เอาธรรมเป็นใหญ่

เพื่อสนทนาธรรม และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อความเป็นกัลยาณมิตร กัลยาณธรรมที่ดีต่อกัน

Re: เอาธรรมเป็นใหญ่

Postโดย นิรทุกข์ » Wed Nov 24, 2010 1:50 am

สาธุ สาธุ สาธุ ครับ กล่าวได้สมเหตุสมผลยิ่ง ขอนำไปพิจารณาและปรับปรุงตนครับ
นิรทุกข์
 
จำนวนผู้ตอบ: 558
สมัครสมาชิก: Sat Mar 13, 2010 7:46 pm

Re: เอาธรรมเป็นใหญ่

Postโดย top257 » Wed Nov 24, 2010 10:39 pm

สาธุ :idea:
top257
 
จำนวนผู้ตอบ: 1
สมัครสมาชิก: Thu Apr 08, 2010 9:06 am

Re: เอาธรรมเป็นใหญ่

Postโดย wiweksikkaram.hi5 » Mon Nov 29, 2010 2:40 am

ขอใช้หลักตามเดิมในการสนทนากันในธรรมะของพระพุทธเจ้า
คือ ธรรมะสากัจฉา การสนทนาธรรมเป็นมงคลอันสูงสุด
แต่ถ้ามาชวนทะเลาะ แบบที่คุณ Lich ทำก็ไม่สามารถจะแก้ไขได้ประการใด เพราะไม่ต้องการธรรม

ต้องการเป็นผู้ตรวจสอบธรรมวินัย ที่หารู้จริงไม่ อ้างโดยเลื่อนลอย และมีการเปรียบเปรยไปส่อเสียด กับ สำนักปฏิบัติ แห่งหนึ่งทางชลบุรี
ดังข้อความนี้
หรือติดนิสัย อ้างลอยๆ มาจากสำนักแจกมรรคแจกผลที่เมืองชลฯ
ซึ่งไม่ใช่นิสัยของธรรมะ เป็นนิสัยของคนพาล ไม่ใช่นิสัยของคนมีธรรมในหัวใจพูดกัน มีแต่อ้างเอาพ่อแม่ครูอาจารย์สายวัดป่ากรรมฐาน มายืนยันตนให้ท่านเสียหายเท่านั้น ไม่ได้เคารพท่านจริงๆ และ เป็นเหตุแห่งความเสื่อมของ คุณ Lich ควรจะนำไปลองตรองและแก้ไขดูนะ

และข้อชี้แจงต่อไปว่า การที่นำพระไตรปิฏกมาอ้างนั้น มิได้อ้างให้ถูกต้อง ผิดตำรา โดยสิ่งที่นำมาอ้างคือ พระอรรถคาถาจารย์ เท่านั้นเอง

สิ่งนี้คือ ที่คุณ Lich เขียนมา
การนำตำรามากล่าว ควรจะนำมาให้ครบไม่ใช่ตัดตอนมา เพื่อประโยชน์ในด้านการสนับสนุนความเห็นของตนเพียงอย่างเดียว

นี่คือสิ่งที่ผมนำมา
เป็นอรรถคาถาอธิบาย พระไตรปิฏก ของจริง
ไม่มีการเขียนไว้ในพระไตรปิฏกทั้งหมด แต่อรรถคาถา ยกมาบางส่วนเอามาอธิบาย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 167

ก็ในคำที่ตรัสไว้ในที่สุดแห่งสูตรทั้งปวงว่า ก็ภิกษุเหล่านั้น
ย่อมยังธรรมนี้ให้อันตธานไปนั้น ชื่อว่า อันตรธานมี ๕ ย่างคือ
อธิคมอันตรธาน อันตรธานเห่งการบรรลุ ๑
ปฏิปัตติอันตรธาน อันตรธานแห่งการปฏิบัติ ๑
ปริยัตติอันตรธาน อันตรธานแห่งปริยัติ ๑
ลิงคอันตรธาน อันตรธานแห่งเพศ ๑
ธาตุอันตรธาน อันตรธานแห่งธาตุ ๑.
ใน ๕ อย่างนั้น มรรค ๔ ผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔
วิชชา ๓ อภิญญา ๖ ชื่อว่า อธิคม. อธิคมนั้น เมื่อเสื่อมย่อมเสื่อมไป
ตั้งแต่ปฏิสัมภิทา. จริงอยู่ นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ ๑๐๐๐
ปีเท่านั้น ภิกษุไม่สามารถจะให้ปฏิสัมภิทาบังเกิดได้ ต่อแต่นั้นก็
อภิญญา ๖. แต่นั้นเมื่อไม่สามารถทำอภิญญาให้บังเกิดได้ ย่อมทำ
วิชชา ๓ ให้บังเกิด. ครั้นกาลล่วงไป ๆ เมื่อไม่สามารถจะทำวิชชา
๓ ให้บังเกิด ก็เป็นพระอรหันต์สุกขวิปัสสก โดยอุบายนี้เอง ก็เป็น
พระอนาคามี พระสกทาคามี และพระโสดาบัน. เมื่อท่านเหล่านั้น
ยังทรงชีพอยู่ อธิคมชื่อว่ายังไม่เสื่อม อธิคมชื่อว่า ย่อมเสื่อมไป
เพราะความสิ้นไปแห่งชีวิต ของพระอริยบุคคลผู้โสดาบันชั้นต่ำสุด
ดังกล่าวนี้ ชื่อว่าอันตรธานแห่งอธิคม.

ภิกษุไม่สามารถจะให้ฌาน วิปัสสนา มรรค และผล บังเกิด
ได้ รักษาเพียงจาตุปาริสุทธิศีล ชื่อว่าอันตรธานแห่งข้อปฏิบัติ.
เมื่อกาลล่วงไป ๆ ภิกษุทั้งหลายคิดว่า เราจะรักษาศีลให้บริบูรณ์
และจะประกอบความเพียรเนือง ๆ แต่เราก็ไม่สามารถจะทำให้แจ้ง
มรรคหรือผลได้ บัดนี้ไม่มีการแทงตลอดอริยธรรม จึงท้อใจ มาก
ไปด้วยความเกียจคร้าน ไม่ตักเตือนกันและกัน ไม่รังเกียจกัน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 168

(ในการทำชั่ว) ตั้งแต่นั้นก็พากันย่ำยี สิกขาบทเล็กน้อย. เมื่อกาล
ล่วงไป ๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถุลลัจจัย ต่อแต่นั้นต้องครุกาบัติ.
เพียงอาบัติปาราชิกเท่านั้นยังคงอยู่. เมื่อภิกษุ ๑๐๐ รูปบ้าง ๑๐๐๐
รูปบ้างผู้รักษาอาบัติปาราชิก ยังทรงชีพอยู่ การปฏิบัติชื่อว่ายังไม่
อันตรธาน จะอันตรธานไป เพราะภิกษุรูปสุดท้ายทำลายศีล หรือ
สิ้นชีวิต ดังกล่าวมานี้ ชื่อว่า อันตรายแห่งการปฏิบัติ.
บทว่า ปริยตฺติ ได้แก่ บาลีพร้อมทั้งอรรถกถาในพุทธพจน์
คือ พระไตรปิฎก บาลีนั้นยังคงอยู่เพียงใด ปริยัติก็ชื่อว่ายัง
บริบูรณ์อยู่เพียงนั้น. เมื่อกาลล่วงไป ๆ พระราชาและพระยุพราช
ในกุลียุค ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อพระราชาและยุพราชเหล่านั้น ไม่
ตั้งอยู่ในธรรม ราชอมาตย์เป็นต้น ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม แต่นั้นชาว
แคว้นและชาวชนบท ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ฝนย่อมไม่ตกต้องตาม
ฤดูกาล เพราะคนเหล่านั้นไม่ตั้งอยู่ในธรรม. ข้าวกล้าย่อมไม่บริบูรณ์
เมื่อข้าวกล้าเหล่านั้นไม่บริบูรณ์ ทายกผู้ถวายปัจจัย ก็ไม่สามารถ
จะถวายปัจจัยแก่ภิกษุสงฆ์ได้ ภิกษุทั้งหลายลำบากด้วยปัจจัย
ก็ไม่สามารถสงเคราะห์พวกอันเตวาสิก. เมื่อเวลาล่วงไป ๆ ปริยัติ
ย่อมเสื่อม ภิกษุทั้งหลายไม่สามารถจะทรงจำอรรถไว้ได้ ทรงจำ
ไว้ได้แต่พระบาลีเท่านั้น. แต่นั้นเมื่อกาลล่วงไป ก็ไม่สามารถจะ
ทรงบาลีไว้ได้ทั้งสิ้น. อภิธรรมปิฎกย่อมเสื่อมก่อน. เมื่อเสื่อม ก็เสื่อม
ตั้งแต่ท้ายมา. จริงอยู่ ปัฏฐานมหาปกรณ์ย่อมเสื่อมก่อนทีเดียว เมื่อ
ปัฏฐานมหาปกรณ์เสื่อม ยมก กถาวัตถุ บุคคลบัญญัติ ธาตุกถา
ธัมมสังคณี ก็เสื่อม เมื่ออภิธรรมปิฎก เสื่อมไปอย่างนี้ สุตตันตปิฎก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 169

ก็เสื่อมตั้งแต่ท้ายมา อังคุตตรนิกายเสื่อมก่อน เมื่ออังคุตตรนิกาย
เสื่อม เอกาทสกนิบาตเสื่อมก่อน ต่อแต่นั้น ทสกนิบาต ฯลฯ ต่อนั้น
เอกนิบาต เมื่ออังคุตตรนิกายเสื่อมไปอย่างนี้ สังยุตตนิกาย ก็เสื่อม
ตั้งแต่ท้ายมา. จริงอยู่มหาวรรค เสื่อมก่อนแต่นั้นสฬายตนวรรค
ขันธกวรรค นิทานวรรค สคาถวรรค เมื่อสังยุตตินิกายเสื่อมไป
อย่างนี้ มัชฌิมนิกายย่อมเสื่อมตั้งแต่ท้ายมา จริงอยู่ อุปริปัณณาสก์
เสื่อมก่อน ต่อนั้น มัชฌิมปัณณาสก์ ต่อนั้นมูลปัณณาสก์. เมื่อ
มัชฌิมนิกายเสื่อมอย่างนี้ ทีฆนิกายเสื่อมตั้งแต่ท้ายมา. จริงอยู่
ปาฏิยวรรคเสื่อมก่อน แต่นั้นมหาวรรค แต่นั้นสีลขันธวรรค เมื่อ
ทีฆนิกายเสื่อมอย่างนี้ พระสุตตันตปิฎกชื่อว่าย่อมเสื่อม. ทรงไว้
เฉพาะชาดกกับวินัยปิฎกเท่านั้น. ภิกษุผู้เป็นลัชชีเท่านั้นทรงพระ
วินัยปิฎก. ส่วนภิกษุผู้หวังในลาภ คิดว่า แม้เมื่อกล่าวแต่พระสูตร
ก็ไม่มีผู้จะกำหนดได้ จึงทรงไว้เฉพาะชาดกเท่านั้น. เมื่อเวลาล่วงไป ๆ
แม้แค้ชาดกก็ไม่สามารถจะทรงไว้ได้. ครั้งนั้น บรรดาชาดกเหล่านั้น
เวสสันตรชาดกเสื่อมก่อน ต่อแต่นั้น ปุณณกชาดก มหานารทชาดก
เสื่อมไปโดยย้อนลำดับ ในที่สุดอปัณณกชาดกก็เสื่อม. เมื่อชาดก
เสื่อมไปอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลายย่อมทรงไว้เฉพาะพระวินัยปิฎกเท่านั้น.

เมื่อกาลล่วงไป ๆ ก็ไม่สามารถจะทรงไว้ได้แม้แต่พระวินัยปิฎก
แต่นั้นก็เสื่อมตั้งแต่ท้ายมา. คัมภีร์บริวารเสื่อมก่อน ต่อแต่นั้น ขันธกะ
ภิกษุณีวิภังค์ ก็เสื่อม แต่นั้น ก็ทรงไว้เพียงอุโปสถขันธกเท่านั้น
ตามลำดับ. แม้ในกาลนั้น ปริยัตติก็ชื่อว่ายังไม่เสื่อม ก็คาถา ๔ บาท
ยังหมุนเวียนอยู่ในหมู่มนุษย์เพียงใด ปริยัตติก็ชื่อว่ายังไม่อันตรธาน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 170

เพียงนั้น. ในกาลใด พระราชาผู้มีศรัทธาเลื่อมใสทรงให้ใส่ถุงทรัพย์
หนึ่งแสนลงในผอบทองตั้งบนคอช้างแล้วให้ตีกลองร้องประกาศไป
ในพระนครว่า ชนผู้รู้คาถา ๔ บท ที่พระพุทธเจ้าตรัสแล้ว จงถือ
เอาทรัพย์หนึ่งแสนนี้ไป ก็ไม่ได้คนที่จะรับเอาไป แม้ด้วยการให้เที่ยว
ตีกลองประกาศคราวเดียว ย่อมมีผู้ได้ยินบ้าง ไม่ได้ยินบ้าง จึงให้
เที่ยวตีกลองประกาศไปถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่ได้ผู้ที่จะรับเอาไป. ราชบุรุษ
ทั้งหลาย จึงให้ขนถุงทรัพย์ ๑๐๐,๐๐๐ นั้น กลับสู่ราชตระกูลตามเดิม.
ในกาลนั้น ปริยัตติ ชื่อว่า ย่อมเสื่อมไป ดังว่านี้ ชื่อว่า การอันตรธาน
แห่งพระปริยัตติ.
เมื่อกาลล่วงไป ๆ การรับจีวร การรับบาตร การคู้ การ
เหยียด การดูแล การเหลียวดู ไม่เป็นที่นำมาซึ่งความเลื่อมใส.
ภิกษุทั้งหลายวางบาตรไว้ปลายแขนถือเที่ยวไป เหมือนสมณนิครนถ์
ถือบาตรน้ำเต้าเที่ยวไป. แม้ด้วยอาการเพียงเท่านี้ เพศก็ชื่อว่ายัง
ไม่อันตรธาน. เมื่อกาลล่วงไป ๆ เอาบาตรลงจากปลายแขนหิ้วไป
ด้วยมือหรือด้วยสาแหรกเที่ยวไป แม้จีวรก็ไม่ทำการย้อมให้ถูกต้อง
กระทำให้มีสีแดงใช้. เมื่อกาลล่วงไป การย้อมจีวรก็ดี การตัด
ชายผ้าก็ดี การเจาะรังดุมก็ดี ย่อมไม่มี ทำเพียงเครื่องหมายแล้ว
ใช้สอย ต่อมากลับเลิกรังดุม ไม่ทำเครื่องหมาย ต่อมา ไม่การทำ
ทั้ง ๒ อย่าง ตัดชายผ้าเที่ยวไปเหมือนพวกปริพาชก เมื่อกาลล่วงไป
ก็คิดว่า พวกเราจะต้องการอะไร ด้วยการกระทำเช่นนี้ จึงผูกผ้า
กาสายะชิ้นเล็ก ๆ เข้าที่มือหรือที่คอ หรือขอดไว้ที่ผม กระทำการ
เลี้ยงภรรยา เที่ยวไถ่หว่านเลี้ยงชีพ. ในกาลนั้น ชนเมื่อให้ทักขิณา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 171

ย่อมให้แก่ชนเหล่านั้นอุทิศสงฆ์ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมาย
เอาข้อนี้ จึงตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ในอนาคตกาล จักมีโคตรภูบุคคล
ผู้มีผ้ากาสายพันคอ เป็นผู้ทุศีล เป็นผู้มีธรรมอันลามก ชนทั้งหลาย
ให้ทาน ในคนผู้ทุศีล ผู้มีธรรมอันลามกเหล่านั้น อุทิศสงฆ์ อานนท์
ในกาลนั้น เรากล่าวว่า ทักษิณาไปแล้วในสงฆ์ มีผลนับไม่ได้
ประมาณไม่ได้. แต่นั้น เมื่อกาลล่วงไป ๆ ชนเหล่านั้นคิดว่า นี้ชื่อว่า
เป็นธรรมเครื่องเนิ่นช้า พวกเราจะต้องการอะไร ด้วยธรรมเครื่อง
เนิ่นช้านี้ จึงทิ้งท่อนผ้าโยนไปเสียในงา. ในกาลนั้น เพศชื่อว่าหายไป.
ได้ยินว่า การห่มผ้าชาวเที่ยวไปเป็นจารีตของคนเหล่านั้น มาแต่
ครั้งพระกัสสปทศพล ดังว่านี้ ชื่อว่า การอันตรธานไปแห่งเพศ.
ชื่อว่า อันตรธานไปแห่งธาตุ พึงทราบอย่างนี้ :- ปรินิพพานมี
๓ คือ
กิเลสปรินิพพาน การปรินิพพานแห่งกิเลส,
ขันธปรินิพพาน การปรินิพพานแห่งขันธ์,
ธาตุปรินิพพาน การปรินิพพานแห่งธาตุ
บรรดาปรินิพพาน ๓ อย่างนั้น กิเลสปรินิพพาน ได้มีที่โพธิบัลลังก์.
ขันธปรินิพพาน ได้มีที่กรุงกุสินารา ธาตุปรินิพพาน จักมีในอนาคต.
จักมีอย่างไร ? คือครั้งนั้น ธาตุทั้งหลายที่ไม่ได้รับสักการะ และ
สัมมานะในที่นั้น ๆ ก็ไปสู่ที่ ๆ มีสักการะ และสัมมานะ ด้วยกำลัง
อธิษฐานของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. เมื่อกาลล่วงไป สักการะและ
สัมมานะก็ไม่มีในที่ทั้งปวง. เวลาพระศาสนาเสื่อมลง พระธาตุ
ทั้งหลายในตามพปัณณิทวีปนี้ จักประชุมกันแล้วไปสู่มหาเจดีย์
จากมหาเจดีย์ ไปสู่นาคเจดีย์ แต่นั้นจักไปสู่โพธิบัลลังก์. พระธาตุ
ทั้งหลายจากนาคพิภพบ้าง จากเทวโลกบ้าง จากพรหมโลกบ้าง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 172

จักไปสู่โพธิบัลลังก์แห่งเดียว. พระธาตุแม้ประมาณเท่าเมล็ดพันธุ์
ผักกาดจักไม่หายไปในระหว่าง. พระธาตุทั้งหมดจักประชุมกันที่
มหาโพธิมัณฑสถานแล้ว รวมเป็นพระพุทธรูป แสดงพุทธสรีระ
ประทับนั่งขัดสมาธิ ณ โพธิมัณฑสถาน. มหาปุริสลักษณะ ๓๒
อนุพยัญชนะ ๘๐ พระรัศมีประมาณวาหนึ่ง ทั้งหมดครบบริบูรณ์
ทีเดียว. แต่นั้นจักการทำปาฏิหาริย์แสดง เหมือนในวันแสดงยมก
ปาฏิหาริย์. ในกาลนั้น ชื่อว่า สัตว์ผู้เป็นมนุษย์ ไม่มีไปในที่นั้น.
ก็เทวดาในหมื่นจักรวาฬ ประชุมกันทั้งหมด พากันครวญคร่ำรำพัน
ว่า วันนี้พระทสพลจะปรินิพพาน จำเดิมแต่บัดนี้ไป จักมีแต่ความมืด.
ลำดับนั้น เตโชธาตุลุกโพลงขึ้นจากพระสรีรธาจุ ทำให้พระสรีระนั้น
ถึงความหาบัญญัติมิได้. เปลวไฟที่โพลงขึ้นจากพระสรีรธาตุ พลุ่ง
ขึ้นจนถึงพรหมโลก เมื่อพระธาตุแม้สักเท่าเมล็ดพรรณผักกาดยัง
มีอยู่ ก็จักมีเปลวเพลิงอยู่เปลวหนึ่งเท่านั้น เมื่อพระธาตุหมดสิ้นไป
เปลวเพลิงก็จักขายหายไป. พระธาตุทั้งหลายแสดงอานุภาพใหญ่
อย่างนี้แล้ว ก็อันตรธานไป. ในกาลนั้น หมู่เทพกระทำสักการะ
ด้วยของหอม ดอกไม้และดนตรีทิพย์เป็นต้น เหมือนในวันที่พระ
พุทธเจ้าทั้งหลายปรินิพพาน กระทำปทักษิณ ๓ ครั้ง ถวายบังคม
แล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์ จัก
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้เสด็จอุบัติขึ้นในอนาคต ดังนี้แล้วก็กลับไปที่
อยู่ของตน ๆ นี้ ชื่อว่า อันตรธานแต่งพระธาตุ.
การอันตรธานแห่งปริยัตินั่นแล เป็นมูลแห่งอันตรธาน ๕
อย่างนี้ จริงอยู่เมื่อพระปริยัตติอันตรธานไป ปฏิบัติก็ย่อมอันตรธาน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 173

เมื่อปริยัตติคงอยู่ ปฏิบัติก็คงอยู่. เพราะเหตุนั้นแหละ ในคราวมีภัย
ใหญ่ครั้งพระเจ้าจัณฑาลติสสะในทวีปนี้ ท้าวสักกะเทวราช นิรมิต
แพใหญ่แล้วแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ภัยใหญ่จักมี ฝนจักไม่ตกต้อง
ตามฤดูกาล ภิกษุทั้งหลายพากันลำบากด้วยปัจจัย ๔ จักไม่สามารถ
เพื่อจะทรงพระปริยัติไว้ได้. ควรที่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจะไปยัง
ฝั่งโน้นรักษาชีวิตไว้ โปรดขึ้นแพใหญ่นี้ไปเถิด เจ้าข้า ที่นั่งบนแพนี้
ไม่เพียงพอแก่ภิกษุเหล่าใด ภิกษุเหล่านั้น จงเกาะขอนไม่ไปเถิด
ภัยจักไม่มีแก่ภิกษุทั้งปวง. ในกาลนั้น ภิกษุ ๖๐ รูปไปถึงฝั่งสมุทร
แล้วกระทำกติกากันไว้ว่า ไม่มีกิจที่พวกเราจะไปในที่นั้น พวกเรา
จักอยู่ในที่นี้แล จักรักษาพระไตรปิฎก ดังนี้แล้ว จึงกลับจากที่นั้น
ไปสู่ทักขิณมลยะชนบท เลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยรากเหง้า และใบไม้. เมื่อ
ร่างกายยังเป็นไปอยู่ก็พากันนั่งกระทำการสาธยาย เมื่อร่างกาย
เป็นไปไม่ได้ ย่อมพูนทรายขึ้นล้อมรอบศีรษะไว้ในที่เดียวกันพิจารณา
พระปริยัติ. โดยทำนองนี้ ภิกษุทั้งหลาย ทรงพระไตรปิฎก พร้อม
ทั้งอรรถกถาให้บริบูรณ์อยู่ได้ถึง ๑๒ ปี.

เมื่อภัยสงบ ภิกษุ ๗๐๐ รูป ไม่ทำแม้อักขระตัวหนึ่ง แม้
พยัญชนะตัวหนึ่ง ในพระไตรปิฎก พร้อมทั้งอรรถกถาจากสถานที่ ๆ
ในรูปแล้ว ให้เสียหาย มาถึงเกาะนี้แหละ เข้าไปสู่มณฑลาราม
วิหาร ในกัลลคามชนบท. ภิกษุ ๖๐ รูป ผู้ยังเหลืออยู่ในเกาะนี้ ได้
ฟังเรื่องการมาของพระเถระทั้งหลาย คิดว่า จักเยี่ยมพระเถระ
ทั้งหลาย จึงไปสอบทานพระไตรปิฎกกับพระเถระทั้งหลาย ไม่พบ
แม้อักขระตัวหนึ่ง แม้พยัญชนะตัวหนึ่ง ชื่อว่าไม่เหมาะสมกัน.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 174

พระเถระทั้งหลายเกิดสนทนากันขึ้นในที่นั้นว่า ปริยัติเป็นมูล
แห่งพระศาสนา หรือปฏิบัติเป็นมูล. พระเถระผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็น
วัตร กล่าวว่า ปฏิบัติเป็นมูลแห่งพระศาสนา. ฝ่ายพระธรรมกถึก
ทั้งหลาย กล่าวว่า พระปริยัติเป็นมูล. ลำดับนั้น พระเถระเหล่านั้น
กล่าวว่า เราจะไม่เชื่อโดยเพียงคำของท่านทั้งสองฝ่ายเท่านั้น ขอ
พวกท่านจงอ้างพระสูตรที่พระชินเจ้าทรงภาษิตไว้. พระเถระ ๒
พวกนั้นกล่าวว่า การนำพระสูตรมาอ้าง ไม่หนักเลย พระเถระ
ฝ่ายผู้ทรงผ้าบังสุกุล จึงอ้างพระสูตรว่า ดูก่อนสุภัททะ. ก็ภิกษุ
ทั้งหลายในพระศาสนานี้ พึงอยู่โดยชอบ โลกไม่พึงว่างจากพระอรหันต์
ทั้งหลาย. ดูก่อนมหาบพิตร พระศาสนาของพระศาสดา มีปฏิบัติ
เป็นมูล มีการปฏิบัติเป็นสาระ เมื่อทรงอยู่ในการปฏิบัติ ก็ชื่อว่า
ยังคงอยู่. ฝ่ายเหล่าพระธรรมกถึกได้ฟังพระสูตรนั้นแล้ว เพื่อจะ
รับรองวาทะของตน จึงอ้างพระสูตรนี้ว่า

พระสูตรยังดำรงอยู่ตราบใด พระวินัยยังรุ่งเรือง
อยู่ตราบใด ภิกษุทั้งหลายย่อมเห็นแสงสว่าง
เหมือนพระอาทิตย์อุทัย อยู่ตราบนั่น เมื่อพระ
สูตรไม่มีและแม้พระวินัยก็หลงเลือนไป ในโลก
ก็จักมีแต่ความมืด เหมือนพระอาทิตย์อัสดงคต
เมื่อภิกษุยังรักษาพระสูตรอยู่ ย่อมเป็นอันรักษา
ปฏิบัติไว้ด้วย นักปราชญ์ดำรงอยู่ในการปฏิบัติ
ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ ดังนี้

เมื่อพระธรรมกถึก นำพระสูตรนี้มาอ้าง พระเถระผู้ทรงผ้าบังสุกุล

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 175

ทั้งหลายก็นิ่ง. คำของพระเถระผู้เป็นธรรมกถึกนั้นแล เชื่อถือได้.
เหมือนอย่างว่า ในระหว่างโคผู้ ๑๐๐ ตัว หรือ ๑๐๐๐ ตัว เมื่อไม่มี
แม่โคผู้จะรักษาเชื้อสายเลย วงศ์เชื้อสาย ก็ไม่สืบต่อกัน ฉันใด
เมื่อภิกษุเริ่มวิปัสสนา ตั้ง ๑๐๐ ตั้ง ๑๐๐๐ รูป มีอยู่ แต่ปริยัติไม่มี
ชื่อว่าการแทงคลอดอริยมรรคก็ไม่มี ฉันนั้นนั่นแล. อนึ่งเมื่อเขาจารึก
อักษรไว้หลังแผ่นหิน เพื่อจะให้รู้ขุมทรัพย์ อักษรยังทรงอยู่เพียงใด
ขุมทรัพย์ทั้งหลาย ชื่อว่ายังไม่เสื่อมหายไปเพียงนั้น ฉันใด เมื่อ
ปริยัติ ยังทรงอยู่ พระศาสนา ก็ชื่อว่ายังไม่อันตรธาน ไป ฉันนั้น
เหมือนกันแล.
จบ อรรถกถาวรรคที่ ๑๐

ส่วนที่ตั้งกระทู้มาถามนี้ จะแก้ให้ฟังโดย ตามอรรถธรรมในโอกาสต่อไป









เวลาทำสมาธิ

ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก

ให้รู้ลมหายใจเข้าออก

หายใจเข้าสั้นก็รู้

หายใจออกสั้นก็รู้

หายใจเข้ายาวก็รู้

หายใจออกยาวก็รู้

ไม่ต้องบังคับลมหายใจ

ตามรู้ลมหายใจเข้าออก

สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้

สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย

ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ

เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น

ทำอะไรก็ให้รู้เหตุปัจจัย

รู้ไม่ใช่เพื่อ ยินดี ยินร้าย รู้เพื่อให้ รู้เหตุปัจจัย

เหตุแห่งความเจริญ

เคารพ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

เคารพ สิกขา 3 ศีล สมาธิ ปัญญา

เคารพในความไม่ประมาท

เคารพในการปฎิสันฐาน

เคารพใน ศีล

เคารพใน สมาธิ

เคารพในกันและกัน

หลักตัดสิน ธรรมวินัย 8 ประการ

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด

เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้

เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส

เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย

เป็นไปเพื่อสันโดษ

เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ

เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร

เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย

ธรรมที่ควรเจริญ

สติ

สัมปัชชัญญะ

ศีล

สมาธิ

ปัญญา

วิมุตติ

วิมุตติญาณทัสสนะ

สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ

สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ

สัมมาวาจา พูดชอบ

สัมมาอาชีโว อาชีพชอบ

สัมมากัมมันโต การงานชอบ

สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ

สัมมาสติ ระลึกชอบ

สัมมาสมาธิ ตั้งมั่นชอบ

สัมมาญาณะ ความรู้ชอบ

สัมมาวิมุตติ หลุดพ้นชอบ

สัมมาวิมุตติญาณทัสสนะ ความเห็นในการหลุดพ้นชอบ

สัมมาทิฏฐิ

คือ รู้ชัดซึ่ง เหตุแห่ง กุศล วิชชา เป็น เหตุ

รู้ชัดซึ่ง เหตุแห่ง อกุศล อวิชชา เป็น เหตุ

การบรรลุธรรมอาศัย สติ ปัญญา อุเบกขา เป็นมัทยัทธ์

รักษาสัจจะ เพิ่มพูลจาคะ ไม่ประมาทปัญญา ศึกษาสันติ

การปฎิบัติธรรม

คบสัตบุรุษ ฟังพระสัทธรรม อยู่ในประเทศเหมาะสม ตั้งสัจจะ เดินสัมมาทิฏฐิ เจริญความสงบ

ออกพิจารณาด้านปัญญา + พลังกุศล - บ่มอินทรีย์ นิพพิทา วิราคะ วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ

สติ - ศีล - สมาธิ - ปัญญา - วิมุตติ - วิมุตติญาณทัสสนะ

อัปปมาโณพุทโธ อานุภาพพระพุทธเจ้าไม่มีประมาณ

อัปปมาโณธัมโม อานุภาพพระธรรมไม่มีประมาณ

อัปปมาโณสังโฆ อานุภาพพระสงฆ์ไม่มีประมาณ

เรื่องของสมมติ อวิชชา ตัวตน ยึดตรงไหน หลงที่ไหน ผิดที่นั้น จุดต่อมแห่งภพชาติ

wiweksikkaram.hi5
 
จำนวนผู้ตอบ: 114
สมัครสมาชิก: Mon Mar 15, 2010 12:20 am
ที่อยู่: สุทธาวาสภูมิ

Re: เอาธรรมเป็นใหญ่

Postโดย poppy » Mon Nov 29, 2010 1:05 pm

สาธุอนุโมทนา ในความพยายามชี้แจงของท่านเว็ปมาสเตอร์ครับ

แต่เรื่องเล็กๆของความไม่เข้าใจกันเพราะสื่อสารไม่ตรงกันนี้ กำลังจะกลายเป็นเรื่องใหญ่นะครับ
ที่ผ่านมา เรื่องทำนองนี้เคยเกิดขึ้นแล้วในกรณีห้องศาสนาที่พันทิป จนสะเทือนสวนสันติธรรมซึ่งเรื่องก็ยังไม่จบ

ผมขอถามง่ายๆ ก่อนที่จะเสวนากับเว็ปมาสเตอร์ (หรือเปล่าครับ)
ทำไมล็อกอินผมถึงถูกแบนตั้งแต่วันที่โพสท์ความเห็น จนถึงตีหนึ่งของวันนี้ครับ???
poppy
 
จำนวนผู้ตอบ: 3
สมัครสมาชิก: Sun Nov 21, 2010 12:06 pm

Re: เอาธรรมเป็นใหญ่

Postโดย wiweksikkaram.hi5 » Mon Nov 29, 2010 2:27 pm

เรื่องการ แบน คุณ poppy เป็นความผิดพลาดของ ผมเองครับ

เพราะว่า กำลังเรียนรู้การใช้บอรด์อยู่บางส่วน และ ก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

ส่วนคุณ Lich อันนี้ ผมทำเป็นแล้ว แล้วก็ขอลงโทษแบน เป็นเวลา 10 ปี 1 เดือน นะครับ

เหตุผลการแบนคือ มีความเข้าใจผิด และ มุ่งให้เกิดความแตกแยกในหมู่พุทธบริษัท

สาธุครับ

เวลาทำสมาธิ

ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก

ให้รู้ลมหายใจเข้าออก

หายใจเข้าสั้นก็รู้

หายใจออกสั้นก็รู้

หายใจเข้ายาวก็รู้

หายใจออกยาวก็รู้

ไม่ต้องบังคับลมหายใจ

ตามรู้ลมหายใจเข้าออก

สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้

สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย

ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ

เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น

ทำอะไรก็ให้รู้เหตุปัจจัย

รู้ไม่ใช่เพื่อ ยินดี ยินร้าย รู้เพื่อให้ รู้เหตุปัจจัย

เหตุแห่งความเจริญ

เคารพ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

เคารพ สิกขา 3 ศีล สมาธิ ปัญญา

เคารพในความไม่ประมาท

เคารพในการปฎิสันฐาน

เคารพใน ศีล

เคารพใน สมาธิ

เคารพในกันและกัน

หลักตัดสิน ธรรมวินัย 8 ประการ

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด

เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้

เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส

เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย

เป็นไปเพื่อสันโดษ

เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ

เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร

เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย

ธรรมที่ควรเจริญ

สติ

สัมปัชชัญญะ

ศีล

สมาธิ

ปัญญา

วิมุตติ

วิมุตติญาณทัสสนะ

สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ

สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ

สัมมาวาจา พูดชอบ

สัมมาอาชีโว อาชีพชอบ

สัมมากัมมันโต การงานชอบ

สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ

สัมมาสติ ระลึกชอบ

สัมมาสมาธิ ตั้งมั่นชอบ

สัมมาญาณะ ความรู้ชอบ

สัมมาวิมุตติ หลุดพ้นชอบ

สัมมาวิมุตติญาณทัสสนะ ความเห็นในการหลุดพ้นชอบ

สัมมาทิฏฐิ

คือ รู้ชัดซึ่ง เหตุแห่ง กุศล วิชชา เป็น เหตุ

รู้ชัดซึ่ง เหตุแห่ง อกุศล อวิชชา เป็น เหตุ

การบรรลุธรรมอาศัย สติ ปัญญา อุเบกขา เป็นมัทยัทธ์

รักษาสัจจะ เพิ่มพูลจาคะ ไม่ประมาทปัญญา ศึกษาสันติ

การปฎิบัติธรรม

คบสัตบุรุษ ฟังพระสัทธรรม อยู่ในประเทศเหมาะสม ตั้งสัจจะ เดินสัมมาทิฏฐิ เจริญความสงบ

ออกพิจารณาด้านปัญญา + พลังกุศล - บ่มอินทรีย์ นิพพิทา วิราคะ วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ

สติ - ศีล - สมาธิ - ปัญญา - วิมุตติ - วิมุตติญาณทัสสนะ

อัปปมาโณพุทโธ อานุภาพพระพุทธเจ้าไม่มีประมาณ

อัปปมาโณธัมโม อานุภาพพระธรรมไม่มีประมาณ

อัปปมาโณสังโฆ อานุภาพพระสงฆ์ไม่มีประมาณ

เรื่องของสมมติ อวิชชา ตัวตน ยึดตรงไหน หลงที่ไหน ผิดที่นั้น จุดต่อมแห่งภพชาติ

wiweksikkaram.hi5
 
จำนวนผู้ตอบ: 114
สมัครสมาชิก: Mon Mar 15, 2010 12:20 am
ที่อยู่: สุทธาวาสภูมิ

Re: เอาธรรมเป็นใหญ่

Postโดย ผู้เขียน » Mon Nov 29, 2010 3:07 pm

(ธรรมจากพระอาจารย์วิชัย กัมมสุทโธ)

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ กกจูปมสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลอื่นจะกล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควรก็ตาม จะกล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริงก็ตาม จะกล่าวถ้อยคำอ่อนหวานหรือหยาบคายก็ตาม จะกล่าวถ้อยคำประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ก็ตาม จะมีจิตเมตตาหรือมีโทสะภายในกล่าวก็ตาม แม้ในข้อนั้น พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่เปล่งวาจาชั่ว เราจักอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์ เราจักมีจิตเมตตาไม่มีโทสะในภายใน เราจักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลนั้น และเราจักแผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ ใหญ่ยิ่ง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปตลอดโลกทุกทิศทุกทาง ซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้น ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แล


หลวงพ่อประสิทธิ์ ถาวโรได้กล่าวถึง พุทธานุภาพ พุทธฉายในถ้ำยายปริกและเผยแผ่ด้วยในหนังสือของท่าน ท่านเห็นอานุภาพพระพุทธเจ้ามาสนับสนุนประกาศปิดทองฝังลูกนิมิต ซึ่งท่านได้กล่าวบอกลูกศิษย์และในเทศนา ท่านยังกล่าวอีกว่า พระโมคคัลลานะกับพระอรหันต์อีกรูปหนึ่ง องค์นั้นไม่เห็นเปรต แต่พระโมคคัลลานะเห็นเปรต ก็มีปัญหาให้เห็นมาแล้วแต่เมื่อไปทูลพระพุทธเจ้า พระองค์ก็ยืนยันว่ามีจริง ท่านยังกล่าวอีกว่า ผู้เห็นก็ว่ามี ผู้ไม่เห็นก็ว่าไม่มี ถูกทั้งคู่ แต่สัจธรรมก็คงเป็นสัจธรรมอยู่อย่างนั้น หลวงพ่อประสิทธิ์ท่านไม่ปฏิเสธพุทธานุภาพ ท่านปฏิเสธเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ เพราะไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ ท่านจึงไม่ทำเครื่องรางของขลัง ท่านให้ระลึกถึงพุทธานุสสติ ให้ระลึกถึงเมตตาคุณ บริสุทธิคุณ ปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า ให้น้อมเข้ามาสู่ใจ โดยเวลากราบพระ ให้ตั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ด้วยเมตตาคุณ กราบครั้งที่ ๒ ให้ตั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ด้วยบริสุทธิคุณ กราบครั้งที่ ๓ ให้ตั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ด้วยปัญญาคุณ

ที่กล่าวอ้างพระไตรปิฎก เรื่องพระธาตุนั้น อ้างที่มาในอังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๑ หน้า ๑๗๒ นั้น ให้ไปดูให้ดีอันนั้นเป็นอรรถกถาจารย์ มโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย เอกนิบาต ที่อรรถกถาจารย์(พระพุทธโฆษาจารย์)อธิบายพระไตรปิฎกอังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เป็นการที่อรรถกถาจารย์อธิบายเรื่องที่พระพุทธเจ้าตรัส เรื่องอันตรธานแห่งพระสัทธรรม ในพระสูตรวรรคที่ ๑๐ ว่าด้วยธรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ ข้อ ๑๑๕-๑๓๐ คือการอันตรธานแห่งพระสัทธรรม ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้มีด้วยเหตุดังนี้คือ ๑.ความประมาท ๒.ความเกียจคร้าน ๓.ผู้มักมาก ๔.ผู้ไม่สันโดษ ๕.การใส่ใจโดยไม่แยบคาย ๖.ความเป็นผู้ไม่รู้สึกตัว ๗.ผู้มีมิตรชั่ว ๘.การประกอบอกุศลกรรมเนืองๆ การไม่ประกอบกุศลกรรม ทั้ง ๘ ข้อนี้เป็นเหตุแห่งการอันตรธานของพระสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ พระองค์ไม่ได้ตรัสเรื่องพระธาตุอันตรธาน ในพระสูตรนี้ พระองค์สอนเรื่องการปฏิบัติล้วนๆ แต่เรื่องพระธาตุนั้นอรรถกถาจารย์มาอธิบายเพิ่มขึ้นเอง จึงมิใช่พุทธพจน์

เหตุนั้นการอ้างสิ่งใดต้องอ้างให้ถูกต้อง ไม่เช่นนั้นจะทำให้ผู้ฟังผู้อ่านเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ เป็นการกล่าวตู่พระพุทธเจ้าว่าตรัสเช่นนั้น แต่แท้ที่จริงพระองค์ไม่ได้ตรัส ซึ่งในพระไตรปิฎกมีหลายพระสูตรที่พระอรหันตสาวก เช่นพระสารีบุตรหรือฆราวาสที่บรรลุธรรมตอบปัญหากับพวกนิครนถ์ เมื่อตอบเสร็จแล้ว ท่านเหล่านี้ก็กลับมาทูลถามพระพุทธเจ้า ว่าตอบถูกหรือไม่ เป็นการกล่าวตู่พระองค์หรือไม่ ซึ่งนี้ก็เป็นเหตุแห่งการอันตรธานพระสัทธรรมอันหนึ่ง

คำสอนของหลวงพ่อประสิทธิ์ ถาวโร

-เสียงกลองมาจากกลอง เสียงระฆังมาจากระฆัง คนฟังไม่ได้เป็นกลองเป็นระฆัง

-ผู้ด้อยปัญญา ย่อมกล่าวหาผู้อื่นไม่ดี ผู้มีปัญญา ย่อมเห็นเป็นธาตุเหมือนกัน

-หลวงพ่อสอนให้เห็นเหมือนกัน ไม่กล่าวร้ายไม่ทำลายกัน เพราะหลงความรู้สึกอวิชชา หลงสมมตินั่นเอง มันมีแต่ธาตุ

-หลวงพ่อยังสอนอีกอย่าพูดด้วยความรู้สึก มันเป็นอวิชชา ให้พูดด้วยสติปัญญาด้วยเมตตา

"ดูก่อน ทีฆนขะ มนุษย์เรานี้ บุคคลใดได้รับความสุข ก็จะลืมความทุกข์ชั่วขณะ บุคคลใดได้รับความทุกข์ ก็หาความสุขขณะนั้นไม่พบ คนส่วนมาก เมื่อมีทุกข์ มักคิดว่าทุกข์นั้นเป็นสิ่งเที่ยงแท้ เมื่อมีสุข ก็สำคัญว่าสุขนั้นจะอยู่กับเราตลอดไป หาคิดไม่ ว่าเป็นเสมือนการเห็นดวงจันทร์ในขันน้ำ มิอาจคว้าดวงจันทร์นั้นได้ คว้าได้แต่ขันเท่านั้นเอง สุขและทุกข์จึงเป็นของไม่เที่ยง เมื่อเห็นดังนี้แล้ว ผู้มีสติก็ย่อมเบื่อหน่ายทั้งสุขและทุกข์ ย่อมหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่น ไม่วิวาททุ่มเถียงกับผู้ใด แม้คำพูดนั้นจะระคายหู ก็ให้มีสติรู้ ว่าเป็นเพียงแค่คำพูดเท่านั้น"(พุทธพจน์)
ผู้เขียน
 
จำนวนผู้ตอบ: 77
สมัครสมาชิก: Sun Mar 14, 2010 12:23 pm
ที่อยู่: 4 Gunnamatta Place, Kelmscott, Western Australia, Australia, 6111

Re: เอาธรรมเป็นใหญ่

Postโดย ผู้เขียน » Mon Nov 29, 2010 4:35 pm

คำถาม หัวข้อที่ 11
"หนังสือ คุยกันฉันท์ธรรม นั้น หลวงพ่อประสิทธิ์ ท่านไม่เคยเห็นด้วย โดเยเฉพาะอย่างยิ่งการมีเรื่องของอิทธิปาฎิหารย์ลงไปเยอะขนาดนั้น ไม่เชื่อลองไปถามที่วัดถ้ำยายปริกที่เกาะสีชัง ได้ แต่ทำไม พระวิชัย ไม่เคารพ คำทัดทานของอาจารย์?"


จากข้อความข้างบนของคุณ Lich ผมขออนุญาตชี้แจงให้ทุกท่านทราบดังนี้

เรื่องการเขียนหนังสือคุยกันฉันท์ธรรม ก่อนหน้าที่จะมาเป็นหนังสือ(พิมพ์ครั้งที่ 1 เพื่อแจกในงานปลงศพของหลวงพ่อประสิทธิ์ ถาวโร มี.ค.2551) ผมได้เขียนและนำลงในกระทู้ "คุยกันฉันท์ธรรม" ของเว็บ "ลานธรรมเสวนา" มาก่อนหน้านั้นหลายปี (จำได้ว่าเริ่มเขียนตั้งแต่ต้นปี 2547 ขณะที่ผมศึกษาต่อที่ออสเตรเลีย) และเขียนต่อมาเรื่อยๆ โดยอาศัยความทรงจำ การบันทึกต่างๆ และถ่ายทอดออกมาตามความเป็นจริงที่ได้ประสบหรือได้ยินได้ฟังมา และเมื่อประมาณปี 2549 มีคนไปวัดถ้ำยายปริกมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการอ่านข้อเขียนของผม (ผมทราบจากพระและชีที่วัด) และเมื่อวันหนึ่ง ผมได้ไปวัดถ้ำยายปริกหลังจากกลับถึงเมืองไทย หลวงพ่อประสิทธิ์เมื่อพบหน้าผม ท่านก็พูดว่า "พงศ์เอ๊ย เอ็งไปทำอะไรของเอ็งวะ คนมาวัดกันตั้งมากตั้งมาย ใครมาก็มีแต่บอกว่าเอ็งเขียนอะไร..." ผมก็เรียนท่านว่า "ผมเขียนบทสนทนาและเหตุการณ์ที่ผมเคยพูดเคยประสบกับหลวงพ่อนั่นแหละครับ" ท่านก็เลยพูดว่า "เอ็งจะไปเขียนทำไม๊มากมาย ใครเขาจะมาก็ให้เขามาด้วยบุญด้วยกรรมของเขาเองเถ๊อะ" แล้วท่านก็หัวเราะเบาๆ

อีกเหตุการณ์หนึ่งคือ ผมทราบมาว่า มีท่านผู้อ่านบางท่าน นำบทความของผม (ที่พิมพ์ออกมาจากอินเตอร์เน็ท) ไปให้หลวงพ่อประสิทธฺิ์อ่าน และมีพระรูปหนึ่งในวัดถ้ำยายปริกด้วยเช่นกัน ที่นำบทความเหล่านั้นไปถวายให้หลวงพ่อได้อ่านได้พิจารณา ผลก็คือ หลวงพ่อก็ไม่ได้ว่าอะไร เพียงอ่านผ่านๆแล้วท่านก็เฉย

ซึ่งก็ถูกต้อง ที่คุณ Lich กล่าวว่า "หลวงพ่อประสิทธิ์ท่านไม่เคยเห็นด้วย" แต่...ผมก็ขอเรียนให้ทราบว่า หลวงพ่อท่านก็ไม่เคยห้ามด้วยเช่นกัน ซึ่งถ้าท่านห้ามแม้เพียงคำเดียว มีหรือผมจะเขียนเรื่องราวต่อเหมือนกับเป็นการไม่เคารพครูบาอาจารย์ ฉะนั้นจึงขอให้คุณ Lich และท่านผู้อ่านทุกท่านได้โปรดพิจารณาเรื่องราวตรงนี้ด้วย

และที่คุณ Lich กล่าวว่า "ไม่เชื่อให้ลองไปถามที่วัดถ้ำยายปริกที่เกาะสีชัง" ข้อนี้ผมขออนุโมทนากับคุณ Lich ด้วย ว่าคุณ Lich เป็นคนจริงคนตรง ดังนั้น ผมก็ขอสนับสนุน ให้ทุกท่านที่เคยได้อ่านเรื่องราวในคุยกันฉันท์ธรรม กรุณาไปสอบถามที่วัดถ้ำยายปริกด้วยตนเอง หรือจะโทรศัพท์ไปสอบถามที่วัดถ้ำยายปริก ที่เบอร์โทรของพระอาจารย์นพดล (087 800 1444) ท่านเจ้าอาวาสรูปปัจจุบันก็ได้ครับ ว่าเรื่องราวเป็นมาอย่างไร เชื่อว่าทุกท่านน่าจะได้ความกระจ่างด้วยตนเอง

เรื่องสุดท้าย คือเรื่องที่คุณ Lich กล่าวว่า ทำไมพระอาจารย์วิชัยไม่เคารพคำทัดทานของอาจารย์ ข้อนี้ผมขอเรียนชี้แจงว่า กรุณาอย่าเอาพระอาจารย์มาเกี่ยวข้องกับเรื่องของผมเลย เพราะหนังสือคุยกันฉันท์ธรรม รวมถึงบทความทุกบททุกตอนในนั้น ผมเขียนขึ้นแต่เพียงผู้เดียว พระอาจารย์วิชัยไม่เคยมีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่เคยกล่าวนำว่าให้ไปเขียนอย่างโน้นอย่างนี้ ไม่เคยแม้กระทั่งตรวจพิสูจน์อรรถพยัญชนะ ยกเว้นเพียงเรื่องเดียวคือเรื่องประวัติของท่าน ที่ผมเป็นผู้ขออนุญาตให้ท่านเขียนขึ้นด้วยองค์ท่านเองแล้วส่งให้ผม เพราะผมต้องการนำลงในหนังสือคุยกันฉันท์ธรรมด้วย เพื่อแสดงให้ทุกท่านเห็นว่า "พระอาจารย์วิชัย เป็นครูบาอาจารย์ของผม เช่นเดียวกับหลวงพ่อประสิทธิ์" ในหนังสือนั้น จึงมีประวัติของหลวงพ่อประสิทธิ์ และของพระอาจารย์วิชัยดังที่ทุกท่านได้เห็นในการพิมพ์ครั้งที่สอง ซึ่งผมก็ขอย้ำอีกครั้งว่า การกระทำทุกอย่างในนั้น เป็นเจตนารมย์ เป็นความมุ่งหมายของผมโดยส่วนเดียว ไม่มีใครเกี่ยวข้องมาชี้นำให้ผมเขียนอย่างโน้นอย่างนี้ทั้งสิ้น จึงขอเรียนให้คุณ Lich ทราบ ขอให้วางใจเป็นธรรม ให้ตรงต่อสัจธรรมความจริงด้วย

ทั้งนี้ ข้อเขียนของคุณ poppy ก็มีมากที่เกี่ยวข้องกับผม ซึ่งผมก็ขอขอบคุณคุณ poppy ด้วย ที่ได้ให้คำแนะนำแก่ผมมากมาย ซึ่งสิ่งที่ผมได้ทำแล้วก็คือ ผมได้ลบข้อความที่ผมเขียนเกี่ยวกับ"ความเปลี่ยนแปลงในใจ" ของผมออกหมดแล้ว และลบหมดทั้งการอนุโมทนาของทุกท่านด้วย ขอให้ทุกท่านพิจารณาว่า ผมเป็นผู้ร่วมสังสารวัฏ ขอให้ทุกท่านจงอดงดเว้นโทษให้แก่ผมด้วย

ทั้งนี้ สิ่งใดที่ผมได้กระทำไป แล้วนำมาซึ่งความกระทบกระเทือนต่อพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ และครูบาอาจารย์ของผม คือหลวงพ่อประสิทธิ์ และพระอาจารย์วิชัย ผมก็ขอกราบขอขมาด้วยเศียรเกล้าต่อทุกพระองค์ทุกท่าน นับจากนี้ไป ผมจะขอตั้งจิตภาวนา เจริญสติ สมาธิ ปัญญา มุ่งดูตัวเอง เพ่งโทษตนเองให้มาก เพื่อความหลุดพ้นอันแท้จริงในชาติปัจจุบันนี้ ที่อาจบังเกิดแก่ผมผู้มีบุญวาสนาน้อยนี้ด้วยเถิด
ผู้เขียน
 
จำนวนผู้ตอบ: 77
สมัครสมาชิก: Sun Mar 14, 2010 12:23 pm
ที่อยู่: 4 Gunnamatta Place, Kelmscott, Western Australia, Australia, 6111

Re: เอาธรรมเป็นใหญ่

Postโดย wiweksikkaram.hi5 » Tue Nov 30, 2010 12:19 am

รูปพุทธคยา 1

Image

http://www.4shared.com/photo/ctgFIOec/Aew_1.html









เวลาทำสมาธิ

ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก

ให้รู้ลมหายใจเข้าออก

หายใจเข้าสั้นก็รู้

หายใจออกสั้นก็รู้

หายใจเข้ายาวก็รู้

หายใจออกยาวก็รู้

ไม่ต้องบังคับลมหายใจ

ตามรู้ลมหายใจเข้าออก

สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้

สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย

ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ

เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น

ทำอะไรก็ให้รู้เหตุปัจจัย

รู้ไม่ใช่เพื่อ ยินดี ยินร้าย รู้เพื่อให้ รู้เหตุปัจจัย

เหตุแห่งความเจริญ

เคารพ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

เคารพ สิกขา 3 ศีล สมาธิ ปัญญา

เคารพในความไม่ประมาท

เคารพในการปฎิสันฐาน

เคารพใน ศีล

เคารพใน สมาธิ

เคารพในกันและกัน

หลักตัดสิน ธรรมวินัย 8 ประการ

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด

เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้

เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส

เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย

เป็นไปเพื่อสันโดษ

เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ

เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร

เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย

ธรรมที่ควรเจริญ

สติ

สัมปัชชัญญะ

ศีล

สมาธิ

ปัญญา

วิมุตติ

วิมุตติญาณทัสสนะ

สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ

สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ

สัมมาวาจา พูดชอบ

สัมมาอาชีโว อาชีพชอบ

สัมมากัมมันโต การงานชอบ

สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ

สัมมาสติ ระลึกชอบ

สัมมาสมาธิ ตั้งมั่นชอบ

สัมมาญาณะ ความรู้ชอบ

สัมมาวิมุตติ หลุดพ้นชอบ

สัมมาวิมุตติญาณทัสสนะ ความเห็นในการหลุดพ้นชอบ

สัมมาทิฏฐิ

คือ รู้ชัดซึ่ง เหตุแห่ง กุศล วิชชา เป็น เหตุ

รู้ชัดซึ่ง เหตุแห่ง อกุศล อวิชชา เป็น เหตุ

การบรรลุธรรมอาศัย สติ ปัญญา อุเบกขา เป็นมัทยัทธ์

รักษาสัจจะ เพิ่มพูลจาคะ ไม่ประมาทปัญญา ศึกษาสันติ

การปฎิบัติธรรม

คบสัตบุรุษ ฟังพระสัทธรรม อยู่ในประเทศเหมาะสม ตั้งสัจจะ เดินสัมมาทิฏฐิ เจริญความสงบ

ออกพิจารณาด้านปัญญา + พลังกุศล - บ่มอินทรีย์ นิพพิทา วิราคะ วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ

สติ - ศีล - สมาธิ - ปัญญา - วิมุตติ - วิมุตติญาณทัสสนะ

อัปปมาโณพุทโธ อานุภาพพระพุทธเจ้าไม่มีประมาณ

อัปปมาโณธัมโม อานุภาพพระธรรมไม่มีประมาณ

อัปปมาโณสังโฆ อานุภาพพระสงฆ์ไม่มีประมาณ

เรื่องของสมมติ อวิชชา ตัวตน ยึดตรงไหน หลงที่ไหน ผิดที่นั้น จุดต่อมแห่งภพชาติ

wiweksikkaram.hi5
 
จำนวนผู้ตอบ: 114
สมัครสมาชิก: Mon Mar 15, 2010 12:20 am
ที่อยู่: สุทธาวาสภูมิ

Re: เอาธรรมเป็นใหญ่

Postโดย aor » Tue Nov 30, 2010 7:59 pm

อนุโมทนากับท่านทั้งหลายที่สนทนากันด้วยเมตตาธรรม ผู้เข้ามาอ่านก็ได้รับประโยชน์จากการแสดงความเห็นและข้อธรรมที่ยกมาประกอบ ให้ได้ระลึกถึงพระคุณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและครูบาอาจารย์ทั้งหลาย _/l\_ _/l\_ _/l\_

นอกจากขออนุโมทนาแล้ว ก็ขอโอกาสเรียน เรื่องรูปถ่ายบ้าง ว่าตัวเองทำ photoshop ให้เกิดภาพดังที่มีแสดงไม่เป็น แต่คิดเอาเองว่าคนที่ทำเทคนิคเหล่านี้เป็นคงมีอยู่บ้างในโลก เพียงแต่ส่วนตัวไม่เห็นประโยชน์ของการทำเพื่อหวังผลเป็นการหลอกลวงใคร ยิ่งวิบากที่จะได้รับจากการหลอกให้คนเข้าใจผิดในเรื่องที่เกี่ยวกับพุทธานุภาพคงมหาศาล ผลประโยชน์ตอบแทนใดๆ ก็คงจะไม่คุ้มค่าความเสี่ยง

จากประสบการณ์ตรงที่ผ่านมาเวลาไปที่วัด ก็เห็นมีคนถ่ายติดบ้าง ไม่ติดบ้าง ไม่แน่ไม่นอน และก็ได้พบเจอญาติธรรมอีกหลายคนที่ไปวัดในคราวเดียวกัน เห็นเค้าถ่ายรูปแล้วก็เปิดดูกันหลังถ่ายเสร็จทันที โดยไม่เห็นว่าเค้าจะมีเวลาเอาไปทำ photoshop เพื่อตกแต่งภาพ ก่อนนำมาแบ่งปันกันตอนไหนค่ะ

จึงเรียนมาเพื่อทราบ หากทำให้ท่านใดขุ่นเคืองในความคิดเห็นนี้ ก็ขออโหสิกรรมมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
aor
 
จำนวนผู้ตอบ: 62
สมัครสมาชิก: Wed Apr 21, 2010 1:30 pm


กลับไปหน้า ธรรมเพื่อชีวิต

ผู้ที่กำลัง online

ผู้ที่กำลังอ่าน forum นี้: สมาชิก ไม่มีสมาชิก และ ผู้เยี่ยมชม 1 คน

cron