำพูด

Postโดย wiweksikkaram.hi5 » Thu Nov 11, 2010 12:47 am

จะยกตัวอย่างของสามเณรสังกิจจะ

สมณะที่ยังเด็กอยู่แต่กลับช่วยชีวิตพระไว้ถึง 30 รูป และ กลับใจโจรอีก 500


สามเณรสังกิจจะ เป็นบุตรธิดาเศรษฐีชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่ง ในขณะที่อยู่ในท้องมารดานั่นเอง มารดาได้เสียชีวิตลง ญาติพี่น้องจึงนำนางไปเผา ในขณะที่ไฟกำลังไหม้ร่างกายของนางอยู่นั้น เป็นอัศจรรย์ที่ไฟไม่ไหม้ส่วนท้อง พวกสัปเหร่อได้ใช้หลาวเหล็กแทงส่วนท้องที่ไฟไม่ไหม้นั้นเสร็จแล้วก็กลบด้วยถ่านเพลิง ปลายหลาวเหล็กได้ไปกระทบที่หางตาของทารกนั้นพอดี พอกลบถ่านเพลิงเข้ากับส่วนที่ยังไม่ไหม้แล้ว ก็พากันกลับบ้านด้วยหวังว่าพรุ่งนี้ค่อยมาดับไฟเก็บอัฐิ

ไฟได้ไหม้ร่างกายของมารดานั้นหมดสิ้น เว้นเฉพาะทารกน้อยเท่านั้นที่รอดชีวิตอยู่ได้อย่างปาฏิหาริย์เหมือนกับนอนอยู่ในกลีบบัวก็ปานนั้น ไฟไม่ได้ทำอันตรายใด ๆ เลย ที่เป็นเช่นนั้นเพราะผู้ที่เกิดในภพสุดท้าย ถ้ายังไม่บรรลุพระอรหันต์แล้ว อะไรก็ไม่สามารถทำให้เสียชีวิตได้

เช้าวันรุ่งขึ้นพวกสัปเหร่อมาดับไฟเห็นเด็กนอนอยู่โดยปราศจากอันตรายก็อัศจรรย์ใจ อุ้มกลับบ้านไปให้พวกหมอทำนายชีวิตดู หมอทำนายไว้ ๒ ด้าน คือ ถ้าเด็กอยู่ครองเรือน พวกเครือญาติ ๗ ชั่วโคตรจักไม่ยากจน ถ้าออกบวชจักมีพระ ๕๐๐ รูปเป็นบริวารแวดล้อม พวกญาติจึงตั้งชื่อให้ว่า สังกิจจะ เพราะหางตาเป็นแผลเพราะถูกหลาวเหล็ก

สังกิจจกุมาร มีอายุได้ ๗ ขวบเมื่อทราบประวัติของตนเองจากปากของเด็กเพื่อนบ้าน ก็ปรารถนาจะบวช พวกญาติจึงพาไปขอบวชจากพระสารีบุตรในวันบวชพระเถระให้ตจปัญจกกรรมฐานแล้วให้บวช สามเณรได้บรรลุพระอรหัตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาในขณะที่ปลงผมเสร็จนั่นเอง

สมัยนั้นมีกุลบุตรชาวเมืองสาวัตถีประมาณ ๓๐ คน ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาแล้วก็ขอบวช เมื่อบวชได้ ๕ พรรษา เรียนปัสสนากรรมฐานจากพระพุทธเจ้าแล้ว ก็มีความประสงค์จะพากันไปปฎิบัติธรรม ณ ป่าแห่งหนึ่ง จึงพากันมาทูลลาพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์เห็นภัยอย่างหนึ่งจักเกิดแก่ภิกษุเหล่านี้ เกรงว่าจะไม่บรรลุธรรม มีสามเณรสังกิจจะเท่านั้นที่จะช่วยเหลือพวกพระเหล่านี้ได้ พระองค์จึงรับสั่งให้ภิกษุเหล่านั้นไปอำลาพระสารีบุตรก่อนแล้วค่อยไป

พวกภิกษุได้ไปลาพระสารีบุตร พระเถระทราบความนัยจึงเอ่ยปากมอบสามเณรสังกิจจะให้ไปด้วย พวกภิกษุปฏิเสธเกรงว่าจะเป็นภาระไม่มีเวลาปฏิบัติธรรม พระเถระจึงบอกให้ทราบว่า "สามเณรนี้จักไม่เป็นภาระของพวกเธอ พวกเธอต่างหากจะเป็นภาระของสามเณร พระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่องนี้ดีจึงส่งพวกเธอมาลาเรา" เมื่อเป็นเช่นนี้พวกภิกษุจึงจำเป็นต้องพาสามเณรไปด้วย รวมกันเป็น ๓๑ รูป อำลาพระเถระแล้วก็ออกเดินทางไป


เดินทางไปถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง พวกชาวบ้านมีความเลื่อมใสศรัทธาจึงนิมนต์ให้อยู่จำพรรษา พร้อมรับปากจะพากันอุปถัมภ์บำรุงตลอดพรรษา พวกภิกษุเหล่านั้นจึงรับนิมนต์


ในวันเข้าพรรษา พวกภิกษุได้ตั้งกติกากันไว้ว่า "ยกเว้นเวลาเช้าบิณฑบาต และเวลาเย็นบำรุงพระเถระเท่านั้น เวลาที่เหลือให้ปฏิบัติธรรมห้ามอยู่ด้วยกัน ๒ รูป ต้องบรรลุธรรมให้ได้ภายในพรรษานี้ ถ้ารูปใดไม่สบายพึงตีระฆังบอกพวกเราจะมาปรุงยาถวาย" เมื่อทำกติกาตกลงกันอย่างนี้แล้ว ก็แยกย้ายกันไปปฏิบัติธรรม


ต่อมาวันหนึ่ง มีชายยากไร้คนหนึ่งหนีภัยแล้งมาจากต่างเมืองหวังจะไปขอพึ่งพาลูกสาวอีกเมืองหนึ่ง เดินผ่านมาถึงหมู่บ้านนั้นด้วยอาการอิดโรย ขณะนั้นพวกพระภิกษุได้กลับมาจากบิณบาตกำลังจะฉันเช้าพอดี พบเขาจึงสอบถามเมื่อทราบเรื่องแล้วเกิดความสงสารโยมที่ไม่ได้กินข้าวมาหลายวันแล้ว จึงบอกให้ไปหาใบไม้มาจะแบ่งอาหารให้


ธรรมเนียมของพระสงฆ์อย่างหนึ่งก็คือ "ภิกษุเมื่อจะให้อาหารแก่ผู้มาในเวลาฉัน ไม่ให้อาหารที่เป็นยอด พึงให้มากบ้างน้อยบ้าง เท่ากับส่วนที่จะฉันเอง"


ชายยากไร้หลังกินข้าวอิ่มแล้วก็สอบถามพวกท่านว่า
"มีกิจนิมนต์หรือไร พระคุณเจ้าจึงได้อาหารมากมายขนาดนี้"
"ไม่มีหรอกโยม เป็นเรื่องปกติของที่นี่" พวกภิกษุตอบ


เขาคิดว่า "เราทำงานแทบตายก็ไม่ได้กินอาหารดีเช่นนี้ จะไปอยู่ทำไมที่อื่น อยู่อาศัยกับพระพวกนี้ สบายดีกว่า" จึงขออาศัยอยู่ทำวัตรปฏิบัติอุปัฏฐากพระสงฆ์ด้วย พวกพระภิกษุก็อนุญาต เขาขยันทำงานช่วยเหลือพระภิกษุเหล่านั้นเป็นอย่างดี


เวลาผ่านไป ๒ เดือน ชายยากไร้นั้นอยู่สุขสบายดีตลอดมา คิดถึงลูกสาวจึงแอบหนีออกจากที่พักสงฆ์ไปโดยไม่บอกกล่าวอำลาแก่ผู้ใด เพราะเกรงว่าพระสงฆ์จะไม่อนุญาต


หนทางที่ชายยากไร้นั้นไปจะต้องผ่านดงใหญ่แห่งหน ในดงนั้นมีโจร ๕๐๐ คน ได้บนบานเทวดาว่าจะถวายพลีกรรมในวันที่ ๗ วันนั้นเป็นวันที่ ๗ พอดีเมื่อชายยากไร้นั้นเดินผ่านเข้าไปกลางดงก็ถูกพวกโจรจับตัวมัดไว้ เตรียมที่จะทำพิธีพลีกรรมแก่เทวดา

เขาตกใจกลัวตายได้ร้องของชีวิตไว้และเสนอว่า เขาเป็นคนยากไร้ เทวดาอาจจะไม่ชอบใจ พวกภิกษุเป็นผู้มีศีลสกุลสูง เทวดาท่านจึงจะชอบใจ ไปจับพวกภิกษุมาทำพลีกรรมจะดีกว่า พวกโจรเห็นดีด้วยจึงให้เขาไปที่พักสงฆ์

เขาได้พาพวกโจรไปที่สำนักสงฆ์แล้วตีระฆัง พวกภิกษุเมื่อได้ยินเสียงระฆังเข้าใจว่ามีภิกษุไม่สบายก็มารวมกันที่ศาลา หัวหน้าโจรจึงประกาศให้ทราบว่าต้องการภิกษุ ๑ รูป เพื่อไปทำพลีกรรม

พระทั้ง ๓๐ รูป ต่างอาสาไปตายทั้งสิ้น ตกลงกันไม่ได้ สามเณรสังกิจจะจึงขออาสาไปเอง พวกภิกษุไม่ยอมเพราะสามเณรเป็นลูกศิษย์ของพระสารีบุตรฝากมาเกรงว่าพระเถระจักติเตียนได้ สามเณรจึงบอกให้ทราบว่า พระพุทธเจ้าและพระอุปัชฌาย์ให้ตนมาก็เพื่อมาแก้ปัญหานี้เอง จึงยกมือไหว้พวกภิกษุเดินตามพวกโจรไป

พวกภิกษุซึ่งยังเป็นปุถุชนต่างก็ร้องไห้สงสารสามเณรพร้อมกับกำชับหัวหน้าโจรว่า "ในช่วงที่พวกท่านตระเตรียมสิ่งของ ขอให้นำสามเณรไปไว้ที่อื่นก่อนนะ สามเณรจะกลัว"

หัวหน้าโจรได้นำสามเณรไปที่ดงนั้นแล้วทำตามพวกภิกษุสั่งไว้ เมื่อตระเตรียมทุกอย่างเสร็จแล้ว หัวหน้าโจรได้ถือดาบเดินเข้าไปหาสามเณรหวังจะตัดคอ สามเณรได้นั่งเข้าฌานนิ่งอยู่ พอไปถึงหัวหน้าโจรก็ฟันลงเต็มแรงปรากฏว่าดาบงอ เขาเข้าใจว่าฟันไม่ดี จึงยกดาบขึ้นฟันใหม่ ปรากฏว่า ดาบพับม้วนจนถึงด้าม

หัวหน้าโจนเห็นปาฏิหาริย์เช่นนี้เกิดอัศจรรย์ใจยิ่งนักคิดว่า "ดาบเราฟันหินยังขาด แต่บัดนี้ได้งอพับดังใบตาล ดาบนี้ไม่มีจิตใจยังรู้คุณของสามเณร เรามีจิตใจยังไม่สำนึกเสียอีก"

ได้ทิ้งดาบลงดินแล้วคุกเข่าลงกราบสามเณร พร้อมถามว่า "เณรน้อย คนเป็นพันเห็นพวกผมแล้วต้องตัวสั่นวิ่งหนีไป แต่สำหรับท่านแล้วแม้เพียงความสะดุ้งแห่งจิตก็มิได้มีเลย หน้าตาก็ผุดผ่องแจ่มใส ทำไมท่านจึงไม่ร้องขอชีวิตเล่า"

สามเณรออกจากฌานแล้วแสดงธรรมแก่หัวหน้าโจรว่า "โยม ธรรมดาอัตภาพของพระอรหันต์เป็นเหมือนของหนักวางอยู่บนศีรษะ พระอรหันต์เมื่ออัตภาพนี้แตกไปย่อมยินดี พระอรหันต์จึงไม่กลัวตาย ทุกข์ทางใจย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์ผู้ไม่มีความห่วงใย ผู้ก้าวล่วงภัยทุกอย่างได้แล้ว" หัวหน้าโจรพอได้ฟังคำสามเณรแล้ว พร้อมลูกน้องทั้งหมดได้ไหว้สามเณรแล้วขอบวช

สามเณรได้ตัดผมและชายผ้าด้วยดาบของโจรเหล่านั้นแล้วให้บวชเป็นสามเณรถือศีล ๑๐ เสร็จแล้วได้พาสามเณรเหล่านั้นกลับไปยังที่พักสงฆ์ให้พวกภิกษุทราบความปลอดัยของตนแล้ว ได้อำลาพวกภิกษุพาสามเณรเหล่านั้นไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมเทศนาว่า "ผู้มีศีลแม้มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวยังประเสริฐกว่าการทำโจรกรรมไม่มีศีลมีชีวิตอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี" ในเวลาจบพระธรรมเทศนา สามเณรเหล่านั้นได้บรรลุพระอรหันต์ทั้งหมด
เวลาทำสมาธิ

ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก

ให้รู้ลมหายใจเข้าออก

หายใจเข้าสั้นก็รู้

หายใจออกสั้นก็รู้

หายใจเข้ายาวก็รู้

หายใจออกยาวก็รู้

ไม่ต้องบังคับลมหายใจ

ตามรู้ลมหายใจเข้าออก

สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้

สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย

ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ

เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น

ทำอะไรก็ให้รู้เหตุปัจจัย

รู้ไม่ใช่เพื่อ ยินดี ยินร้าย รู้เพื่อให้ รู้เหตุปัจจัย

เหตุแห่งความเจริญ

เคารพ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

เคารพ สิกขา 3 ศีล สมาธิ ปัญญา

เคารพในความไม่ประมาท

เคารพในการปฎิสันฐาน

เคารพใน ศีล

เคารพใน สมาธิ

เคารพในกันและกัน

หลักตัดสิน ธรรมวินัย 8 ประการ

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด

เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้

เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส

เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย

เป็นไปเพื่อสันโดษ

เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ

เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร

เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย

ธรรมที่ควรเจริญ

สติ

สัมปัชชัญญะ

ศีล

สมาธิ

ปัญญา

วิมุตติ

วิมุตติญาณทัสสนะ

สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ

สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ

สัมมาวาจา พูดชอบ

สัมมาอาชีโว อาชีพชอบ

สัมมากัมมันโต การงานชอบ

สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ

สัมมาสติ ระลึกชอบ

สัมมาสมาธิ ตั้งมั่นชอบ

สัมมาญาณะ ความรู้ชอบ

สัมมาวิมุตติ หลุดพ้นชอบ

สัมมาวิมุตติญาณทัสสนะ ความเห็นในการหลุดพ้นชอบ

สัมมาทิฏฐิ

คือ รู้ชัดซึ่ง เหตุแห่ง กุศล วิชชา เป็น เหตุ

รู้ชัดซึ่ง เหตุแห่ง อกุศล อวิชชา เป็น เหตุ

การบรรลุธรรมอาศัย สติ ปัญญา อุเบกขา เป็นมัทยัทธ์

รักษาสัจจะ เพิ่มพูลจาคะ ไม่ประมาทปัญญา ศึกษาสันติ

การปฎิบัติธรรม

คบสัตบุรุษ ฟังพระสัทธรรม อยู่ในประเทศเหมาะสม ตั้งสัจจะ เดินสัมมาทิฏฐิ เจริญความสงบ

ออกพิจารณาด้านปัญญา + พลังกุศล - บ่มอินทรีย์ นิพพิทา วิราคะ วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ

สติ - ศีล - สมาธิ - ปัญญา - วิมุตติ - วิมุตติญาณทัสสนะ

อัปปมาโณพุทโธ อานุภาพพระพุทธเจ้าไม่มีประมาณ

อัปปมาโณธัมโม อานุภาพพระธรรมไม่มีประมาณ

อัปปมาโณสังโฆ อานุภาพพระสงฆ์ไม่มีประมาณ

เรื่องของสมมติ อวิชชา ตัวตน ยึดตรงไหน หลงที่ไหน ผิดที่นั้น จุดต่อมแห่งภพชาติ

wiweksikkaram.hi5
 
จำนวนผู้ตอบ: 114
สมัครสมาชิก: Mon Mar 15, 2010 12:20 am
ที่อยู่: สุทธาวาสภูมิ

Re: การระวังคำพูด

Postโดย wiweksikkaram.hi5 » Thu Nov 11, 2010 12:55 am

บุพกรรมของพระพุทธเจ้าในด้านนี้

ในชาติอื่นในกาลก่อน เราเป็นนักเลงชื่อปุนาลิ ได้กล่าวตู่พระปัจเจกพุทธเจ้าชื่อว่าสุรภี ผู้ไม่ประทุษร้าย (ตอบ) ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เราท่องเที่ยวอยู่ในนรกเป็นเวลานาน ได้เสวยทุกขเวทนาแสนสาหัส หลายพันปีเป็นอันมาก ด้วยผลกรรมอันเหลือนั้น ในภพหลังสุดนี้ เราจึงได้คำกล่าวตู่เพราะเหตุแห่งนางสุนทริกา

เพราะการกล่าวตู่พระเถระนามว่านันทะ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ครอบงำอันตรายทั้งปวง เราจึงท่องเที่ยวอยู่ในนรกสิ้นกาลนาน เราท่องเที่ยวอยู่ในนรกเป็นเวลานานถึงหมื่นปี ได้ความเป็นมนุษย์แล้ว ได้การกล่าวตู่เป็นอันมาก ด้วยผลกรรมที่เหลือนั้น นางจิญจมานวิกามากับหมู่ชน ได้กล่าวตู่เราด้วยคำอันไม่เป็นจริง

เมื่อก่อน เราเป็นพราหมณ์ชื่อสุตวา อันชนทั้งหลายสักการะบูชา สอนมนต์ให้กับมาณพประมาณ ๕๐๐ คนในป่าใหญ่ ก็เราได้เห็นฤาษีผู้น่ากลัว ได้อภิญญา ๕ มีฤทธิ์มาก มาในสำนักของเรา เราจึงกล่าวตู่ฤาษีผู้ไม่ประทุษร้าย โดยได้บอกกะพวกศิษย์ของเราว่า ฤาษีพวกนี้มักบริโภคกาม แม้เมื่อเราบอก (เท่านั้น) พวกมาณพก็เชื่อฟัง ครั้งนั้น มาณพทั้งปวงเที่ยวไปภิกษาในสกุลๆ พากันบอกแก่มหาชนว่า ฤาษีพวกนี้มักบริโภคกาม ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ภิกษุ ๕๐๐ เหล่านี้ ได้คำกล่าวตู่ทั้งหมด เพราะเหตุแห่งนางสุนทริกา

เราชื่อว่าโชติปาละ ได้กล่าวกะพระสุคตเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ในกาลนั้นว่า จักมีโพธิมณฑลแต่ที่ไหน โพธิญาณท่านได้ยากอย่างยิ่ง (คือกล่าวตู่พระกัสสปพุทธเจ้าว่า ไม่ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าจริงๆ - ธัมมโชติ) ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เราได้ประพฤติกรรมที่ทำได้ยากมาก (ทุกกรกิริยา) ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมตลอด ๖ ปี แต่นั้นจึงได้บรรลุโพธิญาณ แต่เราก็มิได้บรรลุโพธิญาณอันสูงสุดด้วยหนทางนี้ (คือด้วยทุกกรกิริยาอันยากลำบากนั้น - ธัมมโชติ) เราอันบุรพกรรมตักเตือนแล้ว จึงแสวงหาโพธิญาณโดยทางที่ผิด

(บัดนี้) เราเป็นผู้สิ้นบาปและบุญ (คือไม่ทำกรรมใหม่ใดๆ แล้ว ทั้งบาปและบุญ เป็นสักแต่ว่าทำสิ่งที่ควรทำไปเท่านั้น แต่ก็ยังไม่พ้นจากผลของกรรมเก่าจนกว่าจะปรินิพพานไปแล้ว - ธัมมโชติ) เว้นจากความเร่าร้อนทั้งปวง ไม่มีความเศร้าโศก ไม่คับแค้น เป็นผู้ไม่มีอาสวะ (กิเลสที่นอนเนื่องในขันธสันดาน - ธัมมโชติ) จักนิพพาน
เวลาทำสมาธิ

ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก

ให้รู้ลมหายใจเข้าออก

หายใจเข้าสั้นก็รู้

หายใจออกสั้นก็รู้

หายใจเข้ายาวก็รู้

หายใจออกยาวก็รู้

ไม่ต้องบังคับลมหายใจ

ตามรู้ลมหายใจเข้าออก

สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้

สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย

ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ

เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น

ทำอะไรก็ให้รู้เหตุปัจจัย

รู้ไม่ใช่เพื่อ ยินดี ยินร้าย รู้เพื่อให้ รู้เหตุปัจจัย

เหตุแห่งความเจริญ

เคารพ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

เคารพ สิกขา 3 ศีล สมาธิ ปัญญา

เคารพในความไม่ประมาท

เคารพในการปฎิสันฐาน

เคารพใน ศีล

เคารพใน สมาธิ

เคารพในกันและกัน

หลักตัดสิน ธรรมวินัย 8 ประการ

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด

เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้

เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส

เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย

เป็นไปเพื่อสันโดษ

เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ

เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร

เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย

ธรรมที่ควรเจริญ

สติ

สัมปัชชัญญะ

ศีล

สมาธิ

ปัญญา

วิมุตติ

วิมุตติญาณทัสสนะ

สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ

สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ

สัมมาวาจา พูดชอบ

สัมมาอาชีโว อาชีพชอบ

สัมมากัมมันโต การงานชอบ

สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ

สัมมาสติ ระลึกชอบ

สัมมาสมาธิ ตั้งมั่นชอบ

สัมมาญาณะ ความรู้ชอบ

สัมมาวิมุตติ หลุดพ้นชอบ

สัมมาวิมุตติญาณทัสสนะ ความเห็นในการหลุดพ้นชอบ

สัมมาทิฏฐิ

คือ รู้ชัดซึ่ง เหตุแห่ง กุศล วิชชา เป็น เหตุ

รู้ชัดซึ่ง เหตุแห่ง อกุศล อวิชชา เป็น เหตุ

การบรรลุธรรมอาศัย สติ ปัญญา อุเบกขา เป็นมัทยัทธ์

รักษาสัจจะ เพิ่มพูลจาคะ ไม่ประมาทปัญญา ศึกษาสันติ

การปฎิบัติธรรม

คบสัตบุรุษ ฟังพระสัทธรรม อยู่ในประเทศเหมาะสม ตั้งสัจจะ เดินสัมมาทิฏฐิ เจริญความสงบ

ออกพิจารณาด้านปัญญา + พลังกุศล - บ่มอินทรีย์ นิพพิทา วิราคะ วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ

สติ - ศีล - สมาธิ - ปัญญา - วิมุตติ - วิมุตติญาณทัสสนะ

อัปปมาโณพุทโธ อานุภาพพระพุทธเจ้าไม่มีประมาณ

อัปปมาโณธัมโม อานุภาพพระธรรมไม่มีประมาณ

อัปปมาโณสังโฆ อานุภาพพระสงฆ์ไม่มีประมาณ

เรื่องของสมมติ อวิชชา ตัวตน ยึดตรงไหน หลงที่ไหน ผิดที่นั้น จุดต่อมแห่งภพชาติ

wiweksikkaram.hi5
 
จำนวนผู้ตอบ: 114
สมัครสมาชิก: Mon Mar 15, 2010 12:20 am
ที่อยู่: สุทธาวาสภูมิ

Re: การระวังคำพูด

Postโดย wiweksikkaram.hi5 » Thu Nov 11, 2010 1:07 am

ในสุมนเถรวัตถุ มีความว่า ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ บุพพาราม อันนางวิสาขามหาอุบาสิกา สละทรัพย์ ๒๔ โกฎิ สร้างถวาย อยู่ใกล้กรุงราชคฤห์ ทรงปรารภ สุมนสามเณร ให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุแล้ว จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนาที่พระสังคีติกาจารย์ กำหนดด้วยบทพระคาถาเป็นประถมบาท

ในกาลเมื่อพระศาสนาของพระปทุมุตตรพุทธเจ้า ยังมีกุลบุตรผู้หนึ่งเห็นพระบรมศาสดาทรงตั้งพระภิกษุรูปหนึ่ง ไว้ในเอตทัคคฐานอันเลิศฝ่ายข้างทิพยจักษุ เมื่อจะปรารภฐานันดรอันนั้น จึงอาราธนาพระบรมศาสดาแล้ว ถวายทานแก่พระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานสิ้นเจ็ดวัน แล้วจึงตั้งปณิธานว่า ขอให้ตนพึงได้เป็นผู้เลิศฝ่ายข้างทิพยจักขุ ในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในอนาคตกาล พระบรมศาสดาจึงพิจารณาดูในกาลในแสนกัป ก็ทรงทราบว่าความปรารถนาของกุลบุตรนั้นจะสำเร็จ จึงพยากรณ์ว่า ในที่สุดของแสนกัปนับแต่นี้ไป ท่านจะได้เป็นผู้เลิศฝ่ายข้างทิพยจักขุ มีนามว่า อนุรุธ ในพระศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้า

กุลบุตรนั้น ครั้นได้ฟังพยากรณ์ดังนั้น ปานประหนึ่งว่าจะถึงในวันพรุ่ง ฉะนั้น เมื่อพระปทุมุตตระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่พระปรินิพพานแล้ว จึงไต่ถามบริกรรมของทิพพจักขุ เมื่อจะแวดล้อมพระกาญจนมหาสถูป มีปริมณฑลได้กว้างใหญ่ จึงยังชนให้กระทำต้นไม้ประทีปมากกว่าหมื่นกว่าพันกระทำที่บูชา ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ก็ได้ไปเกิดในเทวโลก เวียนว่ายอยู่ในสวรรค์และมนุษย์อยู่เจ็ดพันกัป ครั้นมาในภัททกัปก็ได้มาเกิดในตระกูลของคนยากในนครพาราณสี อาศัยสุมนเศรษฐีเลี้ยงชีวิตเป็นคนสำหรับหาบหญ้าของสุมนเศรษฐี มีชื่อว่า อันนภารบุรุษ อยู่มาวันหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งทรงพระนามว่า อุปริฎฐปัจเจกโพธิ ออกจากนิโรธสมาบัติในเขาคันธมาทน แล้วจึงดำริว่าวันนี้เราจะสงเคราะห์แก่ผู้ใดดี ก็ทราบว่าจะสงเคราะห์แก่อันนภารบุรุษ เมื่อทราบเหตุดังนั้นแล้ว ก็เข้าไปประดิษฐานอยู่ในที่เฉพาะหน้าของอันนภารบุรุษ
(เนื้อความต่อจากนี้ เหมือนกันกับเรื่องของพระอนุรุทธเถระ จนถึงพระอนุรุทธเถระออกบรรพชา)

พระอนุรุทธเถระได้กระทำให้แจ้งในไตรวิชาโดยลำดับ ก็สามารถเพื่อจะแลดูโลกธาตุพันหนึ่ง เห็นโปร่งตลอดไปได้ด้วยทิพพจักษุ อุปาดุจบุคคลแลดูผลมะขามป้อมในมือ ครั้นแล้วพระเถระจึงพิจารณาดูปอุปนิสัยสมบัติว่า เราได้ทำกุศลกรรมอันใดจึงได้อุปนิสัยสมบัติอันนี้ แล้วพิจารณาต่อไปว่าในกาลเมื่อเราได้เกิดเป็นมนุษย์ ทุคคตเข็ญใจชื่อ อันนภารบุรุษ อาศัยสุมนเศรษฐีเลี้ยงชีวิต ได้ถวายอาหารแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าชื่อว่า อุปริฎฐ ในกาลครั้งนั้นสุมนเศรษฐีได้ให้กหาปณะแก่เรา และถือเอาส่วนบุญของบิณฑบาตทาน ที่เราได้ถวายแก่พระอุปฎิฐปัจเจกโพธิแล้ว ได้เป็นสหายของเรา สุมนเศรษฐีนั้นบัดนี้ไปบังเกิดในที่ใด ลำดับนั้นพระเถระก็ได้เห็นสุมนเศรษฐีนั้นว่า นิคมที่ชื่อว่า มุณฑนิคม อยู่แทบเชิงเขาในราวป่าอัญชฎะที่ไฟไม่ไหม้ บุตรของมหามุณฑอุบาสก ในนิคมนั้นมีอยู่สองคนชื่อ มหาสุมนะ และจุลสุมนะ สุมนเศรษฐีมาเกิดเป็นจุลสุมนะ

พระเถระดำริต่อไปว่า เมื่อเราไปในที่นั้นแล้ว จุลสุมนะมีอายุเจ็ดขวบ จะออกบรรพชาแล้วจะได้บรรลุพระอรหัต เมื่อพระเถระเห็นเหตุดังนี้แล้ว ครั้นภายหลังพระวัสสาจวนจะเข้ามาใกล้ ท่านก็เหาะไปยังบ้านของจุลสุมนะ ฝ่ายมหามุณฑอุบาสกคุ้นเคยกับพระเถระมาก่อน ครั้นเห็นพระเถระจึงว่าแก่มหาสุมนะผู้เป็นบุตรว่า พระอนุรุทธเถระท่านมาถึงแล้ว เจ้าจงไปรับบาตรของท่านเถิด อุบาสกจึงอาราธนาพระเถระให้เข้าไปสู่เคหสถาน แล้วก็อังคาสด้วยบิณฑาหาร แล้วถือเอาปฎิญาณเพื่อจะยังพระเถระให้อยู่จำพระวัสสา สิ้นไตรมาสสามเดือน พระเถระก็รับปฎิญาณ

ครั้นอยู่มาวันหนึ่งเป็นวันมหาปวารณา อุบาสกนั้นจึงให้นำเอาวัตถุทั้งหลายมาวางแทบบาทมูลของพระเถระ แล้วกล่าวว่าขอท่านจงรับวัตถุทั้งปวงนี้เถิด พระเถระก็ห้ามเสียว่า หาควรไม่ เพราะสามเณรที่จะเป็นกัปปิยะนั้นไม่มีในสำนักเรา อุบาสกจึงบอกว่า จะให้มหาสุมนะบุตรของตนไปเป็นสามเณร พระเถระก็ปฎิเสธ อุบาสกจึงขอให้จุลสุมนะบวชเป็นสามเณร พระเถระก็รับวาจาว่า สาธุ แล้วก็ให้จุลสุมนะบวชเป็นสามเณร


จุลสุมนะสามเณรนั้น แต่พอจดปลายมีดโกนลงจะปลงเกศา ก็ได้บรรลุพระอรหัต พระอนุรุทธเถระก็อยู่ในที่นั้นกับพระสุมนสามเณรสิ้นกึ่งเดือน แล้วจึงอำลาญาติของสุมนสามเณรว่า จะไปเยี่ยมเยียนพระผู้มีพระภาคเจ้า อำลาแล้วพระเถระก็เหาะกลับมายังกุฎี ในราวป่าหิมวันตประเทศ

พระอนุรุทธเถระเกิดอาการลมพัดอยู่ในอุทรกำเริบ สุมนสามเณรจึงถามความเป็นมาก็รู้ว่าถ้าได้น้ำในสระอโนดาต มาฉันแล้วจะหายจึงอาสาไปเอาน้ำนั้นมาให้ โดยที่พระเถระบอกว่า พระยาปุณณกนาคราช ซึ่งอยู่ในสระอโนดาตรู้จักกับท่าน ให้สุมนสามเณรไปบอกนาคราชนั้น และสุมนสามเณรก็เหาะไปเป็นระยะทางประมาณ ๕๐๐ โยชน์ นาคราชครั้นเห็นสามเณรก็มีความพิโรธขัดเคืองว่า สมณะนี้บังอาจเที่ยวเรี่ยรายฝุ่นที่เท้าของตน ลงเหนือศีรษะของเรา ชะรอยจะมีประโยชน์กับน้ำในสระอโนดาตจึงได้มา เราจะไม่ให้น้ำของเราแก่สมณะนี้ แล้วนาคราชก็ปิดสระอโนดาตอันกว้างใหญ่ เสียด้วยพังพานของตน สุมนสามเณรเห็นอาการของนาคราชนั้นแล้ว ก็รู้ว่านาคราชนี้โกรธ จึงกล่าวเป็นบาทคาถาว่า ดูกร นาคราชผู้มีเดชอันปรากฎมีกำลังเป็นอันมาก เราปรารถนาน้ำเพื่อกระทำเป็นยา จึงได้มาในที่นี้ ท่านจงให้น้ำแก่เราหม้อหนึ่งเถิด

นาคราชสดับวาจาดังนั้น จึงกล่าวเป็นคาถาว่า แม่น้ำอันใหญ่ชื่อว่าคงคา อยู่ในทิศตะวันออก กระแสไหลไปสู่มหาสมุทร ท่านจงไปเอาน้ำแต่คงคานทีเถิด สุมนสามเณรได้ฟังจึงมาดำริว่า นาคราชผู้นี้จะไม่ให้น้ำแก่เรา เพราะความริษยาของตน จำเราจะกระทำพลการข่มเหง ให้นาคราชรู้จักอานุภาพของเรา ดำริพลางทางมีวาจาว่า ท่านนาคราชพระอุปัชฌาย์ของเราใช้ให้เรามาตักน้ำในสระอโนดาต ท่านจงหลีกไปให้พ้นเถิด แล้วกล่าวเป็นพระคาถาว่า เรามีประโยชน์ด้วยน้ำอันนี้ เราจึงจะนำน้ำไปให้จงได้ ถ้ากำลังและความเพียรของท่านมีอยู่ ท่านจงห้ามจงกันเราไว้ให้ได้เถิด นาคราชจึงมีวาจาว่า ถ้าความเพียรของบุรุษมีแด่ท่านแล้ว เราก็มีความยินดีขอบใจวาจาของท่าน จงตักน้ำของเราไปให้ได้เถิด สามเณรจึงมีวาจาว่า ถ้าท่านยอมอนุญาตเราก็จะนำเอาไป นาคราชกล่าวว่า ถ้าท่านจะนำไปได้แล้ว ก็จงนำไปเถิด

สามเณรก็ถือเอาปฎิญาณว่า ถ้ากระนั้นท่านจงรู้ด้วยเถิด สิ้นวาระสามครั้งแล้ว จึงดำริว่า กิริยาที่เราจะแสดงอานุภาพของพระพุทธศาสนาให้ปรากฎก่อน แล้วจึงค่อยนำไปนั้นเห็นสมควร คิดแล้วก็ไปสู่สำนักของอากาสัฎฐกเทพดาทั้งหลาย มีวาจาว่าสงครามของเรากับพระยาปุณณกนาคราช จะมีเหนือสระอโนดาต ท่านทั้งหลายจงชวนไปดู ตกว่าสามเณรนั้น เข้าไปสู่สำนักของเทวดาทั้งหลายไปโดยลำดับถึงพรหมโลก ยกเสียแต่อสัญญีภพกับอรูปภพสองชั้นเท่านั้น

เทพดาทั้งหลาย ครั้นได้สดับวาจาสามเณรก็พากันมาประชุมพร้อมกัน อยู่บนอากาศหาระหว่างมิได้ เมื่อบรรดาเทพยดามาประชุมพร้อมกันแล้ว สุมนสามเณรก็ประดิษฐานยืนอยู่บนอากาศ มีวาจากับนาคราชว่า เรามีความปรารถนาน้ำเพื่อจะกระทำเป็นเภสัช ท่านจงให้น้ำแก่เราหม้อหนึ่งเถิด นาคราชมีวาจาตอบว่า ถ้าความเพียรของบุรุษมีอยู่แก่ท่านแล้ว ท่านจงตักเอาน้ำของเราไปให้ได้เถิด สุมนสามเณรก็ถือเอาคำปฎิญาณของนาคราช สิ้นวาระสาม แล้วก็ดำรงอยู่เหนือห้องนภากาศ นิมิตรอัตภาพดุจท้าวมหาพรหมลงจากอากาศเหยียบลง เหนือพังพานของนาคราช แล้วก็กดลงให้นาคราชมีหน้าลงเบื้องต่ำ กระพองของพังพานของนาคราชก็หดไป มีประมาณเท่าทัพพี ดุจหนังอันบุรุษมีกำลังเหยียบให้จมลง ฉะนั้น เกลียวของน้ำมีประมาณเท่าลำตาล ก็พลุ่งขึ้นในที่ซึ่งพังพานของนาคราชจมลงไปนั้น สุมนสามเณรก็ยังกระบอกให้เต็มด้วยน้ำในกาลนั้น
ฝ่ายฝูงเทพยดาทั้งปวงก็ให้สาธุการเอิกเกริกเป็นโกลาหล ฝ่ายนาคราชได้ความละอายอดสู ก็โกรธสามเณรยิ่งนัก มาคิดว่าเราจะจับสามเณรให้จงได้ แล้วจะขว้างไปยังฝั่งฟากโน้น คิดแล้วก็แล่นไล่ติดตามสามเณร ด้วยกำลังอันเร็ว แต่ก็หาทันสามเณรไม่

ฝ่ายสามเณร ครั้นไปถึงสำนักพระอุปัชฌาย์จึงวางอุทกกัง ลงในมือพระอุปัชฌาย์มีวาจาว่า นิมนต์ท่านฉันอุทกังเถิด ฝ่ายนาคราชเมื่อไล่ติดตามมาเลื้องหลัง จึงร้องมาแต่ไกลว่า ท่านจงอย่าได้ฉันเข้าไปเลย พระอนุรุทธเถระจึงถามสามเณรว่า จริงเหมือนนาคราชกระนั้นหรือประการใด สามเณรจึงตอบว่า จงฉันเถิด น้ำนี้นาคราชให้แก่ข้าพเจ้าแล้วจึงได้นำมา พระเถระก็รู้ชัดว่าถ้อยคำมุสานั้น ไม่มีแก่สามเณรผู้เป็นขีณาสพมิได้ พระเถระรู้ชัดดังนี้แล้ว ก็ฉันอุทกังนั้น

ขณะนั้นอาพาธของพระเถระก็ระงับไป นาคราชจึงว่าแก่พระเถระว่า สามเณรยังหมู่เทวดาทั้งหลายให้มาประชุมพร้อมกันแล้ว กระทำข้าพเจ้าให้ได้ความอัปยศอายเป็นอันมาก ข้าพเจ้าจึงฉีกหัวใจของสามเณรนั้นเสีย มิฉะนั้นข้าพเจ้าจะจับเท้าขว้างไปเสียฝั่งสมุทรฟากโน้น ให้จงได้ในกาลบัดนี้ พระเถระจึงกล่าววาจาว่า สามเณรนี้มีอานุภาพมาก ท่านจึงไม่อาจกระทำสงครามกับสามเณรนี้ได้ ถ้ากระไรท่านให้สามเณรอดโทษ เสียแล้วจงไปเถิด

นาคราชนั้น ย่อมรู้จักอานุภาพสามเณรอยู่แล้ว ครั้นพระเถระว่าดังนั้น ก็ยังสามเณรให้อดโทษตามถ้อยคำของพระเถระแล้ว ก็กระทำปฎิสันฐานรักใคร่สนิทชิดเชื้อกับสามเณรนั้น แล้วมีวาจาว่า จับเดิมแต่นี้ไปสามเณรจะต้องการน้ำในสระอโนดาตแล้ว ก็อย่าต้องลำบาก พึงส่งแต่ข่าวสารไปถึงตน แล้วตนจะนำน้ำมาถวาย ว่าดังนี้แล้วก็หลีกไป พระอนุรุทธเถระก็พาสุมนสามเณรไปจากที่นั้น

ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่าพระอนุรุทธเถระมา จึงทรงนั่งคอยเล็งดูหนทางของพระเถระ ฝ่ายภิกษุทั้งหลายครั้นเห็นพระอนุรุทธเถระมา ต่างก็พากันลุกไปกระทำปัจจุคคมนาการ รับบาตรและจีวร ภิกษุบางรูปก็จับศีรษะสามเณรบ้าง จับต้นคอบ้าง จับที่หูบ้าง จับที่แขนแล้วสั่นไปมาถามว่า เจ้ากระสันต์เป็นทุกข์คิดถึงบิดามารดาบ้างหรือไม่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทอดพระเนตรเห็นอาการกิริยาของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น จึงมีพระพุทธดำริว่า กรรมอันภิกษุทั้งหลายเหล่านี้กระทำเป็นกรรมหนัก ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้มาจับต้องสุมนสามเณร ราวกับว่าจับเข้าที่คอของอสรพิษ หารู้จักอานุภาพของสามเณรนั้นไม่ จำตถาคตจะกระทำอานุภาพของสุมนสามเณรให้ปรากฎ ในวันนี้จึงจะควร

ฝ่ายพระอนุรุทธเถระ เมื่อมาถึงแล้วก็ถวายนมัสการพระบรมศาสดาแล้วนั่งอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปราศัยปฎิสันถาร กับพระอนุรุทธเถระกับสุมนสามเณรแล้ว จึงตรัสเรียกพระอานนท์เถระว่า ตถาคตปรารถนาจะสรงพระบาทด้วยน้ำในสระอโนดาต อานนท์จงให้หม้อน้ำแก่สามเณรทั้งหลาย ให้ไปตักน้ำในสระอโนดาตมาให้ตถาคตในกาลบัดนี้

พระอานนท์เถระรับพระพุทธฎีกาแล้ว จึงยังสามเณรทั้งหลายมีประมาณ ๕๐๐ บรรดาที่อยู่ในพระวิหารนั้น ให้สันนิบาตประชุมกัน บรรดาสามเณรเหล่านั้น สุมนสามเณรนั้นอ่อนวัยกว่าสามเณรทั้งปวง เมื่อพระอานนท์เถระว่าแก่สามเณรที่เป็นผู้ใหญ่กว่าสามเณรทั้งปวงว่า พระบรมศาสดาประสงค์จะใคร่สรงพระบาทด้วยน้ำในสระอโนดาต ท่านจงเอาหม้อไปตักน้ำมาถวาย ณ กาลบัดนี้ สามเณรรูปนั้นจึงบอกว่า ตนไม่อาจจะไปได้ พระเถระก็ถามสามเณรอันเศษต่อไปเป็นลำดับ สามเณรทั้งปวงก็ว่าเหมือนดังนั้น แล้ก็ห้ามเสียมิได้ปรารถนาที่จะไป

มีปุจฉาว่า บรรดาสามเณรทั้ง ๕๐๐ นั้น มีสามเณรที่เป็นพระขีณาสพบ้างสักรูปหรือไม่ มีวิสัชนาว่ามีอยู่ แต่สามเณรที่เป็นพระขีณาสพนั้น มิได้ปรารถนาเพื่อจะไป เพราะรู้ความตระหนักแน่ว่ กลุ่มของระเบียบดอกไม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระพุทธองค์ไม่ได้ผูกเพื่อเราทั้งหลาย แต่ทรงผูกไว้เพื่อให้สุมนสามเณรต่างหาก เพราะรู้ความชัดดังนี้ มิได้ปรารถนาเพื่อจะไป ฝ่ายสามเณรที่เป็นปุถุชนนั้นมิได้ปรารถนาจะไป เพราะความที่ตนไม่สามารถที่จะไปได้

ครั้นวาระมาถึงสุมนสามเณร ท่านมาดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบังคับให้เราไปตักน้ำแล้ว เราก็ไปตักมาถวาย ดำริแล้วจึงถวายนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว กราบทูลว่า ได้ยินว่าพระพุทธองค์จะให้ข้าพระบาทไปตักน้ำในสระอโนดาต หรือพระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่าตถาคตจะให้เธอไปตักน้ำ สุมนสามเณรจึงถือเอาหม้อใบหนึ่ง จุน้ำได้ ๖๐ หม้อ แล้วหิ้วเหาะไปยังป่าหิมพานต์ ฝ่ายนาคราชเห็นสามเณรมาก็จำได้ จึงรับอาสานำน้ำในสระอโนดาตไปให้ แต่สามเณรบอกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบังคับใช้เราแต่ผู้เดียว แล้วนำหม้อน้ำเหาะกลับไป

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดพระเนตรเห็นสุมนสามเณรเหาะมา จึงมีพระพุทธฎีกาเรียกพระภิกษุสงฆ์ทั้งปวงมาแล้ว ตรัสว่าท่านทั้งปวงจงดูลีลาของสุมนสามเณรเถิด ส่วนสุมนสามเณรครั้นมาถึงจึงวางหม้อน้ำลง แล้วเข้าไปถวายนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วประดิษฐานอยู่ ณ ที่อันควร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมีพระพุทธฎีกา ดำรัสถามสุมนสามเณรว่า เธอมีวัสสาอายุได้เท่าไร สุมนสามเณรกราบทูลบตอบว่า กระหม่อมฉันมีอายุได้เจ็ดขวบ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ดูกรสุมน จับเดิมแต่วันนี้เธอจงเป็นภิกษุเถิด พระพุทธองค์ก็ทรงประทาน ทายัชชอุปสมบทให้

ดังได้สดับมา สามเณรทั้งหลายที่มีวัสสาอายุได็เจ็ดขวบ และได้อุปสมบทมีอยู่สององค์คือ โสปากสามเณร และสุมนสามเณร มีสององค์เท่านั้น

ครั้นสุมนสามเณรได้อุปสมบทเป็นภิกขุภาวะแล้ว ภิกษุทั้งหลายยังสนทนากันในโรงธรรมสภาศาลาว่า น่าอัศจรรย์ใจ อานุภาพของสามเณรเห็นปานดังนี้ แต่ก่อนเราทั้งหลายไม่เคยได้เห็นเลย พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จมายังโรงธรรมสภา มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ท่านทั้งปวงสนทนาด้วยเรื่องราวอะไร พระภิกษุทั้งปวงก็กราบทูลมูลคดีที่ตนสนทนา จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า บุคคลแม้ถึงเป็นเด็กก็ดี และมาปฏิบัติชอบในศาสนาธรรมของตถาคตแล้ว ก็ย่อมจะได้สมบัติคือความถึงพร้อมของอานุภาพเห็นปานดังนี้ พระพุทธฎีกาตรัสดังนี้แล้ว เมื่อจะประทานพระธรรมเทศนา จึงทรงภาษิตพระคาถาว่า ภิกษุรูปใดแม้เป็นเด็ก เป็นหนุ่มก็ดี และมาประกอบความเพียรพยายามในสมณธรรม แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่แล้ว ภิกษุรูปนั้นก็ย่อมยังโลกมีขันธโลกเป็นต้น เป็นประเภทให้สร้างรุ่งเรืองได้ ด้วยพระอรหันตญาณของตน อุปมาดุจพระจันทร์อันพ้นจากเมฆหมอก

ครั้นจบพระธรรมเทศนา พระภิกษุทั้งหลายก็ได้บรรลุพระโสดาเป็นต้น เป็นประธาน
ฝ่ายสุมนสามเณร เมื่อได้อุปสมบทเป็นภิกษุภาวะแล้ว ครั้นเมื่อท่านดำรงชนมายุสังขารอยู่ถ้วนกาลกำหนดแล้ว ก็เข้าสู่พระปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสปรินิพพาน ดับกรรมชรูป และวิบากขันธ์สิ้นเสร็จหาเศษคือ ตัณหา และอุปาทาน ซึ่งเป็นเชื้อให้เกิดในภพใหม่นั้นมิได้ มีอุปมาดุจเปลวประทีปอันสิ้นไป ฉะนั้น
เวลาทำสมาธิ

ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก

ให้รู้ลมหายใจเข้าออก

หายใจเข้าสั้นก็รู้

หายใจออกสั้นก็รู้

หายใจเข้ายาวก็รู้

หายใจออกยาวก็รู้

ไม่ต้องบังคับลมหายใจ

ตามรู้ลมหายใจเข้าออก

สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้

สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย

ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ

เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น

ทำอะไรก็ให้รู้เหตุปัจจัย

รู้ไม่ใช่เพื่อ ยินดี ยินร้าย รู้เพื่อให้ รู้เหตุปัจจัย

เหตุแห่งความเจริญ

เคารพ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

เคารพ สิกขา 3 ศีล สมาธิ ปัญญา

เคารพในความไม่ประมาท

เคารพในการปฎิสันฐาน

เคารพใน ศีล

เคารพใน สมาธิ

เคารพในกันและกัน

หลักตัดสิน ธรรมวินัย 8 ประการ

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด

เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้

เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส

เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย

เป็นไปเพื่อสันโดษ

เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ

เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร

เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย

ธรรมที่ควรเจริญ

สติ

สัมปัชชัญญะ

ศีล

สมาธิ

ปัญญา

วิมุตติ

วิมุตติญาณทัสสนะ

สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ

สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ

สัมมาวาจา พูดชอบ

สัมมาอาชีโว อาชีพชอบ

สัมมากัมมันโต การงานชอบ

สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ

สัมมาสติ ระลึกชอบ

สัมมาสมาธิ ตั้งมั่นชอบ

สัมมาญาณะ ความรู้ชอบ

สัมมาวิมุตติ หลุดพ้นชอบ

สัมมาวิมุตติญาณทัสสนะ ความเห็นในการหลุดพ้นชอบ

สัมมาทิฏฐิ

คือ รู้ชัดซึ่ง เหตุแห่ง กุศล วิชชา เป็น เหตุ

รู้ชัดซึ่ง เหตุแห่ง อกุศล อวิชชา เป็น เหตุ

การบรรลุธรรมอาศัย สติ ปัญญา อุเบกขา เป็นมัทยัทธ์

รักษาสัจจะ เพิ่มพูลจาคะ ไม่ประมาทปัญญา ศึกษาสันติ

การปฎิบัติธรรม

คบสัตบุรุษ ฟังพระสัทธรรม อยู่ในประเทศเหมาะสม ตั้งสัจจะ เดินสัมมาทิฏฐิ เจริญความสงบ

ออกพิจารณาด้านปัญญา + พลังกุศล - บ่มอินทรีย์ นิพพิทา วิราคะ วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ

สติ - ศีล - สมาธิ - ปัญญา - วิมุตติ - วิมุตติญาณทัสสนะ

อัปปมาโณพุทโธ อานุภาพพระพุทธเจ้าไม่มีประมาณ

อัปปมาโณธัมโม อานุภาพพระธรรมไม่มีประมาณ

อัปปมาโณสังโฆ อานุภาพพระสงฆ์ไม่มีประมาณ

เรื่องของสมมติ อวิชชา ตัวตน ยึดตรงไหน หลงที่ไหน ผิดที่นั้น จุดต่อมแห่งภพชาติ

wiweksikkaram.hi5
 
จำนวนผู้ตอบ: 114
สมัครสมาชิก: Mon Mar 15, 2010 12:20 am
ที่อยู่: สุทธาวาสภูมิ


กลับไปหน้า ธรรมเพื่อชีวิต

ผู้ที่กำลัง online

ผู้ที่กำลังอ่าน forum นี้: สมาชิก ไม่มีสมาชิก และ ผู้เยี่ยมชม 5 คน

cron