อานิสงค์การรักษาศีล

เพื่อสนทนาธรรม และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อความเป็นกัลยาณมิตร กัลยาณธรรมที่ดีต่อกัน

อานิสงค์การรักษาศีล

Postโดย นิรทุกข์ » Wed Jun 16, 2010 4:59 am

ได้อ่านเจอบทความดีๆ ขอนำมาเผยแพร่กันครับ


บวชใจในเรือน

ในฤดูที่ดอกไม้บาน เป็นฤดูที่ยังความรื่นรมย์ให้แก่มนุษย์และสัตว์ ดอกไม้หลากชนิด หลายสี บานสะพรั่ง อวดสี และกลิ่นอยู่บนต้น บางอย่างหอมมาก บางอย่างหอมน้อย บางอย่างไม่หอมเลย บางอย่างสวยทั้งสี และกลิ่น
บางอย่างสีสวยแต่ไม่มีกลิ่น บางอย่างไม่สวยทั้งสี และกลิ่น บางอย่างหอมชั่วเวลาเช้า บางอย่างหอมตอนสาย บางอย่างหอมเวลาบ่าย
บางอย่างหอมเวลาเย็น บางอย่างหอมเฉพาะกลางคืน บางอย่างหอมทั้งวันทั้งคืน แต่บางอย่างก็หอมทนอยู่ได้หลายวัน ถึงกระนั้นเมื่อเหี่ยวแห้งร่วงโรยแล้วก็หมดหอม ไม่มีดอกไม้ชนิดใดเลยที่จะหอมอยู่เป็นนิจทั้งในเวลาบาน และโรยหล่น แม้เมื่อเวลาบานอยู่ ถูกลมพัดร่วงพรูจากต้น
ลงประดับพื้นดินจะยังมองดูงามแปลกตา และกลิ่นของมันยังหอมกรุ่น เป็นที่ชื่นชอบของผู้พบเห็น แต่เมื่อมันเหี่ยวแห้งอับเฉา ก็ไม่เป็นที่ต้องการของผู้ใด

แต่คนมีศีลมิได้เป็นเช่นนั้น คนมีศีลนั้นหอมอยู่เสมอ หอมทั้งตามลม และทวนลม หอมทั้งในเวลามีชีวิตอยู่ และละโลกนี้ไปแล้ว เป็นที่ชื่นชมรักใคร่ของคนทั่วไปในเวลาที่มีชีวิต เป็นที่เสียดายอาลัยรัก และกล่าวขวัญสรรเสริญถึงในเวลาที่ตายไป
ทั้งนี้เพราะตลอดเวลาที่มีชีวิต คนมีศีลไม่มีพิษมีภัยต่อผู้ใด มีกิริยาวาจาละมุนละไมน่ารัก ไม่ฆ่าตี ข่มเหง เบียดเบียน ทำร้ายใคร ทั้งด้วยกาย และวาจา ประกอบด้วยความเมตตากรุณาแก่สัตว์ทั้งปวงอยู่เป็นนิจ

พวงมาลัยดอกไม้หอมที่นายช่างบรรจงร้อยไว้อย่างมีระเบียบ ย่อมงดงามน่าดู ควรค่า แก่การเป็นเครื่องสักการะฉันใด คนที่มีกิริยาวาจานุ่มนวลเรียบร้อย งดงาม ก็ควรค่าแก่ความเคารพนับถือยกย่องฉันนั้น
ด้วยเหตุนั้น พระสีลวเถระองค์อรหันต์ ผู้สาวกของพระพุทธเจ้า จึงสรรเสริญศีลว่า ศีลเป็นอาภรณ์คือเครื่องประดับอันประเสริฐเพชรนิลจินดาและอาภรณ์อันมีค่า มิใช่เครื่องประดับอันประเสริฐ เพราะไม่อาจทำกาย วาจา ใจ ของผู้ประดับให้งดงามได้

พระพุทธองค์ตรัสเตือนอุบาสกชาวสักกชนบท ที่รักษาอุโบสถศีลเป็นบางครั้งบางคราวว่า เป็นผู้ประมาทไม่ทำตามคำพร่ำสอนของพระองค์ ในเมื่อชีวิตมีภัยเพราะความโศก มีภัยเพราะความตายอย่างนี้ ก็ยังไม่รักษาอุโบสถศีลให้เป็นปกติ ให้สม่ำเสมอ สาวกของพระองค์นั้นปฏิบัติตามคำพร่ำสอนของพระองค์โดยไม่ประมาทตลอด ๑๐ ปี ย่อมได้รับความสุขเพียงอย่างเดียวตลอด ๑๐๐ ปีก็มี
หมื่นปีก็มี แสนปีก็มี พึงเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามีก็มี
อย่าว่าแต่ผู้ที่ปฏิบัติตามคำพร่ำสอนของพระองค์ตลอด ๑๐ ปีเลย

แม้ปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์น้อยกว่านั้นลงมาตามลำดับจนถึง๑ วัน๑ คืน ก็พึงได้รับความสุขอย่างเดียวตลอด ๑๐๐ ปีก็มี
หมื่นปีก็มี แสนปีก็มี พึงเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามีก็มีเมื่ออุบาสกชาวสักกชนบทได้ฟังพระพุทธองค์ตรัสเตือนพร้อมทั้งแสดงอานิส
์ของอุโบสถศีลเช่นนั้น ก็กราบทูลรับรองว่า

ต่อแต่นี้ไปจะรักษาอุโบสถศีลโดยสม่ำเสมอ มิได้ขาดก็ชีวิตของเราทั้งหลายในปัจจุบันนี้ ล้วนมีภัยอันตรายอยู่รอบตัว

ไม่มีใครทราบว่าความตายจะมาถึงเราเมื่อไร แล้วเรายังจะประมาทไม่ทำตามคำพร่ำสอนของพระพุทธองค์ด้วยการรักษาศีล ๕ ศีล๘
หรืออุโบสถศีลให้สม่ำเสมอดอกหรือ ในเมื่อศีลนั้นเป็นอริยทรัพย์ประการหนึ่งในบรรดาอริยทรัพย์๗ ประการที่พร้อมจะติดตามไปให้ความสุขแก่ผู้รักษาตลอดไป ตราบเท่าที่ยังต้องเกิดอยู่เพราะฉะนั้น ผู้รักษาศีลดีแล้ว จึงไม่ต้องตั้งเจตนาปรารถนา ขอความไม่เดือดร้อนและความสุข จงเกิดแก่เรา ด้วยว่าความไม่เดือดร้อนและความสุข ย่อมเกิดแก่ผู้มีศีลเป็นธรรมดา

แต่ผู้ทุศีลถึงจะตั้งเจตนาปรารถนาว่า ขอความไม่เดือดร้อนและความสุขจงเกิดแก่เรา เขาก็หาได้รับผลสมตามเจตนาไม่
เพราะความเดือดร้อน และความทุกข์ย่อมเกิดแก่ผู้ทุศีลเป็นธรรมดาธรรมที่ปฏิบัติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้อย่างนี้สำหรับศีลของคฤหัสถ์อีกอย่างหนึ่ง คือ ศีล ๘ ก็มี ๘ ข้อเหมือนอุโบสถศีล เพียงแต่ไม่กำหนด วันรักษาเหมือนอุโบสถศีล จะรักษาวันใด
เมื่อไรก็ได้ เป็นการสะดวกสบายสำหรับผู้ที่ไม่อาจจะรักษาอุโบสถศีลในวันพระ ก็สามารถรักษาศีล ๘ ในวันอื่นเป็นการทดแทนได้
บางท่านมีศรัทธารักษาศีล ๘ จนตลอดชีวิต ควรแก่การสรรเสริญ และหากว่าท่านที่รักษาศีล ๘ นั้นจะได้รักษาศีล ๘ ของท่านตามแบบอย่างของพระอริยะแล้ว ศีลของท่านก็ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

อนึ่งในการตั้งใจรักษาศีลนั้น อย่านึกว่าต้องไปสมาทานกับพระที่วัดเท่านั้นจึงจะเป็นศีล ความจริงแล้วจะสมาทานที่ไหนก็ได้
คือจะสมาทานที่วัด ในป่า หรือในบ้าน หากมีเจตนาคิดงดเว้นก็เป็นศีลแล้ว หรือจะคิดงดเว้นเองโดยมิต้องสมาทานก็เป็นศีล
โดยเฉพาะอุโบสถศีลนั้น ควรตั้งเจตนาในการรักษาไว้แต่รุ่งเช้า หากมีโอกาสไปวัดจะสมาทานกับพระอีกครั้งหนึ่งก็สมควร
ด้วยเหตุนั้นจึงควรสมาทานด้วยตนเองเสียก่อนแต่รุ่งเช้า ในอดีต พระพุทธเจ้าของเราในสมัยที่ยังเป็นพระมหาชนกโพธิสัตว์ก็ยังได้สมาทานศีลอุโบสถด้วยตน
อง ในขณะที่ลอยอยู่กลางทะเลแม้ในสมัยพุทธกาล คนส่วนมากก็สมาทานศีลที่บ้าน

ในวันอุโบสถ แล้วจึงถือดอกไม้ของหอมไปวัดเพื่อฟังธรรม ท่านมิได้ไปรับศีลจากพระที่วัดหากการรักษาศีลจำเป็นต้องไปสมาทานกับพระเพียงอย่างเดี
ก็น่าคิดว่าผู้ที่อยู่ในถิ่นกันดารในที่ไม่มีวัด ไม่มีพระ แต่นับถือพระพุทธศาสนา มิหมดโอกาสที่จะรักษาศีลหรือ เพราะเหตุนี้การทำอะไร จะต้องอาศัยปัญญา แม้การรักษาศีลก็ต้องอาศัยปัญญาพินิจพิจารณาให้รอบคอบอย่าเพียงแต่ทำตามๆกันโดยขาดเห
ผลการรักษาศีล ๘บวชใจในเรือน การรักษาศีล ๘ หรือการรักษาอุโบสถศีลเป็นการขัดเกลากิเลสอย่างหยาบหรือการประพฤติไม่ดีทางกาย
วาจา ใจ ชนิดที่เห็นได้ง่าย ได้ชัด เกิดแก่คนทั่วๆไป ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะชั้นชนใด ตามปกติการขจัดขัดเกลากิเลสดังกล่าว

สำหรับปุถุชนคนธรรมดาถือว่ารักษาศีล ๕ ก็นับว่าเพียงพอ แต่สำหรับผู้ที่จะละกิเลสให้ยิ่งขึ้นไปอีกก็อาจรักษาศีล ๘ ซึ่งเป็นศีลที่ทำให้ละความสะดวกสบาย ความสวยความงามและความน่าพึงพอใจทางกายต่างๆ อันเป็นการละกามกิเลสเพิ่มขึ้น

บางคนที่เคร่งครัดก็รักษาเป็นปกติ บางคนที่ยังไม่สะดวกก็อาจตั้งใจรักษาศีล ๘ คราวละ ๓ วัน วันรับวันหนึ่ง วันรักษาวันหนึ่ง และวันส่งอีกวันหนึ่ง เช่น จะรักษาในวันพระ ๘ ค่ำ ก็ต้องเริ่มตั้งแต่วัน ๗ ค่ำ ไปจนสิ้นวัน ๙ ค่ำ คือ รุ่งอรุณของวัน ๑๐ ค่ำ โดยทั่วไปมักรักษาศีล ๘ ในวันพระหรือวันอุโบสถเพียงวันเดียว คือวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง การรักษาศีล ๘ แม้ไม่ใช่นิจศีล คือ ศีลที่รักษาเป็นประจำซึ่งได้แก่ศีล ๕ แต่ก็ควรถือเป็นหน้าที่ของชาวพุทธที่จะหาโอกาสรักษาศีล ๘ บ้าง อย่างน้อยเพื่อให้มีประสบการณ์ในการรักษาศีลที่เพิ่มขึ้นกว่าปกติอันเป็นการทำให้เรา
ป็นคนมีศีลเพิ่มขึ้น ขจัดกิเลสที่ละเอียดมากขึ้นกว่าศีล ๕ ศีลอุโบสถ

เป็นเรื่องของกุศลกรรมสำคัญประการหนึ่งของคฤหัสถ์ แปลว่าการเข้าจำ เป็นอุบายขัดเกลากิเลสอย่างหยาบให้เบาบาง และเป็นทางแห่งความสงบ ระงับอันเป็นความสุขอย่างสูงสุดในพระพุทธศาสนา เพราะฉะนั้น พุทธศาสนิกชนผู้อยู่ในฆราวาสวินัย จึงนิยมเอาใจใส่หาโอกาสประพฤติปฏิบัติตามสมควร อุโบสถของคฤหัสถ์ที่กล่าวนี้มี ๒ อย่าง คือ ปกติอุโบสถอย่าง ๑ ปฏิชาครอุโบสถอย่าง ๑ อุโบสถที่รับรักษากันตามปรกติเฉพาะวันหนึ่งคือหนึ่งอย่างที่รักษากันตามปกติทั่วไป เรียกว่า ปกติอุโบสถ, ส่วนอุโบสถที่รับและรักษาเป็นพิเศษกว่าปรกติ คือ รักษาคราวละ ๓ วัน จัดเป็นวันรับวันหนึ่ง วันรักษาวันหนึ่ง และวันส่งวันหนึ่ง

เช่น จะรักษาอุโบสถวัน ๘ ค่ำ ต้องรับและรักษามาแต่วัน ๗ ค่ำ ตลอดไปถึงสุดวัน ๙ ค่ำ คือ ได้อรุณใหม่ของวัน ๑๐ ค่ำนั่นเอง จึงหยุดรักษา อย่างนี้เรียกว่า ปฏิชาครอุโบสถทั้ง ๒ อย่างนี้ ต่างกันเฉพาะวันที่รักษามากน้อยกว่ากันเท่านั้น และการรักษาอุโบสถทั้ง ๒ อย่างนี้ โดยเนื้อแท้ ก็คือสมาทานรักษาศีล ๘ อย่างเคร่าครัด เป็นเอกัชฌสมาทานมั่นคงอยู่ด้วยความผูกใจจนตลอดกาลของอุโบสถที่ตนสมาทานนั้น จึงเป็นเหตุให้เกิดประโยชน์สำคัญดังกล่าวแล้วอุโบสถศีล สำหรับ

1.ฆราวาสผู้ครองเรือน ซึ่งปรารถนาความสุขอันยอดเยี่ยมในกาลปัจจุบันและอนาคต
2.ผู้สะสมบารมี เพื่อรู้ธรรมเห็นธรรมและบรรลุมรรคผลนิพพานอุโบสถศีลคืออะไรอุโบสถศีล เป็นศีลชั้นสูงของฆราวาส คำว่า นี้ มีความหมาย ๖ ประการ คือ

๑. เป็นชื่อการประชุมสวดปาฏิโมกข์ของพระสงฆ์ ในวันพระ ขึ้น-แรม ๑๕ ค่ำ และแรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า อุโบสถกรรม
๒. เป็นชื่อการประพฤติวัตรบางอย่างของลัทธินอกพระพุทธ ศาสนา เช่น ปฏิญญาณตนอดข้าววันหนึ่งบ้าง หรือ ปฏิญญาณ ตนบริโภคเฉพาะน้ำผึ้งบ้าง เรียกว่า อุโบสถ
๓. เป็นชื่อของช้างตระกูลหนึ่ง มีสีการเป็นสีทอง เรียกว่า ช้างตระกูลอุโบสถ
๔. เป็นชื่อของโบสถ์ เรียกว่า พระอุโบสถ
๕. เป็นชื่อของวันสำคัญในพระพุทธศาสนา (วันพระ) เรียกว่า วันอุโบสถ
๖. เป็นชื่อของการรักษาศีล ๘ ในวันพระขึ้น-แรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และแรม ๑๔ ค่ำ (กรณีเดือนขาด) เรียกว่า อุโบสถศีล อุโบสถศีลมีวันพระเป็นแดนเกิด ศีล ๘ ที่รักษาในวันอื่นนอกจาก วันพระไม่เรียกว่า อุโบสถศีล เรียกว่า ศีล ๘ ธรรมดา ความหมายของอุโบสถศีล

อุโบสถศีล มีบทวิเคราะห์ศัพท์ว่า อุปะวะสิตัพโพ อุโปสะโถ แปลว่า สถาวธรรมอันบุคคลทั้งหลายผู้ต้องการด้วยบุญ พึงเข้าไปอาศัยอยู่ (รักษา) ชื่อว่า อุโบสถศีล อุปะกิเลเส อุเสติ ทะหะติ อุปะตาเปติ วาติ อุโปสะโถ ความว่า การกระทำที่กำจัดอุปกิเลส ๑๖ เผาอุปกิเลส ๑๖ ทำให้อุปกิเลส ๑๖ เดือดร้อน หมายความว่า ทำอุปกิเลส ๑๖ ให้หมดสิ้นไป ชื่อว่า อุโบสถศีล

ความมหัศจรรย์แห่งอุโบสถศีลนางเอกุโปสติกาภิกษุณี ออกบวชเมื่ออายุได้ 7 ปี บวชแล้วไม่ทันถึงครึ่งเดือน นางก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ หมดสิ้นอาสวะกิเลส ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป.. หลายคนสงสัยว่า เหตุใดนางจึงได้บรรลุธรรมรวดเร็วอย่างนั้นนางจึงเล่าประวัติ การเวียนว่ายตายเกิดของนางว่า เมื่อ 91กัปป์ที่ผ่านมา มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกมาแล้ว 7 พระองค์ คือ พระวิปัสสีพุทธเจ้า พระสิขีพุทธเจ้า พระกกุสันโธพุทธเจ้า พระโกนาคมโนพุทธเจ้า พระกัสสปะพุทธเจ้า และพระโคตมะพุทธเจ้า ของเราในสมัยนี้ในสมัยพระเจ้าวิปัสสีพุทธเจ้า นางเอกุโปสติกาภิกษุณี เกิดเป็นหญิงรับใช้ของพระเจ้าพันธุมมะ ผู้ครองนครพันธุมดีนางได้เห็นพระเจ้าพันธุมมะ พร้อมด้วยอำมาตย์ ข้าราชบริพาร ทรงสละราชกิจมาสมาทานรักษาอุโบสถศีลในวันพระ นางคิดว่า อุโบสถศีลนี้ น่าจะเป็นของดีวิเศษ เจ้าฟ้ามหากษัตริย์จึงสนใจสมาทานรักษาเป็นประจำนางคิดได้ดังนี้ จึงศึกษา

และทำใจร่าเริงสมาทานรักษาอุโบสถศีลเป็นประจำทุกวันพระผลของการรักษาอุโบสถศีล ทำให้นางได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ มีวิมานอันสวยงาม มีนางฟ้าแสนนางเป็นบริวาร มีผิวพรรณผุดผ่องดั่งทองคำ มีความงามยิ่งกว่านางฟ้าอื่นๆ ระหว่างที่นาง ยังท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ไม่ว่าจะเกิดในภพใดชาติใด นางจะเป็นผู้ประเสริฐในที่ทุกสถานทุกภพทุกชาติ ได้ที่อยู่อาศัยเป็นเรือนยอดปราสาทมณฑป ได้ดอกไม้เครื่องหอม เครื่องลูบไล้ ของกินของใช้ไม่เคยอดอยาก ภาชนะเครื่องใช้ทำด้วยเงินทองแก้วผลึกแก้วปทุมราช ผ้าไหมผ้าฝ้ายผ้าเปลือกไม้ล้วนแต่งามวิจิตรมีราคาสูง พาหนะ ช้าง ม้า รถ มีครบบริบูรณ์ ทุกอย่างเป็นผลบุญที่เกิดขึ้นจากการรักษาอุโบสถศีลในวันพระของนาง ตลอดเวลา 91กัปป์ นางมิได้ไปเกิดในทุคติภูมิเลยพระพุทธองค์ตรัสว่าดูกร ภิกษุทั้งหลาย อุโบสถศีลประกอบด้วยองค์แปดที่บุคคลสมาทานรักษาแล้วย่อมมีผลยิ่งใหญ่ มีอานิสงส์มหาศาล มีความเจริญรุ่งเรืองยิ่งนัก มีผลอานิสงส์แผ่ไพศาลมาก

อุโบสถศีล เลิศกว่าสมบัติพระเจ้าจักรพรรดิ์ บรรดาคนร่ำรวยที่สุดในโลก มหาเศรษฐี มีทรัพย์สินเงินทองมากมายมหาศาลเพียงใดก็ตาม ความร่ำรวยเหล่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับทรัพย์สมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์แล้ว ย่อมเป็นของเล็กน้อย ทรัพย์สมบัติของเศรษฐีทุกคนในโลกรวมกันก็ไม่เท่าทรัพย์สมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์ทร
พย์สมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์ เมื่อเปรียบเทียบกับผลของการรักษาอุโบสถศีล ย่อมเป็นของเล็กน้อย คือ ไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 ของผลบุญที่เกิดจากการรักษาอุโบสถศีล เพราะ สมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์เป็นสมบัติมนุษย์ เป็นสมบัติหยาบ เป็นความสุขหยาบ

ใช้เวลาเสวยอย่างมากไม่เกินร้อยปี แต่ผลของอุโบสถศีล เป็นเหตุให้ได้สมบัติทิพย์ ความสุขก็เป็นทิพย์ด้วย
การเสวยสมบัติทิพย์ กินเวลายาวนานเป็นกัปป์เป็นกัลป์ บางทีเป็นนิรันดร์(นิพพานสมบัติ)ดังนั้น ชาย หญิงทั้งหลาย
ผู้ได้สมาทานรักษาอุโบสถศีลย่อมได้ชื่อว่า ทำความดีอันมีความสุข เป็นกำไร ไม่มีคนดีที่ไหนจะติเตียนได้ เมื่อสิ้นชีพไปแล้วย่อมเข้าถึงสวรรค์หกชั้นชั้นใดชั้นหนึ่ง

"อานิสงส์แห่งการบวชใจในเรือน"

อันผู้รักษาอุโบสถศีลนั้น ย่อมได้อานิสงส์ทั้งชาตินี้และชาติหน้าโดย อนุรูปแก่การปฏิบัติของตนๆ ดังพระพุทธพจน์ตรัสไว้ในตอนท้าย แห่งอุโบสถสูตรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุโบสถประกอบด้วย องค์ ๘ ที่อริยสาวกเข้าอาศัยอยู่นานแล้ว เป็นคุณมีผลใหญ่ และอานิสงส์ใหญ่ มีความรุ่งเรืองแผ่ไพศาลมากการเข้ารักษาอุโบสถ นับว่าเป็นการเข้าถือบวชของคฤหัสถ์ เพราะเป็นอุบายเว้นจากบาปแล้วอบรมบ่มกายวาจาใจให้สุข เกิดเป็นรสหวาน ซึ่งเป็นผลที่ต้องการทั้งทางคดีโลกคดีธรรม จริงอย่างนั้น น้ำใจอัธยาศัยอันธรรมอบรมบ่มให้สุขแล้ว ย่อมเกิด รสหวานคือน่าเคารพและน่าคบค้าสมาคมด้วยความสนิทสนม การและวาจาอันศีลอบรมบ่มให้สุขแล้ว ย่อมเกิดรสหวาน กล่าวคือกิริยาทางกายหวานตาน่าดูน่าชม คำพูดทางวาจา ก็หวานหู ฟังไม่รู้เบื่อ วิธีการบวชใจในเรือน รักษาอุโบสถศีล

เมื่อวันพระเวียนมาถึง ให้ทำความตั้งใจว่า วันนี้เราจะรักษาอุโบสถศีล เป็นเวลาสิ้นวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง คือตั้งแต่เช้าวันพระจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้นเจตนาละเว้นจากความชั่วทางกายวาจานั้นแลคื
ตัวศีลโดยปกติ วันพระ อุบาสก อุบาสิกา จะพากันไปสมาทานอุโบสถศีลที่วัด พักอาศัยอยู่ที่วัดวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ถ้าไม่ได้ไปวัดก็ให้ทำสมาทานวิรัติ หรือเจตนาวิรัติอุโบสถศีลเอาเองสมาทานวิรัติ คือ ตั้งใจสมาทานศีลด้วยตนเอง จะรักษากี่วัน กำหนดเอง เว้นจากข้อห้ามของศีลเสียเอง เจตนาวิรัติ คือ เพียงแต่มีเจตนาเว้นจากข้อห้ามที่ใจเท่านั้น ก็เป็นศีลแล้ว ไม่ต้องใช้เสียงก็ได้สมาทานวิรัติ ดังนี้ เจตนาหัง ภิกขะเว สีลังวันทามิ

"คำอาราธนาอุโบสถศีล"

อะหัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามิทุติยัมปิ อะหัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามิตะติยัมปิ อะหัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามิ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิธัมมัง สะระณัง คัจฉามิสังฆัง สะระณัง คัจฉามิทุติยัมปิ
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ<

สาธุ สาธุ สาธุ คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระอริยสงฆ์ ตั้งแต่เวลานี้ไปจนถึง....................
ข้าฯ จะตั้งใจรักษาอุโบสถศีล อันประกอบไปด้วยองค์แปดประการ คือศีล ๘
๑.ปาณาติปาตา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิเจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่าสัตว์)
๒. อะทินนาทานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ(เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้)
๓. อะพรัหมะจะริยา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ(เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการกระทำอันมิใช่พรหมจรรย์)
๔. มุสาวาทา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ(เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดไม่จริง)
๕. สุราเมระยะ มัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิเจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการดื่มสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท) <br />๖. วิกาละโภชนา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ(เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการบริโภคอาหารในยามวิกาล)
๗. นัจจะคีตะวาทิตะ วิสูกะทัสสะนะ มาลาคันธะวิเลปะนะ ธาระณะมัณฑะนะ <br />วิภูสะนัฏฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิเจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฟ้อนรำ การขับร้อง การดนตรี การดูการเล่น<br />ที่เป็นข้าศึกต่อกุศล การทัดทรงสวมใส่ การประดับ การตกแต่งด้วยพวงมาลาด้วยกลิ่นหอม ด้วยเครื่องทา)
๘. อุจจาสะยะนะ มะหาสะยะนา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ(เจตนาเป็นเครื่องเว้นการนั่งนอนบนที่สูงและที่นอนใหญ่)

ข้าฯ สมาทานวิรัติ ซึ่งอุโบสถศีล อันประกอบด้วยองค์แปดประการนี้ เพื่อจะรักษาไว้ให้ดีมิให้ขาด มิให้ทำลาย สิ้นวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ณ เพลาวันนี้ ขอกุศลส่วนนี้ จงเป็นอุปนิสัยเป็นปัจจัยแก่พระนิพพานในอนาคตกาลเบื้องหน้าโน้นเทอญ สาธุ

เมื่อวิรัติศีลแล้ว พึงรักษา กาย วาจา เว้นการกระทำ ตามที่ได้ตั้งสัตย์ปฏิญาณไว้จนสิ้น กำหนดเวลา พยายามรักษากาย วาจา มั่นอยู่ในศีล อย่าให้ศีลข้อใดข้อหนึ่งขาด หรือทะลุด่างพร้อยมัวหมอง ถ้ากระทำบ่อยๆ และต่อเนื่องยาวนาน ศีลจะอบรมจิตใจให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิ สมาธิจะอบรมปัญญาให้แก่กล้าสามารถรู้ธรรมเห็นธรรมบรรลุมรรคผลนิพพานได้อานิสงส์ของกา
รักษาศีล พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงอานิสงส์ของศีลที่เป็นกุศล กิมัตถิยสูตร อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ข้อ๑คือ กุศลศีลที่มีกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน แก่ท่านพระอานนท์ไว้ ๑๐ ประการ คือ

๑. ศีลที่เป็นกุศลมีอวิปปฏิสาร คือความไม่เดือดร้อนใจเป็นผลเป็นอานิสงส์
๒. ความไม่เดือดร้อนใจมีความปราโมทย์เป็นผลเป็นอานิสงส์
๓. ความปราโมทย์มีปีติเป็นผลเป็นอานิสงส์
๔. ปีติมีปัสสัทธิคือความสงบใจเป็นผลเป็นอานิสงส์
๕. ปัสสัทธิ มีสุขคือความสุขใจเป็นผลเป็นอานิสงส์
๖. สุขมีสมาธิเป็นผลเป็นอานิสงส์
๗. สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะคือความเห็นด้วยญาณตามความเป็นจริงเป็นผลเป็นอานิสงส์
. ยถาภูตญาณทัสสนะ มีนิพพิทาวิราคะคือความหน่ายความคลายเป็นผลเป็นอานิสงส์
๙. นิพพิทาวิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะคือความเห็นด้วยญาณเป็นเครื่องหลุดพ้นเป็นผลเป็นอาน
งส์

๑๐. ศีลที่เป็นกุศลย่อมถึงอรหันต์โดยลำดับ ด้วยประการฉะนี้ฯและในมหาปรินิพพานสูตรทีฆนิกาย มหาวรรค ว่าผู้มีศีลย่อมได้รับอานิสงส์ ๕ ประการ คือ
๑. ย่อมได้รับโภคทรัพย์ใหญ่ เพราะความไม่ประมาทเป็นเหตุ ดังที่พระท่านแสดงอานิสงส์ของศีลในเวลาให้ศีลว่า สีเลน โภคสมปทา
๒. เกียรติศัพท์อันงามของผู้มีศีล ย่อมฟุ้งขจรไปไกล
๓. ผู้มีศีลเข้าไปสู่สมาคมใดๆ ย่อมเข้าไปอย่างองอาจไม่เก้อเขิน
๔. ผู้มีศีลย่อมไม่หลงทำกาละ คือไม่หลงในเวลาตาย
๕. ผู้มีศีล ตายแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ สีเลน สุคตึ ยนฺติ นอกจากนั้นพระพุทธองค์ยังทรงแสดงไว้ด้วยว่า ผู้ที่หวังได้รับความรักใคร่ สรรเสริญจากบัณฑิต<br />ทั้งหลาย ควรทำศีลให้บริบูรณ์ปัญหา ในการรักษาศีล 8 และศีลอุโบสถคือ กลัวไม่ได้กินอาหารเย็น กลัวหิว กลัวเป็นโรคกระเพาะ กลัวรักษาศีลไม่ได้แล้วจะยิ่งบาปที่จริงแล้ว ผู้รักษาศีล 8 สามารถรับประทานน้ำปานะ คือ น้ำที่ทำจากผลไม้ ขนาดเล็กเท่าเล็บเหยี่ยว ขนาดใหญ่ไม่เกินส้มโอตำ หรือ คั้นผสมน้ำกรองด้วยผ้าขาวบางให้ดี 8 ครั้ง ผสมเกลือและน้ำตาล พอได้รส หรือ รับประทานเภสัช 5 อย่าง คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย(น้ำตาล)

นอกจากนี้ยังรับประทานสิ่งที่เป็นยาวชีวิก ได้โดยไม่จำกัดกาล คือ รับประทานเป็นยาได้แก่ รากไม้ เช่น ขมิ้น ขิง ข่า ตะใคร้ ว่านน้ำ แฝก แห้วหมูน้ำฝาด เช่น น้ำฝาดสะเดา ใบมูกมัน ใบกระดอม ใบกะเพราหรือแมงลัก ใบฝ้าย ใบชะพลู ใบบัวบก ใบส้มลมผลไม้ เช่น ลูกพิลังกาสา ดีปลี พริก สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม ผลแห่งโกฐ รวมยางไม้จากต้นหิงค์และเกลือต่างๆความแตกต่างระหว่างอุโบสถศีลกับศีล๘

๑. อุโบสถศีล กับ ศีล ๘ มีข้อห้าม ๘ ข้อเหมือนกัน
๒. คำอาราธนา (ขอศีล) แตกต่างกัน
๓. อุโบสถศีล มีวันพระเป็นแดนเกิด สมาทานรักษาได้เฉพาะ วันพระเท่านั้น ส่วนศีล ๘ สมาทานรักษาได้ทุกวัน
๔. อุโบสถศีล มีอายุ ๒๔ ชั่วโมง (วันหนึ่งคืนหนึ่ง) ส่วนศีล ๘ ไม่มีกำหนดอายุในการรักษา
๕. อุโบสถศีล เป็นศีลสำหรับชาวบ้านผู้ครองเรือน หรือเป็นศีล ของชาวบ้านผู้บริโภคกาม (กามโภคี) ส่วนศีล ๘ เป็นศีลสำหรับ ชาวบ้านผู้ไม่ครองเรือน เช่น แม่ชี
นิรทุกข์
 
จำนวนผู้ตอบ: 559
สมัครสมาชิก: Sat Mar 13, 2010 7:46 pm

กลับไปหน้า ธรรมเพื่อชีวิต

ผู้ที่กำลัง online

ผู้ที่กำลังอ่าน forum นี้: สมาชิก ไม่มีสมาชิก และ ผู้เยี่ยมชม 2 คน

cron