ชีวิตแลกธรรม

เพื่อสนทนาธรรม และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อความเป็นกัลยาณมิตร กัลยาณธรรมที่ดีต่อกัน

ชีวิตแลกธรรม

Postโดย wiweksikkaram.hi5 » Sat Jul 03, 2010 11:31 pm

กว่าจะได้ธรรมมาสอนโลกเอาชีวิตเข้าแลกธรรม
พระหลวงตามหาบัว ผู้เปิดเผยความจริงของธรรมที่พ่อครูอาจารย์ทุก ๆ พระองค์ปิดบังไว้เสมือนโลกให้เห็นนิพพาน ทุกข์ ปฏิปทา บรมสุข
พระหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
“คราวนี้จะเอาให้เต็มเม็ดเต็มหน่วย เต็มเหตุเต็มผล เอาเป็นเอาตายเข้าว่าเลย อย่างอื่นไม่หวังทั้งหมด หวังความพ้นทุกข์อย่างเดียวเท่านั้น จะให้พ้นทุกข์ในชาตินี้แน่นอน...ขอแต่ท่านผู้หนึ่งผู้ใดได้ชี้แจงให้เราทราบเรื่องมรรคผลนิพพานว่ามีอยู่จริงเท่านั้น เราจะยอมมอบกายถวายชีวิตต่อท่านผู้นั้นและมอบกายถวายชีวิตต่ออรรถต่อธรรมด้วยข้อปฏิบัติอย่างไม่ให้อะไรเหลือหลอเลย ตายก็ตายกับข้อปฏิบัติ ไม่ได้ตายด้วยความถอยหลังจิตปักลงเหมือนหินหัก”
เมื่อได้มาศึกษากับพระอาจารย์มั่นได้เห็นข้อปฏิบัติ และคุณธรรมของท่าน “...ไม่เห็นมีสิ่งใดจะคลาดเคลื่อนจากหลักธรรมหลักวินัยข้อใดเลย ปฏิปทาการดำเนินของท่านก็มีแบบมีฉบับมีตำรับตำราหาที่คัดค้านที่ต้องติมิได้ การพูดอะไรตรงไปตรงมา แม้การแสดงเรื่องมรรคผลนิพพานก็แสดงชนิดถอดออกมาจากใจท่านแท้ ๆ ที่ท่านรู้ท่านเห็นท่านปฏิบัติมา ทำให้ผู้ฟังฟังด้วยความถึงใจ เพราะท่านแสดงเหมือนว่าท้าทายความจริงของธรรม...” ทำให้ตั้งใจแน่วแน่ว่า “ต้องจริงซี่ ถ้าไม่จริงให้ตาย อย่าอยู่ให้หนักศาสนา และหนักแผ่นดินต่อไป” ...เร่งความเพียรอย่างเต็มเหนี่ยวยิ่งกว่าธรรมดา นั่งสมาธิตลอดรุ่ง “...เหมือนกับก้นมันพองหมดกระดูก เหมือนจะแตกทุกข้อทุกท่อนกระดูกมันต่อกันตรงไหน หรือแม้แต่ข้อมือก็เหมือนมันจะขาดออกจากกัน ทุกขเวทนาความเจ็บปวดเวลาขึ้น มันขึ้นหมดทุกสิ่งทุกอย่างทุกแง่ ทุกมุมในร่างกายเลย...หากวันไหนที่หักโหมเต็มที่แล้วจิตมี่สามารถได้ง่าย ๆ วันนั้นมันแพ้ทางร่างกายมาก บอบช้ำมาก คือในเวลานั่งจะแสบก้นเหมือนถูกไฟเผา...นั่งไป ๆ ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ๆ พิจารณายังไงก็ไม่ได้เรื่อง เอ๊ะ มันยังไงกันนี่วะ! เอ้า วันนี้ตายก็ตาย เลยตั้งสัจอธิษฐานในขณะนั้นเริ่มนั่งตั้งแต่นี้ไปจนถึงสว่างก็จะลุก เอ้า เป็นก็เป็น ตายก็ตาย! ...เปียกหมดตัวเลย เพราะมันจะตาย มันไม่ใช่เหงื่อละ ภาษาภาคอีสานเขาเรียก ยางตาย...จากนั้นฟาดกันเลยทีเดียว จนกระทั่งจิตซึ่งไม่เคยพิจารณา ปัญญายังไม่เคยออกแบบนั้นนะ แต่พอเวลามันจนตรอกจนมุมจริง ๆ โอ๋ยปัญญามันไหวตัวทันเหตุรู้เท่ากาย รู้เรื่องจิต ต่างอันต่างจริง มันพรากกันลงอย่างหายเงียบเลย ทั้ง ๆ ที่เราไม่เคยเป็นอย่างนั้นมาก่อนเลย การหายในความรู้สึก ทุกขเวทนาดับหมด เหลือแต่ความรู้ที่สักแต่ว่า ไม่ใช่รู้เด่น ๆ ชนิดคาด ๆ หมาย ๆ ได้นะ คือ สักแต่ว่ารู้เท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนที่สุดอัศจรรย์ที่สุดในขณะนั้น... “ข้าวไม่กินภาวนายิ่งดี หลายวัน ๆ ถึงกินทีหนึ่ง สมาธิก็แน่ว ปัญญาก็คล่องตัว...ด้วยเหตุนี้เอง ทั้งที่ทุกข์แสนทุกข์ทั้งที่ลำบากแทบเป็นแทบตาย บางครั้งแทบเอาชีวิตไม่รอด แต่ความที่จิตมีความเจริญ ๆ ขึ้นท่านจึงยอมอดทนได้ จนร่างกายซูบผอมเหลือแต่หนังหุ้มกระดูก ตัวก็เหลืองซีด...เมื่อพระอาจารย์มั่นเห็นตะลึงถึงขนาดอุทานว่า โฮ้! ทำไมเป้นอย่างนี้ล่ะ! และพุดให้กำลังใจทันทีว่า มันต้องอย่างนี้ซิ จึงเรียกว่านักรบ...ถือความทุกข์เป็นครู เป็นหินลับสติปัญญา...เราไปอยู่ในที่ดัดสันดานจริง ๆ นะ...ป่าก็ป่าเสือ บางทีเสียงเสือร้องอาว ๆ ขึ้นแล้ว อาว ๆ ขึ้นข้างทางจงกรม...ชนะความกลัวด้วย พุทโธ”
ธรรมคืออะไร คำบริกรรมนั้นแลคือบทแห่งธรรม...ธรรมแท้จะปรากฏที่จิต ที่จิตกำลังบริกรรมอยู่นั้นแหละคือสะสมพลังของธรรมให้เกิดขึ้นที่ใจ หนุนใจให้มีความหนาแน่นมากขึ้น ๆ แน่นเหมือนกับหินทั้งก้อน หรือภูเขาทั้งลูก...คำว่ากลัวไม่กลัวทั้งนั้น ต่อมาท่านก็เร่งทางด้านปัญญา เร่งทางกายนี้ก่อน พิจารณาอสุภะนี่มันคล่องแคล่วแกล้วกล้า มองดูอะไรทะลุไปหมด ไม่ว่าจะหญิงจะชายจะหนุ่มจะสาวขนาดไหน มองดูมีแต่หนังหุ้มกระดูก มีแต่เนื้อหนังแดงโร่ไปหมด...
ไปวิเวกดินธุดงค์...พักอยู่ในป่าชาวบ้านล้มป่วยด้วย โรคเจ็บขัดในหัวอก ดาดาษกันไปหมดเหมือนโรคอหิวาต์ หรือฝีดาษ บางวันตายถึงวันละ ๗ – ๘ คน...จนสุดท้ายโรคนี้ก็มาเป็นขึ้นกับตัวท่านเอง...ท่านตั้งใจจะขึ้นเวทีต่อกรกันกับทุกขเวทนาของโรคนี้ในคืนนี้ ชนิดจะให้ถึงเหตุถึงผลถึงพริกถึงขังเป็นถึงตายเลขทีเดียว จากนั้นก็เข้าที่ภาวนา โหมกำลัง สติปัญญาหมุนเข้าพิจารณาทุกเวทนาในหัวอกนี้ว่าเป็นยังไง...มันก็เป็นทุกข์ธรรมดานี้เอง...พอเต็มที่เห็นประจักษ์เวลาถอนนี้ถอนอย่างประจักษ์เช่นเดียวกับทุกเวทนาจากการนั่งตลอดรุ่ง จิตรอบด้วยปัญญา ทุกขเวทนาถอนแบบเดียวกัน ถอนออกจนโล่งหมดเลย หายเงียบไม่มีอะไรเหลือ ว่างไปหมดเลยเหมือนกับร่างกายไม่มีอะไร จึงแน่ใจว่าตายแล้วทีนี้ โรคนี้หายแก้กันด้วยอริยสัจ
ปีที่ ๙ แห่งการปฏิบัติ...วัดดอยธรรมเจดีย์ สภาวธรรมในคืนนั้น “ก็พิจารณาจิตอันเดียว ไม่ได้กว้างขวางอะไร เพราะสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นส่วนหยาบมันรู้หมด รูป เสีย กลิ่น รส เครื่องสัมผัสทั่วโลกธาตุ มันรู้หมด เข้าใจหมด และปล่อยวางหมดแล้ว มันไม่สนใจพิจารณาแม้แต่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณยังไม่ยอมสนใจพิจารณาเลย มันสนใจอยู่เฉพาะความรู้ที่ เด่นดวงกับเวทนาส่วนละเอียดภายในจิตเท่านั้น สติปัญญาสัมผัสสัมพันธ์อยู่กับอันนี้ พิจารณาไปพิจารณามา แต่ก็พึ่งทราบว่าจุดที่ว่านี้มันยังเป็นสมมติมันจะสง่าผ่าเผย อวิชชายังมีอยู่ในนั้น อวิชชา นั้นคือตัวสมมุติ จุดแห่งความเด่นดวงนั้นก็แสดงอาการลุ่ม ๆ ดอน ๆ ตามขั้นแห่งความละเอียดของจิตให้เราเห็นจนได้ บางทีมีลักษณะเศร้าบ้างผ่องใสบ้าง ทุกข์บ้างสุขบ้าง ตามขั้นละเอียดของจิตภูมินี้ให้ปรากฏพอจับพิรุธได้อยู่นั้นแล สติปัญญาเข้ามาที่นี่ มันไม่จ่อ มันส่งไปที่อวิชชาหลอกไปโน้นจนได้
อวิชชานี้แหลมคมมาก ไม่มีอะไรแหลมคมมากยิ่งกว่าอวิชชาซึ่งเป็นสุดท้าย...สติปัญญาก็หยั่งทราบว่าจิตที่ถูกอวิชาครอบงำอยู่นั้นว่า เป็นสมมุติที่ควรปล่อยวางโดยถ่ายเดียว ไม่ควรยึดถือเอาไว้...ขณะจิต สติ ปัญญา ทั้งสามเป็นอุเบกขามัธยัสถ์นั้นแล เป็นขณะโลกธาตุภายในจิต อันมีอวิชชาเป็นผู้เรืองอำนาจ ได้กระเทือนและขาดสะบั้นบรรลัยลงจากบัลลังค์ คือใจกายเป็นวิสุทธิจิต ขึ้นมาแทนที่ ในขณะเดียวกันกับอวิชชาสะบั้นหั่นแหลกแตกกระจายหายซากลงไปด้วยอำนาจสติปัญญาที่เกรียงไกร ขณะที่ฟ้าดินถล่มโลกธาตุหวั่นไหว (โลกธาตุภายใน) แสดงมหัศจรรย์ขั้นสุดท้ายปลายแดน ระหว่างสมมุติกับวิมุตติตัดสินความบนศาลสถิตยุติธรรม โดยวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผู้ตัดสินคู่ความ โดยฝ่ายมัชฌิมาปฏิปทา มรรคอริยสัจเป็นฝ่ายชนะโดยสิ้นเชิง ฝ่ายสมุทัยอริยสัจเป็นฝ่ายน็อคแบบหามลงเปล ไม่มีทางฟื้นตัวตลอดอนันตกาลสิ้นสุดลงแล้ว เจ้าตัวเกิดความอัศจรรย์ล้นโลก อุทานออกมาว่า “โอโห้ ๆ ...อัศจรรย์หนอ ๆ แต่ก่อนธรรมนี้อยู่ที่ไหน ๆ มาบัดนี้ ธรรมแท้ธรรมอัศจรรย์เกินคาดเกินโลก มาเป็นอยู่ที่จิต และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับจิตได้อย่างไร...และแต่ก่อนพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์สาวกอยู่ที่ไหน ? มาบัดนี้องค์สรณะที่แสนอัศจรรย์มาเป็นอันเดียวกับจิตดวงนี้ได้อย่างไร...โอ้โห ธรรมะแท้ พุทธะแท้ สังฆะแท้ เป็นอย่างนี้หรือ
หนังสือ “หยอดน้ำบนใบบัว” (หน้า ๕๕, ๗๗, ๑๐๑, ๑๑๒, ๑๓๓, ๑๔๑)

พระหลวงปู่ขาว อนาลโย
เผชิญกับช้างป่าตัวใหญ่เท่าถูเขาลูกย่อม ๆ ในขณะที่ท่านเดินจงกรม เอาจิตน้อมระลึก พุทโธ อย่างเหนียวแน่น เป็นองค์ประกันชีวิตเท่านั้น พุทโธ กับจิตกลมกลืนเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน ส่วนช้างตัวนั้นก็เดินมายืนเป็นชั่วโมงเศษ ๆ มันจึงได้กลับหลังหันเดินออกไป
อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่ขาว (หน้า ๑๓) รักษาด้วยธรรมโลก เป็นไข้มาลาเรียนตลอดพรรษา ทุกข์ทางร่างกายมาก ท่านไม่เยื่อใยกับสิ่งใดนอกจากความเพียรอย่างเดียว ขณะนั่งภาวนาได้พิจารณาว่า ข้าวในไร่กำลังสุกเหลืองอร่าม มันงอกขึ้นเพราะมีอะไรเป็นเชื้อพาให้เกิด...ใจ ที่พาให้ เกิด ตาย อยู่ไม่หยุด มีอะไรเป็นเชื้อของใจ ถ้าไม่ใช่ กิเลส อวิชชาตัณหาอุปทาน... พิจารณาตั้งแต่หัวค่ำไม่ลดละจวนสว่างจึงตัดสินใจกันลงได้ด้วยปัญญา... การพิจารณาจิตก็มาจุติกันที่อวิชชาดับ
ปฏิปทาของพระธุดงค์กรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูวิทัตโต (หน้า ๑๘๓)
เจ้าคุณมหาไข เปรียญ ๖ ประโยค อยู่จังหวัดหนองบัวลำภู ไม่ไปภาวนา...ผีจะฆ่าเอาให้ตาย...สมัยนั้นมีผีใหญ่ตัวหนึ่งอยู่วัดมหาชัย มันก็ไปคำคอ กำเอา จะฆ่าทิ้ง บวชมาถึง ๔๗ พรรษา ไม่ได้รับผลอะไรสักอย่างในศาสนา...ผีมันกำคอแน่นเข้า ๆ จนจะตาย ถ้าไม่ไปภาวนามันจะเอาให้ตาย...ท่านจึงยอม พอเช้าจึงไปวัดถ้ำกลองเพล ก็มอบตัวให้หลวงปู่หลุย และหลวงปู่ขาว “ขอให้ท่านช่วยสอนในด้านสมถวิปัสสนา เดินภาวนา ยืนภาวนา นั่งภาวนาทำอย่างไร แต่คืนนี้ผมไม่เดินหรอก กลัวเสือและกลัวช้าง จะเอาแต่นั่ง” “เออดี ไม่เป็นไร เอาคืนยืนรุ่งนะ” แล้วท่านก็บอกวิธีให้ “นั่งเข้าที่เอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ทำกายให้ตรง ดำรงสติให้มั่นเฉพาะหน้า ปล่อยวางความอยากและอุปทานปล่อยวางหมดเสียสิ้น ทำใจให้เหมือนดินและน้ำ หรือผ้าเช็ดเท้า หายใจเข้า พุท ออก โธ เท่านั้น อย่าส่งจิตไปอื่น นั่งคืนยังรุ่งนั้นแหละ ถ้านอนแสดงว่าเป็นคนขี้เกียจขี้คร้าน มาเลี้ยงกิเลส
ท่านเจ้าคุณก็เจริญในคืนนั้น มีนกเค้าไฟมันมาร้องว่า “อ๊ด...อ๊ด...อ๊ดเถิด” แหม...ถึงใจ ธรรมะนี้มันถูกกับความอดทนเป็นตะปะ แผดเผาเสียซึ่งกิเลส จิตก็เลยรวมใหญ่ ลงถึงฐานอุปจารสมาธิ ค้นคว้าในกายนี้เกิด แก่ เจ็บ ตาย ถึงสภาพตายก็ตายพึ้บ ท่านก็เพ่งอืดพองเปื่อยเน่าขึ้น เห็นแจ้งชัด ท่านก็ใช้ปัญญาถอนสังโยชน์ ๓ ขนาดจากใจทีนี้ ความหิวโหยอยากนอนไม่มี กลัวเสือ กลัวช้าง ไม่มี จิตของท่านสว่างผ่องใส น้ำตาไหลคืนยันรุ่ง คิดว่าพึ่งได้บวชวันนี้คืนนี้ แต่ก่อนนี้บวชเป็นโมฆะ ถึงได้เปรียญ ๖ ก็เป็นโมฆะ ๔๗ พรรษก็เป็นโมฆะ... “สาธุ อะโห พุทโธ ธัมโม สังโฆ ข้าพเจ้าเป็นคนประมาท...นึกประมาทแล้วหลวงปู่เสาร์หลวงปู่มั่น หรือหลวงปู่ใดก็ดี หลาย ๆ องค์หลวงปู่ที่ท่านเที่ยวธุดงธ์ภาวนา ประมาทว่าไปนั่งหลับหูหลับตาอยู่ในป่าเขาลำเนาไพรนั้น หาว่าอวดดี และว่าจะได้รู้วิชาอะไร เราเรียนเราจึงได้ นั้นแหละ...ประมาทไปแล้วเพราะความไม่รู้ ขอขมาโทษอย่างให้เป็นบาปเป็นกรรม จะได้ปฏิบัติบูชาคุณท่าน ทั้งหลายตลอดชีวิตไปจนวันตาย”
ต่อมาในฤดูแล้ง ปีนั้นท่านเจ้าคุณก็ป่วยหนักเป็นโรคตับ ไต เป็นมะเร็ง หมอบอกว่าไม่ไหวแล้วจะสิ้นลมโดยเร็วให้กลับบ้าน... พระหลวงปู่ขาวได้ให้โอวาทแบบแนวทางว่า “ตั้งใจดี ๆ นะ อารมณ์อดีต อนาคต ปล่อยวางให้หมด เอาปัจจุบันธรรม พิจารณาทุกข์ ทุกลมหายใจเข้าออก เกิดก็ทุกข์ มีแต่ทุกข์ทั้งนั้น ในโลกทั้ง ๓ นอกจากทุกข์ไปแล้วไม่มี นั้นแหละ มีสติ ปัญญา กำกับจิตให้ทุกข์อย่างนั้น จิตมันจะรื้อถอนเครื่องร้อยรัด อวิชชา ตัณหา สังโยชน์ ปัจจัยให้หมดเสียสิ้น ในขณะนั้นนั่นแหละ พระอริยสัจเจ้าทั้งหลายในครั้งพุทธกาลโน้น ท่านก็ได้สำเร็จอรหันต์ในขณะที่เจ็บป่วยก็มาก ได้สำเร็จอรหันต์ในระยะสิ้นลมหายใจก็นับไม่ถ้วน” แล้วท่านก็กลับวัด คืนนั้นหลวงปู่ขาวไม่นอนนะภาวนาเพ่งดู ช่วยอยู่...
ท่านเจ้าคุณก็ตั้งใจภาวนา เมื่อจะสิ้นลมในคืนนั้น ปัญญาเกิดขึ้นเห็นพร้อมว่า “เรามาอยู่กับกองทุกข์ ดับทุกข์ ไปก็ทุกข์ ไปโลกหน้าก็ทุกข์ มาแต่ก่อนก็ทุกข์” ท่านก็เลยปล่อยวางสังโยชน์ ปัจจัย ๑๐ หมดสิ้นกิเลสในระยะนั้น พอสิ้นกิเลสพึ้บก็รู้แจ้งว่าสิ้น...
๘๐ ปี หลวงปู่ขาว ถาวโร (หน้า ๑๑๔)
พระอาจารย์เสถียร สมาจาโร
เมื่อบวชใหม่ ๆ จิตใจฟุ้งซ่าน รำคาญมาก ท่านให้หมู่เพื่อนมัดแขนมัดขาไว้กลางป่าในท่านั่งสมาธิถึง ๓ วัน ๓ คืน ท่านเล่าว่า เวทนาเกิดขึ้นมาก ท่านจึงกำหนดความตายเป็นอารมณ์ จิตจึงวางเวทนาแม้แต่สังขารก็วาง เหลือแต่ความรู้ที่สว่างอยู่เฉย ๆ ไม่รู้นานเท่าไรจิตถึงถอนออก เมื่อครบ ๓ วันแล้วหมู่เพื่อนจึงมาแก้มัดออก ปรากฏว่าตรงฝ่ามือและขาที่ซ้อนกันนั้นมีลักษณะเหมือนไฟไหม้
คราวหนึ่งไข้อย่างหนัก หนาวสั่น ท่านจึงสั่งให้ชาวบ้านตัดลำไม้ไผ่มาผูกเป็นแพเล็ก ๆ แค่นั่งคนเดียวแพก็เกือบจะล่มแล้ว ท่านจึงขึ้นไปนั่งบนแพ ปล่อยแพให้ลอยอยู่กลางหนองน้ำ นั่งภาวนาตากแดดตากฝน ลอยน้ำอยู่ทั้งวันทั้งคืน จนอาการดีขึ้น ท่านว่า “มันอยากเป็นไข้นี่ ถ้าควบคุมตัวองไม่ได้ กระดุกกระดิกก็ให้แพล่มจมล้ำไปเลย” บางครั้งธุดงค์ไปยังที่ต่าง ๆ ที่เหมาะกับการบำเพ็ญภาวนาอยู่เสมอทั้งทางภาคเหนือ ภาคอีสาน ตะวันออก ตะวันตก พม่า เรื่องบริขารของท่าน ๆ จะไม่กระตือรือร้น ท่านมักจะใช้ของขาด ๆ เก่า เพียงแต่ไม่ผิดพระธรรมวินัยเป็นอันใช้ได้
แม้ใกล้วาระสุดท้ายที่อาพาธอย่างหนักด้วยโรคมะเร็งในต่อมน้ำเหลือง เวทนาจะกล้าสักเพียงใดก็ตามท่านก็ยังคงปฏิบัตินั่งสมาธิบ้างตามกำลังไม่ฉันยาแก้ปวด
หนังสือ สมาจารโรรำลึก ที่ระลึกในโอกาสครบรอบ ๒ ปี
วันมรณภาพพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร ๕ เมษายน ๒๕๓๘ (หน้า ๑๓๑ – ๑๓๓)
หลวงปู่คำตา ทีปังกโร
ท่านสอนตัวเองเสมอว่า “เราบวชตอนแก่ จะต้องทำความเพียรเต็มความสามารถ ไม่ว่าอิริยาบถใด ท่านทำความสงบได้ไม่ยาก” ท่านว่ามันน่าเบื่อหน่ายในสังขาร พอตั้งสติก็ต่อสู้กับกิเลส ไม่อาลัยในชีวิต ทุกข์เราก็ทุกข์มาตั้งแต่เกิด ทุกข์เพราะการภาวนาถึงจะหนักขนาด เราก็ต้องอดทน จะตายก็ขอให้ตายในภาวนา ดีกว่าตายเพราะการทำความชั่ว ปลุกใจตัวเองให้สู้กับกิเลสตัวพาให้จิตใจอ่อน ท้อแท้ บางครั้งป่วยเป็นไข้มาลาเรีย จับไข้ กำหนดจิตสงบนิ่งไม่มีอะไร มีแต่ความรู้เด่นอยู่
“บวชตอนแก่ ต้องทำความเพียร แข่งกับความตาย ซึ่งไม่รู้วันไหนจะตายจากโลกนี้” ท่านมีความเด็ดเดี่ยวมากในการทำความเพียร บางคืนนั่งภาวนาจนสว่าง บางคืนเดินจงกรมตลอดคืน จิตหมุนตลอดเวลาในการทำความเพียรภาวนา ดูความเคลื่อนไหวของจิต ความคิด ความปรุงแต่งใน รูป – เสียง – สัมผัส – กาย – ใจ – ตา ตัวจริงอยู่ในจิตใจไม่ใช่ภายนอกจิตนี้ไม่เคยตาย แตกสลายเพียงธาตุขันธ์ จิตเป็นผู้เวียนว่ายตายเกิดกิเลสมีอยู่ในจิตใจ สติเป็นเครื่องมือสกัดกั้นกิเลส ปัญญาพิจารณาหาเหตุและผล กำหนดดูร่างกาย ปิฎกทั้ง ๓ คัมภีร์ มีอยู่ในกาย อย่าเหินห่างจากธรรมวินัย อดทนต่อสู้ พระพุทธเจ้าเป็นยอดนักรบพวกเราเป็นบุตรนักรบต้องรบจนเลือดหยดสุดท้าย”
ทีปังกโรเจติยานุสรณ์ วัดป่าภูคันจ้อง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี (หน้า ๕, ๙, ๓๓)

หลวงปู่ดุลย์ อุตโล
ขอให้ท่านทั้งหลายจงสำรวจดูความสุขว่า ตรงไหนที่ตนเห็นว่ามันสุขที่สุดในชีวิต ครั้นสำรวจแล้วมันก็แค่นั้นแหละ แค่ที่เราเคยรู้เคยพบมา แล้วนั่นเอง ทำไมจึงไม่มากกว่านั้น มากกว่านั้นไม่มี โลกนี้มีอยู่แค่นี้เอง แล้วก็ซ้ำ ๆ ซาก ๆ อยู่แค่นั้น เกิดแก่เจ็บตายร่ำไป มันจึงน่าจะมีความสุข ชนิดที่พิเศษกว่า ประเสริฐกว่านั้น ปลอดภัยกว่านั้น พระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านจึงสละสุขส่วนน้อยนั้นเสีย เพื่อแสวงหาสุขอันเกิดจากความสงบกาย สงบจิต สงบกิเลส เป็นความสุขที่ปลอดภัยหาสิ่งใดเปรียบมิได้เลย
หนังสือ “อาจาริยธัมโมทยาน” (หน้า ๗๔)
ท่านธุดงค์ปฏิบัติความเพียรอย่างอุกฤษฏ์แรงกล้า บริเวณแห่งนั้นเป็นสถานที่ทุรกันดาร เกลื่นกล่นไปด้วยสัตว์ป่าที่อำมหิดุร้าย ไข้ป่าเล่าก็ชุกชุมตอนนี้ท่านก็เป็นไข้ป่าแล้ว ครั้นได้สำเหนียกรู้ว่า มฤตยูกำลังคุกคามอย่างแรงทั้งหยุกยาที่จะรักษาก็ไม่มี จึงเตือนตนว่า “ถึงอย่างไร ตัวเราก็ไม้พ้นเงื้อมมือของความตายในพรรษานี้เป็นแน่แล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้นเราจักตายก็จงตายในสมาธิภาวนาเถิด” จึงปรารภความเพียรอย่างเอาเป็นเอาตาย ตั้งสติให้สมบูรณ์พยายามดำรงจิตให้อยู่ในสมาธิอย่างมั่นคงทุกอิริยาบถ พร้อมทั้งพิจารณาความตาย คือ มรณะสติกัมฐาน เป็นอารมณ์ไป โดยไม่ย่อท้อพรั่นพรึงต่อมรณะภัยที่กำลังคุกคาม จะมาถึงในไม่ช้าเลยและแล้วในขณะนั้นเองแสงแห่งพระธรรมเกิดขึ้น ปรากฏแก่จิตของท่านอย่างแจ่มแจ้ง จนสามารถแยกจิตกับกิเลสออกจากกันได้ รู้ชัดได้ว่าอะไรคือจิต อะไรคือกิเลส จิตปรุงกิเลส หรือ กิเลสปรุงจิต และเข้าใจสภาพเดิมแท้ของจิตที่แท้จริงได้ จนรู้ว่ากิเลสส่วนไหนละได้แล้ว ส่วนไหนยังละไม่ได้...จึงอยากออกพรรษาโดยเร็วเพื่อจะได้ไปนมัสการพระอาจารย์มั่น และกราบเรียนถึงผลการปฏิบัติทั้งรับคำแนะนำทางปฏิบัติที่ยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก
ครั้นออกพรรษาแล้ว...พระอาจารย์มั่นเมื่อได้ทราบเรื่องราวในการภาวนาท่านว่า “เก่งมาก ฉลาดมาก ที่สามารถรู้จักกิเลสของตนเอง และปฏิบัติที่ผ่านมาก็เป็นการถูกต้องดีแล้ว...ให้เอาข้อนี้ไปพิจารณาต่อไปอีกโดยบอกเป็นบาลีว่า สพพสญญา อนตตา” หลังจากได้รับคำแนะนำแล้ว ก็รีบปลีกตัวไปบำเพ็ญทางจิตพร้อมทั้งพิจารณาคติธรรมที่ได้มา ในที่สุดก็ได้รู้แจ้งในธรรมนั้น คือ ปฏิจจสมุปบาทตลอดสายในแวบเดียวเท่านั้นว่า สังขารทั้งหลายเกิดจากความคิดปรุงแต่ง เมื่อละสังขารได้ ความทุกข์ดับหมดตลอดสายปฏิจจสมุปบาทก็ขาดเพียงเท่านี้เอง
ชีวประวัติธรรมานุสรณ์ ของพระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดลย์ อตุโล) หน้า ๑๔, ๑๖

หลวงปู่บุดดา ถาวโร
“กรรมฐานทั้งหลายกำจัดกิเลสได้ทุกประเภท ไม่ต้องเลือกว่าสูตรไหนบทไหน ทำให้จิตใจไม่เศร้าหมองได้ทั้งนั้น คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีจริงอยู่ทุกเมื่อที่ใจของเรา ผู้ปฏิบัติต้องมีสติเพ่งบริกรรมอยู่ที่เราเสมอ เดิน ยืน นั่ง นอน ทุกลมหายใจเข้าออก...”
หนังสือ “บทสวดมนต์ หลวงปู่บุดดา ถาวโร” (หน้า ๔)

พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ
“การสู้รบตบมือกับกิเลสนั้น เป็นสิ่งที่ละเอียดและทำได้ยาก แต่ถ้าไม่มีการต่อสู้กิเลสที่มันย่ำยีตัวเราอยู่นั้น ก็เท่ากับพวกเราไม่ได้ทำอะไรให้เป็นประโยชน์แก่ตัวเอง ถึงแม้พวกเราจะบวชเข้ามาอยู่ใกล้พุทธองค์ก็จะไม่มีความหมาย นักบวชที่แท้จริงนั้นต้องเป็นผู้ต่อสู้ หรือปราบปรามกับกิเลส ถ้าเราไม่มีการต่อสู้กับมัน ปล่อยให้มันย่ำยีเราแต่ฝ่ายเดียวนั้น ตัวเราเองจะย่ำแย่ลงไปทุกที ผลสุดท้ายเราก็เป็นผู้แพ้ยอมเป็นทาสรับใช้ของกิเลสใช้กรมไม่ได้”
“ต้องใช้ความอดทนอย่างใหญ่หลวง จนเอาชนะกิเลสทั้งหลายทั้งปวง พวกท่านทั้งหลายเมื่อเข้ามาอยู่ป่าแล้ว ก็ได้ชื่อว่าทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่นิยมอยู่บ้าน คลุกคลีด้วยหมู่ เพราะการคลุกคลีด้วยหมู่ จิตของเราจะไหลไปสู่อารมณ์ต่าง ๆ ได้ง่าย โอกาสที่จะทำให้จิตเป็นสมาธิ หรือทำให้จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งนั้นยากเหลือเกิน”
การทำความเพียรเพื่อทำลายกิเลส...ถึงจะยากแค่ไหนก็ต้องฝืน มันจะต้องลำบากทุกสิ่งทุกอย่าง การกินก็ลำบาก อดมื้อกินมื้อก็ต้องยอมอด อดเพื่อปราบกิเลส กิเลสมันก่อตัวมานานแสนนาน หลายกัปหลายกัลป์มาแล้ว จนเราสาวหาตัว ต้นตอ โคตร เหง้า ของมันไม่พบ นี่แหละท่าน จึงสอนให้อยู่ป่าหาที่สงัด สละเป็น สละตาย...
หนังสือ “อาจาริยธัมโมทยาน” (หน้า ๗๙)

พระหลวงปู่สิม พุทธาจาโร
ถ้าตั้งใจจริง ย่อมมีเวลาภาวนา “ความไม่ตั้งใจนั่นแหละทำให้ไม่มีเวลา ถ้าใจตั้งใจได้ก็มีเวลา ในสมัยพุทธกาลทานไม่เลือกชั้นวรรณะ ไม่เลือกว่าเวลาเช้า สาย บ่าย ค่ำ กลางวัน กลางคืน เมื่อระลึกได้ที่ไหน ท่านก็ระลึกภาวนาในที่นั้น ๆ เจริญระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ สิ่งใดที่มันดีมีประโยชน์ก็ชื่อว่านำมาสอนตัวสอนใจได้ทั้งนั้น”
ปลุกเสกหัวใจของตนเอง “ไม่ได้มายึดมั่นถือมั่นในรูปกายนั้นดับกิเลสสราคะ โทสะ โมหะ แล้วดับความร้อนทั้งหลายแหล่แล้วไม่มีเรื่องเดือดร้อนวุ่นวายอีก แต่ก็ยังยืนเดินไปมา พูดจาปราศรัย แสดงธรรมเทศนา ช่วยโลกไปจนดับขันธ์”
หนังสือ พิจารณาตัวเราให้เห็นเป็นกระดูก ๓๐๐ ท่าน
ของ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร (หน้า ๔๘, ๕๐)
หลวงปู่ตื้อ อจลธมโม
“คนเรานี้เป็นบ้าเป็นบอคอยาว ตาขาว ลิ้นยาว ใช้ไม่ได้ ส่วนพระธรรมคำสั่งสอนเกิดจากหัวใจของพระพุทธเจ้าเกิดจากพระอรหันต์ทั้งหลาย ทำไมพวกเราทั้งหลายและพวกท่านทั้งหลายจึงไม่รู้ ทำไมเราจึงไม่เห็น ถ้าเราเป็นพระอรหันต์ เป็นพระโสดาบัน เป็นพระอนาคามีเมื่อใด ก็เมื่อนั้นแหละจึงจะเห็นจะรู้ที่อยู่พระพุทธเจ้าที่อยู่ของพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย”

พระหลวงปู่สาม อกิญจโน
บุคคลผู้เกิดมาในโลกนี้เหมือนกันไปหมด ชื่อว่าตกอยู่ในภัยแห่งสงครามธรรมชาติ สงครามธรรมดา เต็มเปี่ยมแน่นหนาอยู่ด้วยกองทุกข์น้อยใหญ่ทั้งโดยตรงทั้งโดยอ้อมมีพร้อมทั้งมูลราก คือตัณหา ตัณหาคือความเป็นทุกข์ บุคคลผู้ไร้ปัญญายากจะปลดปลงตนและบรรเทาให้เบาบางหรือเหือดหายไปก็เป็นของยาก...ส่วนผู้ปฏิบัติบำเพ็ญได้ครบบริบูรณ์ในชั้นต้นก็ต้องเป็นสามัญชนเช่นเดียวกัน ให้ขยับจากสามัญภาพเป็นอริยภาพจนถึงพระสัมมาสัมพุทธ ประดุจนักรบอย่างเชี่ยวชาญในสงครามย่อมได้ใจหาญตามสมควรแก่คุณภาพนั้น ๆ ข้อสำคัญก็อยู่ที่ตั้งใจอบรมกำระทำจริงหรือไม่เท่านั้น
หนังสือ “อาจาริยธัมโมทยาน” (หน้า ๑๒๓, ๑๒๙, ๑๓๔)

พระหลวงปู่กินรี จนทิโย
การเดินธุดงค์ด้วยระยะยาวไกล ต้องทั้งอดทั้งทน บางคราวต้องอดอาหารถึง ๗ วัน ก็ยังเคยมี จนเป็นสิ่งปกติ แม้จะทุกข์ยากลำบากทุกขเวทนาเพียงใดหลวงปู่ยิ่งยึดมั่นในข้อควรปฏิบัติเคร่งครัดหนักยิ่งขึ้น การปฏิบัติต้องทุกอิริยาบถ จะนั่ง จะนอน จะทำสิ่งใดในขณะใด ๆ ต้องมีสติทุกขณะลมหายใจเข้าออก และพระหลวงปู่มั่นได้อบรมสั่งสอนข้อธรรมแก่หลวงปู่กินรี เป็นประจำ มักเอ่ยถาม “กินรี ได้ที่อยู่แล้วหรือยัง?” คำถามของท่านมิได้หมายถึงที่อยู่ในวัดปัจจุบัน ท่านถามถึงส่วนลึกของใจว่ามีสติตั้งมั่นหรือยัง ในขณะที่ท่านนั่งสมาธิบริกรรมภาวนาอยู่นั้น ก็รู้สึกว่าจิตค่อย ๆ สงบเข้าไปทีละน้อย ๆ แล้วปรากฏว่าทั้งร่างกายและเนื้อหนังของท่านได้เปื่อยหลุดออกจากกันจนเหลือแต่ซากของกระดูกอันเป็นโครงร่างที่แท้จริงภายในกายของท่านเอง สิ่งที่ปรากฏในอาการอย่างนั้นมันชวนให้เน่าเปื่อยอย่างยิ่งนัก...และประสบการณ์ในลักษณะนี้ได้เกิดกับท่านอีกในขณะที่ภาวนาอยู่นั้นได้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นในตัว เปลวเพลิงได้ลุกลามพัดไหม้ทั่วร่างในที่สุดก็เหลือแต่ซากกระดูกที่ถูกเผา และคิดอยู่ที่นั้นว่าร่างกายคนเราจะสวยจะงามแค่ไหน ในที่สุดมันก็ต้องถูกเผาอย่างนี้เอง...เมื่อหลวงปู่มั่นได้ถามหลวงปู่กินรีอีก “กินรี ได้ที่อยู่แล้วหรือยัง” หลวงปู่ตอบว่า “ได้แล้วครับ”
อนุสรณ์งานเปิดพิพิธภัณฑ์หลวงปู่กินรี จนทิโย
วัดกันตสิลาวาส จังหวัดนครพนม (หน้า ๗)

พระหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม
“หากสละชีวิตตั้งใจประพฤติปฏิบัติกันจริง ๆ แล้ว พระพุทธศาสนาก็ไม่เป็นของยากลำบากและเหลือวิสัยอะไร ทำได้จนเต็มความสามารถของตนทีเดียว” “กายนี้คือก้อนทุกข์ กายนี้เป็นที่หมายให้พ้นเสียจากทุกข์ ฝึกสติปัญญาให้ดีแล้วมาพิจารณากายนี้ให้แจ้ง ก็จะพ้นทุกข์ได้...”
หนังสือ “อาจาริยธัมโมทยาน” (หน้า ๔๖),
หนังสือ “ธรรมพระบูรพาจารย์” (หน้า ๖)

พระหลวงปู่กงมา จิรปุญโน
“การที่เราต้องการอยากจะพ้นทุกข์ เราต้องเข้าหาทุกข์ ถ้าเรากลัวทุกข์ เราก็พ้นทุกข์ไม่ได้”
หนังสือ “ธรรมพระบูรพาจารย์” (หน้า ๒๖)
หลวงปู่มั่น ท่านบอกลูกศิษย์ฝ่ายมหานิกาย ท่านห้ามไม่ให้ญัตติ ท่านพูดจี้ลงอย่างหนัก ๆ ตั้งแต่ไก่มันก็มีชื่อนี่นะ ตั้งไว้อย่างนั้นแหละ ความถูกต้องโดยอรรถโดยธรรมนี้อยู่ไหน ๆ เข้ากันได้สนิทเลย เพราะธรรมดาโลกเราต้องถือสมมุติคณะนั้นคณะนี้ เมื่อท่านเหล่านี้มาญัตติเสียแล้ว บรรดาเพื่อนฝูงที่เป็นสายเดียวกัน ก็จะเข้าหาลำบาก เพราะฉะนั้นท่านจึงไม่ให้ญาติ เพื่อจะเปิดทางให้ได้เกิดประโยชน์อันกว้างขวาง”
หนังสือ “ชาติสุดท้าย” โดยพระหลวงตาบัว (หน้า ๒๔, ๒๕)
พระหลวงปู่ทองรัตน์ กนตสีโล
“...พระธุดงค์ให้ระวังศีล ตลอดจนอาบัติเล็ก ๆ น้อย ๆ ศีลไม่บริสุทธิ์ เข้าป่า ขึ้นภูเขา เสือกัดตาย ให้ทำตามครูบาอาจารย์บอก ถ้าบ่เห็นพระอรหันต์ ครูบาอาจารย์สิเอาคอเป็นประกัน ถ้าบ่เฮ็ด มัวกอดคัมภีร์อยู่ สิเห็นได้อย่างไร ยังไม่นานดอก คัมภีร์จะล้มทับตาย…”
หนังสือ “ธรรมพระบูรพาจารย์” (หน้า ๘)

พระหลวงปู่บัว สิริปุณโณ
ท่านเร่งความเพียรอย่างหนัก อดข้าว อดนอน นั่งสมาธิตลอดรุ่ง จิตรวมลง ๓ พัก พักที่ ๑ วางลม พักที่ ๒ วางเวทนา พักที่ ๓ วางกาย จนถึงฐานอัปปนาสมาธิอันแน่นแฟ้น นานจนล่วงมาถึงเที่ยงคืน เมื่อจิตถอนขึ้นมาแล้วมันจะถอนก็กำหนดไว้ มันจะรวมลงอีกที่กำหนดไว้อยู่ในระหว่าง ๓ สมาธิ คือ ขณิกสมาธิอุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ ทีนี้ท่านกำหนดอยู่พอควรแล้ว ก็ออกเดินวิปัสสนา พิจารณาเกิดทุกข์ แก่ทุกข์เจ็บทุกข์ ตายทุกข์ ตาบพึ๊บ!!...ตายลงเลย พอตายพึ๊บลงแล้ว โอ้หนอ!...อนิจจา ร่างกายมันตายอะไรที่ว่าเป็นเขาเป็นเราก็หมดทุกอย่าง พอเพ่งไปมันก็พองขึ้นเปื่อยเน่าพอมรณะเกิดขึ้นก่อน อสุภะ เกิดขึ้นที่ ๒ ก็เพ่งได้มรณะ อสุภะ ที่นี้อะไรเป็นเขาเป็นเรา ก็ไม่มี ปัญญาของท่านก็น้อมเข้าหาผู้รู้ คือ ใจ สอนแล้ว ท่านก็เลยถอนด้วยปัญญา ตัดสังโยชน์ ๕ (สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีสัพพตปรามาส กามราคะ และพยาบาท) ขาดออกจากใจได้บรรลุ อนาคามีผลในคืนนั้น
๘๐ ปี หลวงปู่จันทา ถาวโร (หน้า ๘๖)

พระหลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท
“ข้าพเจ้าจะถือเนสัชชิตตลอดทั้งพรรษา ในเวลาค่ำคืนไม่นอน ด้วยพุทธานุภาพ ธัมมานุภาพ สังฆานุภาพ ถ้าแม้นว่าข้าพเจ้าไม่ทำตามสัจจะอันนั้น ๑. ขอให้ฟ้าผ่าตาย ๒. ขอให้แผ่นดินสูบตาย ๓. ขอให้ไฟไหม้ตาย ๔. ขอให้น้ำท่วมตาย...ตายเป็นตาย แต่จะให้สัจจะที่ตั้งไว้ขาดไม่ได้ ไม่ยอม...สัตยาธิษฐานนี้จึงเป็นทางเดินไปสู่มรรคผลแบบท้าทายได้อย่างดียิ่ง”
ขณะไปธุดงค์เข้าป่า เกิดป่วยเป็นไข้มาลาเรียอย่างหนัก ไข้กำเริบขึ้นเรื่อย ๆ อดข้าวภาวนาสู้อยู่ ๒ – ๓ วัน ค่อย ๆ ผ่อนลมหายใจ พิจารณาอยู่อย่างนั้นจนเต็มที่จนจิตลงได้...พอพิจารณาตรงนี้มันดับหมดแล้วเราก็หยุดความคิดคือเรียกว่า “หยุดความค้น” พอจิตวางปั๊ป...จิตมีอิสรภาพอย่างสูงสุด ปล่อยวางสังขารโลก คว่ำวัฏฏจักร แหวกอวิชชา และโมหะอันเป็นประดุจตาข่าย ด้วยการฮุกหมัดเด็ดคือวิปัสสนาญาณเข้าปลายคาง อวิชชาถึงตายไม่มีวันฟื้น พระพุทธเจ้าพระองค์อยู่ที่ใดทราบได้อย่างประจักษ์ใจ คำว่า “ประหนึ่ง” นั้น ไม่มีความหมายใดจะอธิบายต่อได้อีก...
พระหลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ริ้วห่อทอง (หน้า ๖๗, ๒๓๔)

พระหลวงปู่พรหม จิรปุญโญ
สมัยแรกพบกับท่านพระอาจารย์มั่นใหม่ ๆ ท่านแนะให้นั่งสมาธิฝึกจิตเสียก่อน ครั้งเมื่อกำลังจิตแก่เกล้า แล้วเร่งทำความเพียรอย่างหนักหน่วง จึงบังเกิดผลประโยชน์
หลวงปู่พรหมท่านได้ถือภาคแห่งการปฏิบัติธรรมหักโหมขั้นอุกฤษฎ์ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ท่านถือว่าตัวของท่านได้มาอยู่ใกล้กับครูบาอาจารย์ผู้เลิศแตกฉานในทางธรรม จึงเร่งทำความเพียรอย่างเต็มที่ คือ ท่านได้ถืออิริยาบถ ๓ ประการ ได้แก่ ยืน...เดิน...นั่ง...ตลอดไตรมาสไม่ยอมให้หลังแตะพื้น หรือพิงเลย โดยถือคติธรรมของพระอาจารย์มั่นว่า “ธรรมอยู่ฟากตาย ถ้าไม่รอดตายก็ไม่เห็นธรรม เพราะการเสี่ยงต่อชีวิตจิตใจ อันเกี่ยวกับความเป็นความตายนั้น ผู้มีจิตใจมุ่งมั่นต่อธรรมต่อธรรมแดนหลุดพ้น เป็นหลักยึดของพระผู้ปฏิบัติพระกัมฐานจริง ๆ” ฉะนั้นอุปสรรคต่าง ๆ ย่อมได้พบอยู่เสมอ ดังอาจารย์หลาย ๆ องค์ ถ้าแม้จิตใจไม่แน่วแน่มั่นคงจริง ๆ ก็จะทำไมได้ ครูบาอาจารย์ท่านจึงแนะนำให้ปฏิบัติเพิ่มสติกำลังใจให้แก่กล้าจริง ๆ จึงจะทำได้เมื่อถึงคราวเร่งความเพียรก็ย่อมจะได้พบความสำเร็จโดยไม่ยาก...ท่านได้สำเร็จธรรมขั้นสูง ในภาคเหนือนี้เองอันยังประโยชน์ยิ่งใหญ่แก่ตัวท่าน และหมู่ขณะเป็นอันมาก ความทุกข์ที่ต้องทรมานสุดแสนจะทน และมีชีวิตสืบต่อไปวันข้างหน้า เมื่อนึกปลงใจตัวเองแล้ว ก็ดูเหมือนกับว่าสิ่งต่าง ๆ ในร่างกายภายในมันจะหยุด สุดสิ้นในที่สุดมันก็พอทนอยู่ต่อไปได้อีกตามเหตุการณ์ และวันเวลาผ่านไป แม้ไปก็มีธรรมะคู่กับจิตใจไม่เอนเอียงหวั่นไหวเลย
ปี พ.ศ. ๒๔๘๖ เป็นปีสุดท้ายที่ท่านได้อำลาภาคเหนือ เดินธุดงค์มาภาคอีสาน ไปกราบนมัสการท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ท่านได้ถามว่า “ท่านพรมมาแต่ไกลเป็นอย่างไรบ้าง การพิจารณากาย การภาวนาก็ดีเป็นอย่างไร” ท่านเรียนถวายว่า “ไม่มีอกถังกถี” (สิ้นสงสัย) แล้วท่านพระอาจารย์ใหญ่กล่าวยกย่องชมเชยต่อหน้าพระเถระทั้งหลายว่า “ท่านพรมเป็นผู้มีสติ ทุกคนควรเอาอย่าง”
หนังสือ “บูรพาจารย์” (หน้า ๒๕๑)

พระหลวงปู่ฝั้น อาจารเถระ
ท่านเดินธุดงค์ข้ามทางน้ำไหลบนเขา ได้ลื่นล้มศีรษะกระแทกกับหินในร่องน้ำอย่างเสียงดังสนั่น แล้วตัวท่านไหลลอยตามกระแสน้ำไปตกลงในแอ่งข้างล่างซึ่งมีทางไหลต่อไปเป็นช่องแคบเพียงตัวคนลอดได้ ถ้าหากถูกน้ำพัดพาเข้าไปในช่องนั้นก็จะไม่มีทางกลับขึ้นมา แต่พอท่านลอยไปเกือบถึงช่องนั้นท่านก็ทรงตัวลุกขึ้นได้แล้วก็เดินออกจากร่องน้ำอย่างปกติ ทั้งยังไต่ต่อไปในทางเดิมจนถึงที่หลายบนหลังเขา
อาพาธยังไม่หายสนิท เมื่อท่านไปตรากตรำในการอยู่รุกขมูลก็มีอาการกำเริบขึ้นอีก ทำให้มีความทุกข์ทรมาน ฉันยาอะไรก็ไม่หาย คืนหนึ่งท่านไปภาวนาใต้ต้นไม้ ได้กระทำการนั่งตาย แล้วอธิษฐานจิตว่า ถ้าจะได้สร้างบุญกุศลต่อไปก็ขอให้หาย มิฉะนั้นก็ขอให้ตายไปเสียเลย ท่านภาวนาพุทโธ จนจิตสงบแน่วแน่เป็นเอกัคคตาเวทนาก็ขาด ความรู้สึกทั้งหมดไม่มี มีแต่ความสงบสุข นั่งจนเช้า, นานกว่าสิบสองชั่วโมง โดยมีจิตสงบอย่างแท้จริง เวทนาก็ไม่มีความหมาย พออกจากสมาธิการของโรคทรมานอยู่นั้นก็หายเป็นปลิดทิ้ง ท่านบอกว่าตั้งแต่นั้นท่านไม่มีความสงสัยเลยว่าที่พระพุทธเจ้าประทับเพ่งพระศรีมหาโพธิ์ภายหลังที่ตรัสรู้อยู่ถึง ๔๙ วันนั้นเป็นความจริง พระองค์ต้องทรงทำได้โดยไม่รู้สึกเมื่อยขบ หรือหิวกระหายอย่างแน่นอน เพราะความที่สำเร็จพระโพธิญาณนั้น ย่อมจะมีผลมากกว่าการนั่งธรรมดา ๆ ของตัวท่านเองอย่างนับไม่ถ้วนว่ากี่เท่า
หนังสือ “อนุสรณ์งานศพพระอาจารย์ฟั่น อาจารเถระ” (หน้า ๒๘๗, ๔๐๕)

พระหลวงปู่ชอบ ฐานสโม
ท่านเด็ดเดี่ยวกล้าหาญทางความเพียร มีนิสัยทางมักน้อยสันโดษ ชอบแสวงหาความสงัดวิเวกอยู่ตามป่าตามเขาตลอดมา ธุดุงควัตร ๑๓ ท่านได้ถือปฏิบัติมาเป็นประจำตั้งแต่พรรษาแรกที่บวช อยู่ป่าเป็นวัตร ท่านธุดงค์ ๓๐ ยอดดอย ๕๘ ถ้ำในประเทศไทย ลาว พม่า ระหว่างเดินก็กำหนดจิตภาวนาไปตลอดเวลา ถ้าเดินทางทั้งวัน ก็เท่ากับเดินจงกรมทั้งวัน ถ้าเดินทางตลอดคืน จึงเท่ากับเดินจงกรมตลอดคืน จิตที่ภาวนาจนเป็นสมาธิย่อมมีแต่ความสงบเยือกเย็น จิตวิเวก จิตเบา กายเบา จิตสงบ กายสงบ จิตและกายต่างสงบอยู่ในตัวของตัวเอง บนบ่ามีบริขารของพระธุดงค์ครบครัน เช่น บาตร กลด มุ้งกลด กระติกน้ำ ที่กรองน้ำ ผ้าสังฆฎิ รวมทั้งของจำเป็นในการเดินป่า เช่น มีด โคมไฟ เทียนไข ไม้ขีดไฟ เป็นต้น...ทุกข์ยากลำบากแสนเข็ญเช่นไร ก็มิได้หวั่นกรง ยอมมอบกายถวายชีวิตสละตาย เพื่อธรรม ด้วยกัน ความเพียรก็ดี ความอาจหาญเด็ดเดี่ยวก็ดี ไม่ความอ่อนแอ ท้อแท้ กลัวทุกข์กลัวยาก กลัวภัย กลัวเจ็บ กลัวตาย การปฏิบัติท่านชอบอยู่ในป่าในเขา ชอบเดินทางในเวลาค่ำคืน ท่านจึงชอบเจอสัตว์จำพวก ค่ำคืน มีเสือเป็นต้นเสมอ บางครั้งทำท่าจะกระโดดตะครุบท่านมาสองตัวอยู่ทั้งข้างหน้าและข้างหลังมาถึงท่านพร้อมกันท่านก็หยุดยืนปลงอนิจจังว่า เราคงครั้งนี้แน่เป็นครั้งยุติของชีวิต กลัวแต่ก็สติยังดี จึงกำหนดจิตให้ดี ไปเผลอจิตก็รวมลงอย่างสนิทในขณะนั้น ถึงฐานแห่งสมาธิแท้ และนานไปเวลาหลายชั่วโมง
หลังจากจิตถอนขึ้นมาแล้วมีแต่ความรื่นเริงเย็นใจ คิดว่าไปที่ไหนไปได้ทั้งนั้น ไม่คิดกลัวอะไรในโลกและมิได้คิดว่าจะมีอะไรสามารถทำลายได้ เพราะได้เชื่อจิตเชื่อธรรมว่าเป็นนอกในโลกทั้งสามอย่างเต็มใจเสียแล้ว
“ประวัติท่านอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ” (หน้า ๓๑๙)
“ชีวประวัติหลวงปู่ชอบ ฐานโม” (หน้า ๑๑๗)

หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร
ท่านออกธุดงค์ แล้วปฏิบัติแบบเอาเป็นเอาตาย จนบางครั้งถึงกับสลบก็มีท่านว่า “ผู้หลงกะผู้ฮู้ กะอยู่โตเดียวกัน ฮู้เรื่องการปฏิบัติ บ่แม่นฮู้เรื่องการศึกษา จั่งให้มีสติ ฮู้กะ ให้ฮู้ถึงใจ”
“สร้างสัมปัชชัญญะ ความรู้สึกตัวให้มีควบคู่กับสติ ให้เป็นอันเดียวกัน สัมปัชชัญญะคือความรูสึกตัวเกาะกุมอยู่กับสติที่กำลังควบคุมจิตอยู่”
“ผลก็จะต้องได้จากการปฏิบัติที่จะต้องเอาชีวิตเข้าแลกเอา ท่านว่าอย่าไปเสียดายมันเลยชีวิตนั้น เดี๋ยวก็ตายทิ้งเปล่า ๆ วางความตายเสีย อย่าไปเสียดายความมีอยู่เลย มันหลอกให้เราทุกข์ทั้งนั้น เกิดซ้ำ ๆ ซาก ๆ ไม่หยุดหย่อนให้ผ่อนคลายเลย นี่ทาง (ชี้ไปที่หัวใจ) ทั้งหมดนี้เป็นการย่นย่อคำสอนให้สั้นที่สุด
จากหนังสือ งานที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร
(หน้า ๓๖, ๔๖, ๔๗)

พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมมวโร
“รักษาศีลโดยเคร่งครัด เร่งความเพียรเต็มที่จนทางจงกรมลึกเป็นร่อง พระเณรได้ถมทางจงกรมให้ได้บ่อย”
ท่านเล่าว่า “ได้กำลังใจในเวลาป่วย เพราะไม่มีที่พึ่ง จะพึ่งกายก็ไม่สบายป่วยไข้ ได้มีโอกาสพิจารณามาก เมื่อพิจารณากันอยู่ไม่หยุด มันก็รู้เข้าใจในเรื่องของกายของจิต ท่านได้กำลังใจเพราะการป่วยไข้ และกำลังใจท่านก็เข้มแข็ง”
“ถึงคราวที่สติปัญญามันกล้า มันกล้าจริง ๆ พิจารณาอะไร เรื่องที่ใจติดข้อง หรือสงสัย มันเหมือนกันกับว่าทิ้งเศษกระดาษใส่ไฟกองใหญ่ ๆ มันแว้บเดียว แว้บเดียวเท่านั้น มันหายสงสัย มันขาดไป ตกไป ใจจึงเพลินในการพิจารณา และค้นหาเรื่องเรื่องที่ใจยังคิด ยังสงสัย เมื่อเจอแล้วพิจารณาเข้าไป มันขาดไป ๆ ตกไปจึงทำให้เพลินในการพิจารณาต่อไปจิตของท่านก็ไหลเป็นน้ำซับน้ำซึม คือไม่มีเผลอเลย เว้นเสียแต่หลับก่อนจะหลับพิจารณาอะไร เมื่อตื่นขึ้นก็จับพิจารณาต่อได้เลย ครั้นต่อมาจิตของท่านก็ตกว่าง จิตว่างนี้ ท่านว่ายังไม่ใช่นิพพานดอกนา บางคนอาจจะเข้าใจว่า จิตว่างนี้คือนิพพาน ท่านว่ายังไม่ใช่เวลาผ่านไปแล้วค่อยรู้ ท่านว่าต้องย้อนจิตเข้ามารู้ ตัวผู้รู้ที่ว่าว่างนั้นอีก
แต่จิตของท่านอาจารย์นี้ไม่มีขณะเหมือนครูบาอาจารย์องค์อื่น ๆ เป็นชนิดที่เหี่ยวแห้งไปเลย (จิตชนิดนี้ในตำราก็คงมีบอก) จากนั้นไปท่านว่ามันไม่เหมือนแต่ก่อน คือมันไม่ติดกับอะไร เหมือนกับทิ้งเมล็ดงาใส่ปลายเข็มท่านว่า มันไม่คิดซึ่งแต่ก่อนที่ยังมีกิเลสอยู่มันก็รู้ มันเหมือนหมดทุกสิ่งทุกอย่างแล้วที่จะละ จะบำเพ็ญ จะไม่ให้รู้ได้อย่างไร ท่านว่ามันรู้ มันเหมือนหมดทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว
บางคนอาจจะเข้าใจว่า ครูบาอาจารย์ว่าท่านหมดกิเลสแล้ว ทำไมจึงดุ และดุเก่งด้วย ท่านว่าอันนั้นมันเป็นพลังของธรรม มันไม่ใช่กิเลส เราเคยเป็นมา เรารู้ท่านว่า พวกเรานี้จิตยังไม่เป็นธรรม มันมีแต่พลังของกิเลส เมื่อเห็นท่านแสดงอาการอย่างนั้น ก็เข้าใจว่าจะเหมือนกันกับเรา ท่านว่าถ้าอยากรู้ให้ปฏิบัติเมื่อจิตถึงที่สุด หมดความสงสัยในตัวแล้ว จะรู้เอง
หนังสืออนุสรณ์งานฉลองเจดีย์ พิพิธภัณฑ์
ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธมมาโร (หน้า ๒๗, ๓๓)

พระหลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ
การปฏิบัติที่ได้มา ไม่ได้เพราะกินดี เพราะนอนสบาย ได้มาเพราะสัจจะ มีอธิษฐาน การทำความเพียร การเสียสละ เหมือนกับนักมวยแชมป์โลก มันก็ต้องต่อสู้กับสิ่งที่ต้องการ มันต้องยอมรับ ถ้ากลัวเจ็บ มันไม่ได้เป็นแชมป์หรอก ตอนอยู่ถ้ำศรีแก้วก็ตั้งใจปฏิบัติ พิจารณาอริยสัจ ๔ พอเร่งภาวนา มันได้เงื่อนไขมาจนในคืนนั้นสุดท้ายก็จิตมันสงบไปนี้ จนเกิดความรู้สึกในจิตนี่ มันต่อสู้ไปเห็นสัญญากับเวทนา เป็นตัวข้าศึกที่ขัดข้องในเรื่องนิโรธนี่ นี้เอง ตัวสำคัญก็เลยต่อสู้กัน เหมือนกับศัตรูกัน ถ้าไม่กูก็มึง...จนสว่าง จิตไม่เคยเป็นอย่างนั้นมาแต่ก่อนมันก็เป็น แต่มันก็ไม่ถึงสู้กันขนาดหนัก...พอเดิน...มันถอนออกเลยทีนี่ ถอนสัญญากับเวทนามันถอน ทิ้งเหมือนดิ่งลงไปในเหว เหมือนกับเราถอนต้นไม้ที่มันรวมกันแล้วก็ทิ้ง พอถอนแล้วมันก็ด่าตัวเองว่า “เรามันโง่! ฉิบหาย!” เท่านี้มันก็ไม่รู้มันสะอื้น...
เจดีย์พิพิธภัณฑ์ พระโพธิธรรมาจารย์เถร (หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ) หน้า ๒๗

หลวงปู่จันทา ถาวโร
ทุกวันคืน ยืน เดิน นั่ง ทำอยู่อย่างนั้น ท่านทำความเพียร ทำถึง ๕ ปี พิจารณา เกิดทุกข์ แก่ทุกข์ เจ็บทุกข์ตายทุกข์ อนุโลม ปฏิโลม เดินหน้าถอยหลัง อยู่อย่างนั้นจนถึงสภาพตาย เรามาอยู่กับของตาย ตายแกล้วก็เปื่อยเน่า ไม่มีอะไร เหลือแต่ร่างกระดูก ก็เพ่งนานเข้า ๆ ก็เลยหายสาบสูญเป็นระยะ ร่างกระดูกนั้นหมดเข้า ๆ ผลสุดท้ายก็หมดสาบสูญ ว่างพึ้บ!...ไม่มีอะไร จิตเห็นว่าเรามาอยู่กับของไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา ของแก่เจ็บตาย สาบสูญ เปื่อยเน่า ไม่มีอะไร หมดเพียงแค่นั้น จิตก็เลยยึดดาบเพชร คือ สติปัญญาถอนอาสวะ คือ สังโยชน์ ๓ สังโยชน์ ๕ สังโยชน์ ๑๐ ทำลายได้ เมื่อถอนขาดจากใจแล้ว จิตนั้นเปลี่ยนจากสภาพเดิม สภาพที่มืดมนอนธกาล ไม่รู้เท่าสังขารให้เกิดรูปนาม ตามยถากรรมทำไว้ให้ผล มาเป็นจิตที่มีสภาพมั่นคงถาวร เบิกบานสำราญใจ นั่นแหละจิตก็เลยตั้งมั่น เชื่อมั่นในคุณแก้วทั้ง ๓ ประการ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และเชื่อมั่นในกรรมดี กรรมชั่ว ไม่หวั่นไหว
๘๐ ปี หลวงปู่ขาว ถาวโร (หน้า ๑๑๓)

อาจารย์บุญมา ฐิเปโม
“เป็นมนุษย์ เราจะมานอนสบาย สบายหาความสุขอย่างนี้หรือ แม้แต่พระพุทธองค์ก็ได้ทรงอุตสาหพยายามเดินจงกรม นั่งภาวนา ยืนภาวนา แม้เป็นสัตว์พิรัจฉานพระองค์ก็ทรงทำ เป็นมนุษย์พระองค์ก็ทรงทำ พระองค์ไม่ได้ท้อถ้อยย่อหย่อนใจการทำความเพียรอย่างนั้นอย่างนี้ไม่หยุดหย่อนเลย...”
เราค้นหาธรรมะวิเศษ ก็มีอยู่ในใจของเราทุกคนเหมือนกัน ถ้าหายใจเข้าหายใจออกเกิดดับอยู่อย่างนี้ ให้พิจารณาเห็นเป็นอนิจลักษณะ ลักษณะที่ร่างกายสังขารไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มั่นคงถาวร มีเกิดขึ้นในเบื้องต้นก็แปรไปเป็นเด็ก เป็นหนุ่มเป็นสาว เฒ่าแก่ ชราภาพ จนถึงตายในที่สุด...พิจารณาให้เห็นเป็นทุกขลักษณะ ทุกข์เพราะ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์ประจำตัวของเรา พลัดพรากจากสิ่งที่รักที่ชอบใจ ทุกข์เพราะไม่สมหวังสิ่งที่ต้องการ รวมแล้วเป็นทุกข์เพราะตัณหาพาให้อยาก ทุกข์จะดับจะดับเพราะตัณหามันดับแล้วก็พิจารณาให้เห็นเป็นอนัตตลักษณะ คือให้เห็นเป็นอันตตา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ บุคคลตัวตนเราเขาเป็น แต่สภาวธรรมปรุงแต่งขึ้นเท่านั้น เมื่อแยกธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ แยกขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณออกไป แยกอายตนะกายในมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจออกจะเห็นตัวตนของมัน...เมื่อเห็นวัฏฏสงสารอันเป็นมหาภัย ได้ชื่อว่า ได้ความร่ำรวยมหาสมบัติอริยทรัพย์ของพระอริยเจ้าอันประเสริฐเลิศกว่าความร่ำรวยสมบัติภายนอกอย่างอื่น...
หนังสือ “อาจาริยธัมโมทยาน” (หน้า ๖๙)




พระอาจารย์ผั่น ปาเรสโก (วัดป่าหนองไคร้ จังหวัดยโสธร)
การปฏิบัติส่วนที่เป็นทางตรง คือ การเพ่งกสิณภายในกายของตน การเพ่งภายนอกเมื่อเกิดอุคคหนิมิตแล้ว ส่งจิตตามไปก็ไปติดในอรูปฌานเท่านั้น การเพ่งกสิณภายใน เมื่อเกิดอุคคหนิมิตแล้ว พิจารณาให้แยกคายเป็นปฏิภาคนิมิต จนเห็นกายตนชัดเจน เห็นตามเป็นจริงเน่าเปื่อยผุพังไปตามธรรมชาติ จึงถูกต่อหนทางอริยมรรค คือ เห็นอริยสัจจธรรม ๔ จริง ผู้ใดมีกาย วาจา ใจ แต่ไม่เป็นกายของตนโดยสัจจธรรมของจริงก็เท่ากับมีกาย วาจา ใจ เปล่าประโยชน์...ไปเท่านั้น ถึงเป็นนักบวชก็หัวโล้นเปล่า ๆ วุ่นวายกันเปล่า ๆ...
ให้พิจารณาสีมาในกาย น้อมเข้ามาเป็นโอปนยิโก พิจารณาให้เท่าทันอารมณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นทางตา ทางหู ทางจมูก จากลิ้น ทางกาย ทางใจ ทำให้ยิ่งเป็นภาวิโน พหุลีกโต คือทำให้ยิ่งเจริญให้มากจนเพียงพอแล้ว อันเป็นส่วนแห่งวิปัสสนาแก่กล้าพอก็ตัดสินตัวเจ้าของ ได้เอง อุปมาเหมือนการตัดหวายให้หินหลุดลงสะดือสีมาฉะนั้น...บุคคลถ้าขาดเสวนาส้องเสพกับนักปราชญ์บัณฑิตแล้ว เป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์จริง ๆ ถึงแม้จะเจริญสมณธรรมก็ไม่เป็นไปเพื่อภูมิธรรมชั้นสูง ถึงจะเป็นไปก็เพียงความรู้ความเห็นของตนขั้นสมาธิเท่านั้น...ต้องนึกคิดในมหาสมบัติปัฏฐาน ๔ ผู้ที่ฟังธรรมเป็นย่อมได้ฟังธรรมอยู่ทุกเมื่อ เพราะธรรมะปรากฏกึกก้องอยู่ทุกเมื่อ คืออะไรก็ตามมากระทบสัมผัสกับจิตล้วนเป็นธรรมะทั้งสิ้น แล้วโอปนยิโกน้อมเข้ามาสอบสอนตนด้วยตนเองฯ ปัญญา แปลว่า รู้แจ้งแทงตลอดทะลุทะลวงไม่มีที่ปิดบัง ก็คือ ย่อมรู้ในกองสังขารนี้เองฯ
หนังสือ “อาจาริยธัมโมทยาน” (หน้า ๑๘๘)

พระหลวงปู่แหวน สุจิณโณ
ถ้ามีสติแล้วก็นำความผิดออกจากกาย จากใจของตน อย่าหลงสมมุติทั้งหลาย มีรูป เสียง กลิ่น รสสัมผัส อย่าเอามาหมักไว้ในใจ สละออกจากใจ ถะ วาง ถอนที่ใจ คนเรามันรักสุข เกลียดทุกข์นี่ หนักก็หนักอยู่ตรงนี้แหละ ไม่รับความจริง เราเกิดมา นินทา สรรเสริญก็ดี อย่าไปรับเอามาหมักไว้ในใจ ปล่อยผ่านไปเลย ความรัก ความชัง ความโลภ ความหลง เกิดขึ้นก็เพราะกิเลสมันเสวนากันอยู่ ภวตัณหา วิภวตัณหาทั้งหลายก็ไหลมาจากเหตุ...
“อาจาริยธัมโมทยาน” (หน้า ๑๐๕)
ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นตัวเหตุมันไหลเข้ามา...ธรรมทั้งหลายไหลมาจากเหตุ กำหนดเข้า ๆ รู้เท่าทันเหตุ เหตุดับ มันก็ถึงความสุข เพราะวางอุปทานเหตุจึงดับไป อวิชชาความมืดไม่รู้แจ้งมันก็ดับไป เวลาพูดดูเป็นของง่ายแต่เวลาทำยาก อย่าไปยึดเอาสิ่งนั้นสิ่งนี้ ฟังแต่น้อยแต่ต้องทำให้มากอาศัยความพากความเพียรทำการงานด้วยกายของเราทุกสิ่งทุกอย่างทำให้เป็นอริยมรรค อย่าให้เป็นกิเลส ถ้าเป็นกิเลสเป็นทุกข์
หนังสือ “ธรรมโอวาท หลวงปู่แหวน สุจิณโณ” (หน้า ๑๐)

พระอาจารย์บุญ ชินวโส
กิเลส มันนั่งอยู่ในใจตนเท่านั้น ควรชำระจิตของตนดีว่าใส่โทษบุคคลอื่นใส่โทษตนดีกว่าใส่โทษผู้อื่น ถ้าตนดีบุคคลอื่นก็ดีไปด้วย กิเลสก็ไม่มี ตัวเราก็สบายทั้งกาย ทั้งใจ อย่าพากันประมาทนะ ความตายใกล้เข้ามาทุกขณะ ๆ ให้รีบทำความดีเสียก่อนตาย ครูบาอาจารย์ก็ได้แต่บอกให้เท่านั้นนะ ทำให้ไม่ได้ ให้พากันทำความเพียร อย่าเก่งแต่คุย ต้องทำด้วย...ถ้าอยากไปสวรรค์ อยากไปนิพพาน ให้ลงมือกันปฏิบัติเดี๋ยวนี้...
หนังสือ “อาจาริยธัมโมทยาน” (หน้า ๑๔๒, ๑๗๓)

พระหลวงปู่ลี ธมมธโร
โมหจิต จิตที่หนักไปในทางเผลอและหลงลืม จิตชนิดนี้เนื่องมาจากมีอารมณ์เข้ามาแทรกแซงมาก ฉะนั้นจึงควรทำใจของตนให้ตั้งอยู่อารมณ์เป็นหนึ่ง เพื่อรวมกำลังของสติสัมปชัญญะให้แรงกล้า เหมือนกับเอาแสงไฟที่กระจายกันอยู่ให้รวมเป็นกลุ่มอันเดียวกัน ก็ย่อมมีกำลังแสงสว่างได้มาก ฉันใดก็ดี เมื่อเรามีสติประจำใจของตนอยู่ ไม่ปล่อยใจของตนไปเกี่ยวข้องในสัญญาอารมณ์ต่าง ๆ ภายนอก สตินั้นจะเปล่งกำลังแสงสว่างให้เกิดขึ้นคือ วิชชา เมื่อวิชชาเกิดขึ้นแล้วในตนของตนเอง จิตของบุคคลนั้นก็จะสว่างไสว ใจของบุคคลผู้นั้นก็จะตื่นจากความหลับ คือ อวิชชา บุคคลใดทำได้เช่นนี้ก็ชื่อว่าถึงสรณะอันเกษมในใจของตนเอง (คือถึงคุณธรรมด้วยใจ)
รู้เอง เห็นเอง เป็นเหตุให้ถึงวอริยธรรม คือ โลกุตระ

พระหลวงปู่หลุย จันทสาโร
“การปฏิบัติ ท่านก็ทำเนสัชชิก อธิษฐานไม่นอน ไม่ยอมให้หลังแตะพื้นเป็นเดือน ๆ อยู่เพียงในอิริยาบถ ๓ คือ เดิน ยืน และนั่ง เท่านั้น ส่วนอาหารการกินให้อยู่ด้วยความอดอยากยากแค้นเหลือเกิน การเดินจงกรมก็เดินครั้งละครึ่งกัน เดินจนเท้าแทบจะแตกทะลุ”
“ทุกข์มากเท่าไร เวทนาเกิดขึ้นเท่าไร ก็ราวกับว่าเป็นเชื้อเพลิงที่โหมใส่สติปัญญาให้หมุนเป็นเกลียวขึ้นมาอย่างเป็นใจ ถือเอาทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นจากไข้ นึกถึงความตายที่ขวางอยู่ข้างหน้าที่จะต้องพุ่งเหมือนพญาเสือจะพุ่งเข้าใส่ศัตรูเอาชนะห้ำหั่นมัน กิเลสก็เกิดขึ้นจะต้องประหารกันให้เขาเสียบ้าง สติปัญญาเกิด สติแก่กล้า ปัญญาเกิด ทุกขเวทนามันขึ้นจะหลีกเลี่ยงไปไหนก็ไม่ได้ ต้องสู้กัน เมื่อมันจนตรอกอยู่ไม่เห็นทางที่จะหนีหายไปไหน จึงมีแต่ว่าจะต้องหันหน้าสู้กันอย่างเดียว จึงจะเอาชนะกันได้”
“ท่านเร่งภาวนามาก ใจดำริมาเป็นเวลาหลายอาทิตย์ พระอริยเจ้าทำเสร็จเราทำไม ไม่สำเร็จธรรมก็มีอยู่ในตัวเราแท้”
เดินวิปัสสนาควบคู่ไป เป็นการม้างกาย ที่ท่านเรียกว่า “ม้างกายที่ฉลาด ม้างกายด้วยไตรลักษณ์” พยายามประหารกิเลสให้สิ้นไป
“ปัญญาพาค้นคว้า ดำเนินไป...จิตก็ตามไป หมุนเป็นเกลียวอย่างไม่หยุดยั้ง ลืมมืดลืมแจ้ง ลืมวันลืมคืน บางเวลาจืดก็ม้วนกลมลงสู่จิตเดิม จิตหด แต่บางเวลาปัญญาหมุนติ้ว จิตหินตามไป...ที่สุดของจิตซึ่งท่านเคยคิดว่าอยู่แสนไกล ประดุจอยู่ปลายสุดสะพานรุ้ง ก็กลับเป็น ดูใกล้...แทบจะเอื้อมมือถึงได้ บางเวลาเกิดปิติ ปลื้มคิดว่า นี่แหละ...นี่แหละถูกแล้ว...ใช่แล้ว”
“จิตกลับตกลงมาใหม่ เกิดสะดุดหยุดยั้งคิด เพียรซ้ำ เพียนซ้อน ล้มแล้วลุก...ลุกแล้วล้ม ล้มลุกคลุกคลานอยู่คนเดียว”
“จิตที่ถูกทรมาน ลงแซ่กำราบมาอย่างหนัก สุดท้ายก็เหนื่อยอ่อน จิตวาง จิตสงบ จิตไม่กำเริบ จิตคงที่ ไม่แปรไปตามสังขารจิต ไม่ขึ้นไม่ลง...จิตเกษม”
หนังสือ “จันทสาโรบูชา” ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระอาจารย์หลุย จนทสาโร
(หน้า ๑๖๒, ๑๗๔)



พระอาจารย์วัน อุตตโม
ตัณหาเป็นนายของจิต เราก็ต้องเป็นขี้ข้าของมันตลอดไป นี้แหละเราจึงพยายามหาทางปราบหาทางแก้ หาทางลดละ คือว่า ลดอำนาจของตัณหานี้ลงด้วยวิธีนี้เราประกอบความพากเพียรด้วยความขยันหมั่นเพียร ไม่ท้อถอย เราจึงจะได้ช่องได้ทางในการปฏิบัติ เราต้องเป็นผู้มีใจเข้มแข็ง มีความแกล้วกล้าสามารถองอาจในการปฏิบัติ แล้วเราจะเป็นคน ที่มีความสง่าในการปฏิบัติได้...

พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ
พิจารณาภาวนา กรรมบานเป็นมูลฐานทั้ง ๕ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง...ให้พิจารณาให้รู้เห็นตามเป็นจริงในสัจจธรรมอย่างนี้ นี่กรรมฐาน ไม่ได้ให้ไปค้นคว้าพิจารณาหาสิ่งอื่น ถ้าพิจารณาเห็นด้วยปัญญาตามเป็นจริงแล้ว จิตมันมีตาแล้ว รู้แจ้งเห็นตามเป็นจริงแล้วมันก็สลัดได้เท่านั้นเอง...จิตใจของเรานี่ มันชอบหนังเน่าเหม็นเท่านั้นเอง มันไม่พ้นไปได้ ถ้าเราพิจารณากรรมฐาน ๕ นี้อยู่บ่อย ๆ ...มันก็ถอนอุปทานความยึดมั่นถือมั่นได้ ถอนความรักความกำหนด ความที่จะถ่ายถอนอย่างนี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ทางอื่นไม่มีทางเดียวเท่านี้ ที่จะข้ามโอฆะแอ่งแก่งกันดาร จะข้ามห้วงทุกข์ ข้ามวัฎฎะได้ มันเป็นอย่างนั้น ถ้าเราเป็น ผู้เชื่อต่อกรรมแล้ว มันต้องเป็นพาหนะที่จะต้องเป็นไปได้ เรียกว่า กรรมฐานเป็นพาหนะ ที่จะเป็นไปได้ไม่มีทางสงสัย
หนังสือ “อาจาริยธัมโมทยาน” (หน้า ๑๙๘, ๒๐๗)

พระหลวงปู่คำดี ปภาโส
ท่านฝึกสติ ทำสมาธิ ระดมกำลังให้มีสมาธิแก่กล้าจะได้เกิดปัญญาที่เฉียบแหลมเข้มแข็ง พร้อมเข้าสู้รบกับฆ่าศึก คือ อวิชชา ใครจะแพ้ชนะก็อยู่ที่กำลังของแต่ละฝ่าย หากกำลังสมาธิฝึกหัดมาดี จึงเป็นการฝึกสติฝึกปัญญา ให้มีกำลังใจความกล้าแข็งเปรียบเสมือนดาบเพชรใช้ฟาดฟันอวิชชา คือความหลงออกจากจิต ทำลายอวิชชาตายลงไปด้วย อำนาจมรรคญาณ ด้วยอาวุธทันสมัย เพียงขณะเดียวเท่านั้น...ความจริงทั้งหลายถูกเปิดเผยขึ้นดังประหนึ่งเอาเพชรขึ้นจากโคลนตม เอาความร้อนไล่ม่านหมอกที่ปกคลุม ประการเพชรออก รัศมีเพชรจะเปล่งประกายเป็นความจริงล้วน ๆ เมื่อธรรมไม่เคยรู้ ได้ปรากฏขึ้นมาในวาระสุดท้าย จิตที่เป็นประธานคือจิตดวงเดิมก็ใสสะอาดบริสุทธิ์ ไม่หลงยึดถืออุปทานต่าง ๆ อีกต่อไป นี่แหละคือจุดหมายปลายทางของศาสนาพุทธ ก็คือ ถึงแล้วซึ่งนิพพานของศาสนาพุทธ
คู่มือปฏิบัติธรรม พิมพ์เป็นอนุสรณ์ทำบุญอายุครบ ๘๐ ปี
แด่ พระครูญาณทัสสี พระอาจารย์คำดี ปภาสะเถระ (หน้า ๖๓)

พระหลวงปู่หล้า เขมปัตโต
การวิเวกคนเดียวไม่เกี่ยวกัน หมู่มันกลายเป็นอู่ของการพิจารณาธรรมะ รสชาติจิตใจและธรรมะเพิ่มพูนขึ้นจิตใจบ่อมโอนเอนไป อ่อนโยนไป โน้มน้าวไป สังเวชไปในทางเพื่อหลุดพ้นในสงสาร...
“แล้วตั้งใจภาวนาพร้อมกับขาปืนภูเขาบางแห่งก้าวได้ทีละคืบ บางแห่งก้าวได้ทีละกว่าคืบ บางแห่งก้าวได้ทีละศอกกำ...ผินหน้าลงทางที่เป็นเขามา เอาส้นสองส้นยันที่เป็นหลุม หนีบกลดไว้กับรักแร้...”
มีครั้งหนึ่งท่านถ่ายเป็นเลือดออกวันละ ๓๐ ครั้งเป็นแท่ง ๆ ออก ขณะนั้นท่านนอนตะแคงข้างขวา...จะดูตัวเองตายตามสมมติ เราจะสิ้นลมหายใจพร้อมกับเวลาออกหรือเข้า...เราจะจับดูที่นี้ เวลาเราจะสิ้นลมเวลาเราสิ้นชีวิตนั่นเราจะสิ้นพร้อมกับลมเข้าหรือลมออก เราจะดูเราตายที่นี้...จ้องอยู่ที่ลมมากระทบ...บริกรรมพร้อม...ประมาณ ๑๕ นาที เหาะทะลุขึ้นกุฏิของตนขึ้นถึงเมฆนอนขวางอากาศอยู่...ได้ตอบตนว่า นี่...จึงเป็นสมาธิแท้ นี่แหละเป็นสมาธินานสักเท่าใดไม่ทราบจิตก็เลยถอนออกมา พอจิตถอนออกมาก็เลยเห็นลมเข้าออกอยู่ตามธรรมชาติเบา ๆ ที่สุด...โรคอันนั้นก็เลยหายก็เลยไม่ได้เป็นอีก...
อำนาจมรรคสามัคคี มรรคสามัคคีกับศีล สมาธิ ปัญญา รวมพลกัน ในขณะเดียวกันไม่มีอันใดก่อนไม่มีอันใดหลัง ไม่ติดอยู่ในจิต ไม่ติดอยู่ในธรรม ไม่ติดอยู่ในผู้รู้นั้น เพราะรู้เท่าจิต รู้เท่าธรรม รู้เท่าผู้รู้ โดยแท้จริงแล้วจิตก็ดี ธรรมก็ดี ผู้รู้ก็ดี จึงไม่มีพิษ ไม่เป็นปัจจัยส่งต่ออะไร ๆ ให้เป็นไปในอนันตรเหตุ อนันตรผล อันเป็นสหชาติให้วนเวียนในสงสาร วัฏ อวิชชาตัวโง่ ๆ หลง ๆ ถูกทำลายได้ด้วยมรรคปัญญาอันถ่องแท้เป็นมหาสัมมาวิมุตติเป็นมหาสัมมาญาณสามัคคีกลมเกลียวดึงดุดกันทันเวลาในขณะเดียว โดยมิได้ส่งส่ายร้องเรียกหาชนะสงคราม โลกหลงด้านภายในที่เคยดองขันธสันดานมาไม่มีประตูไม่มีเวลาจะขบคืนได้เรียกว่าชนะสงครามอวิชชาก็ได้ ไม่ผิดสังขาร วิญญาณ นามรูป อายตนะ ผัสสะ เวทนา อุปาทานภพ ชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัสอุปายาส ไม่ต้องกล่าวพรรณนาเรียงแบบไปก็ได้ ไม่ต้องสาวกลับเป็นอนุโลมเป็นปฏิโลมก็ได้ เพราะตัดในระหว่างไหน ๆ ขาดแล้วใช้ได้ทั้งนั้นแหละ เพราะเหตุว่าเป็นเชือกเส้นเดียวกัน เป็นบ่วงอันเดียวกัน เป็นลูกโซ่อันเดียวกันที่เกี่ยวข้องติดโยงกันเป็นวงกลม ตัดขาดที่ไหนใช้ได้ทั้งนั้น แก้ได้ทั้งนั้น หลุดไปได้ทั้งนั้น พ้นไปได้ทั้งนั้น ไม่สงสัย
หนังสือ “เขมปัตตเจติยานุสรณ์” (หน้า ๔๑, หน้า ๑๑๑),
หนังสือ “หลวงปู่หล้า เขมปตโน” (หน้า ๓๐๓)

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
ขณะท่านเดินธุดงค์ได้หลงป่าไปถึงยอดห้วยมันเป็นหน้าผา เจ้ากรรมเราเหยียบก้อนหินพลาดหกล้มหินบาดพื้นเท้าแผลลึก พอดีจวนจะมืดอยู่แล้ว หยิบเอาผ้าอังสะมาพันแผล แล้วตัดสินใจปืนป่ายขึ้นตลิ่งชัน ๆ ต่อไป พักนอนตลอดคืนแต่นอนไม่หลับ กลดมุ้งกางไม่ได้ ลมแรง ทางพื้นดินนอกจากปลวกจะมารบกวนแล้ว เจ้ามดก็พากันแห่มารุมกินเลือดที่แผลและเหงื่อตามตัว ที่ตาต้องเอาผ้าพันไว้ มิฉะนั้นแล้วมันจะรุมกินน้ำตาเรา เราทนกันฟันฝืนเดินฝ่าก้อนกรวดหินลูกรังกลางโคกทั้ง ๆ ที่เจ็บเท้าจะไปไม่รอด เดินไปกว่าจะถึงหมู่บ้านก็ราวสามโมงเช้า คิดจะขอข้าวเขาฉันตรง ๆ ก็กลัวจะเป็นโทษ จึงพูดไปอุบายว่า พวกเรายังไม่ได้ฉันข้าวเลย แล้วก็เจ็บแผลที่เท้าจะไปบิณฑบาตก็ไม่ได้ ท่านอ่อนสีเพื่อนคู่ทุกข์ก็เป็นลมหน้ามืดลุกไม่ขึ้น เขาบอกว่าจะได้ฉันข้าว คอยเขาเอาข้าวมาให้ฉันก็หายเงียบ ความหิวความเพลียก็ประดังเข้ามา ดีที่มียาแก้ลมติดถุงย่ามไปด้วย ช่วยพยาบาลท่านอ่อนสี กว่าจะลุกขึ้นได้ก็สายร่วมสิบโมงเช้า ถามเด็กสองคนที่เฝ้าบ้านอยู่ก็ได้ความว่า ผู้ใหญ่เข้าป่าไปหากินหมดแล้ว จึงขอแลกข้าวด้วยไม้ขีดไฟ เพราะสมบัติอะไรเราก็ไม่มี ยังเหลือแต่ไม้ขีดไฟคนละสองกล่อง แลกข้าวเหนียวได้สองกระติบ น้ำพริกถั่วเน่าสองจานกับต้มผักชะอมสองมัด พากันฉันอย่างเอร็ดอร่อยนี่กระไร พอฉันเสร็จแล้วเท้าเรายิ่งเจ็บใหญ่ เจ็บเอาจนเนื้อแข็งเต้นเลย เราพากันทนทรมานอยู่ที่นั้นจนตะวันบ่ายสามโมงเศษ ๆ จึงได้พากันเดินเขยก ๆ ไปอีกราวสามกิโลเมตร เมื่อแยกจากท่านอ่อนสีแล้ว คืนวันหนึ่งเราได้ยินเสียงเสือร้องเรากลัวจนตัวสั่นสะท้าน นอนไม่ได้เหมือนเป็นไข้จับสั่น เหงื่อเปียกโชกหมดทั้งตัว เราได้ลุกขึ้นตั้งสติกำหนดจิตให้อยู่นิ่งในอารมณ์เดียว ยอมสละชีวิตว่า เรายอมสละความตายแล้วมิใช่หรือ จึงได้มาอยู่ ณ ที่นี้ เสือกับคนก็ก้อนธาตุที่มิใช่หรือ ตายแล้วก็มีสภาพเช่นเดียวกัน แล้วใครกินใคร ใครเป็นผู้ตายและใครเป็นผู้ไม่ตาย ทำให้ใจเราวิเวกมาก แม้ชีวิตของเราจะแตกดับเพราะการภาวนา เราก็จะยอมทุก ๆ วิถีทาง ชีวิตนี้ของเราขอให้เป็นเหมือนดอกบัวบูชาพระฉะนั้นเถิด เมื่อยอมสละพิจารณาด้วยความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวอยู่นั้น เสียงเสือก็ไม่ได้ยิน ภายหลังเมื่อได้ยินเสียงของมันใจก็เฉย ๆ เห็นเป็นลมกระทบวัตถุอินหนึ่งแล้วมันเกิดเสียงออกมาเท่านั้นแล้วเราก็ทำความเพียรตามที่เราได้ตั้งปณิธานไว้ตลอดพรรษา ทรมานตนด้วยการอดอาหารอยู่ห้าวัน เราได้มีโอกาสประกอบความเพียรอยู่อย่างสม่ำเสมอ ความรู้ และอุบายต่าง ๆ ที่เป็นของเฉพาะตัวย่อมเกิดมีขึ้นน่าอัศจรรย์เราไม่ต้องนั่งหลับตาภาวนาละ แม้จะนั่งอยู่ ณ สถานที่ใดเวลาไหน มันเป็นภาวนาไปในตัวตลอดกาลพิจารราตน และคนอื่นตลอดถึงทิวทัศน์ มันให้เกิดอุบายเป็นธรรมไปทั้งนั้น อดีตารมณ์ไม่ว่าจะเป็นส่วนอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์ก็ตาม สัญญาเก่ามันนำหยิบยกขึ้นมาให้ดูล้วนแล้วแต่เป็นไปได้เพื่อธรรมสังเวชทั้งสิ้น
ครั้งหนึ่งเราอาพาธอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช ตอนแรกเป็นไข้หวัดประสมกับหลอดลมอักเสบ เมื่อฉายเอกซเรย์ดูก็พบว่าน้ำท่วมปอด มีพยาธิสภาพเล็กน้อย หมอได้ดูดเอาน้ำออกจากช่องปอดเป็นจำนวนมาก อาทิตย์ที่สองเริ่มแพ้ยา และมีอาการอย่างอื่นแทรกขึ้นอีก ทำให้อาการทรุดลงจนลมอ่อน หมอได้มาดูดน้ำออกจากช่องปอดเป็นจำนวนมากบางคนทายว่าเราไม่เกินห้าวันต้องตายแน่ หมอให้เรากลับได้เร็วเท่าไรยิ่งเป็นการดี เราแปลกใจและดีใจที่จะได้กลับวัด เพราะคิดว่าถึงจะตายก็ขอได้ไปตายที่วัดเราดีกว่า และสมแก่สมณสารูป ตอนนี้เราเห็นโทษ เบื่อหน่ายในร่างกายมาก เพราะกายก้อนนี้แท้ ๆ จึงไดทำให้เราเกิดโรคเป็นทุกข์แก่ตนเอง และผู้อื่นด้วย เราจึงได้เตรียมตัวตายทันที เรายอมสละตายแล้วมิใช่หรือ แล้วบอกกับตัวเองว่าร่างกายและโรคภัยของเจ้า จงมอบให้เป็นธุระของหมอเสีย จงเตรียมตายสำรวมจิต ตั้งสติให้แข็งแกร่ง ความรู้สึกของเราที่ยอมสละเรื่องต่าง ๆ แล้วเข้ามาสงบอยู่ในปัจจุบันธรรมจนไม่มีความรู้สึกว่าเวลาไหนเป็นกลางวัน เวลาไหนเป็นกลางคืน มีแต่ความสว่างจ้าของจิตแล้วสงบอยู่เฉพาะตนคนเดียว
หนังสือ “อัตตโนประวัติ พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฎ์” (เทสก์ เทสรังสี)
หน้า ๘๗ – ๘๙, ๙๖, ๑๔๔

พระหลวงปู่ชา สุภัทโท
ท่านได้พิจารณาถึงธาตุกรรมฐาน พิจารณาดูอาการที่สังขารทั้งมวลเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสลายไปเกิดความสังเวชใจว่า อันชีวิตย่อมสิ้นสุดลงแค่นี้หรือ จะยากดีมีจนก็พากันดิ้นรนไปหาความตาย ซึ่งเป็นปลายทางของชีวิต ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นสมบัติสากล ที่ทุกคนจะต้องเผชิญ ครั้งหนึ่งท่านได้เข้ากราบนมัสการหลวงปู่มั่น ได้ปรารภข้อข้องใจถึงธรรมยุติและมหานิกาย หลวงปู่มั่นได้ชี้แจงว่า การประพฤติปฏิบัตินั้น ถ้าถือเอาพระธรรมวินัยเป็นหลักแล้ว ก็ไม่ต้องสงสัยในนิกายทั้งสอง ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องญัตติเข้ายุตินิกายตามครูบาอาจารย์ ทางมหานิกายก็จำเป็นต้องมีพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเช่นเดียวกัน เมื่อได้ฟังโอวาทหลวงปู่มั่นจบลงรู้สึกว่าความเหน็ดเหนื่อยล้าได้หายไปจนหมดสิ้น จิตหยั่งลงสู่สมาธิด้วยอาการสงบ หมดสงสัยในหนทางประพฤติปฏิบัติ เกิดความปลาบปลื้มปิติในธรรมอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ได้กำลังใจและความอาจหาญพร้อมที่จะเอาชีวิตเดินพันในการทำความเพียรเพื่อจะบรรลุมรรคผลนิพานให้ได้ คำสอนที่หลวงปู่มั่นเน้นเป็นที่สุดคือเรื่องตัวจิตและอาการต่าง ๆ ของจิต
วันหนึ่งเวลาประมารสามทุ่มเศษ ๆ ได้มีหมาป่าฝูงหนึ่งวิ่งผ่านมา ต่างวิ่งกรูกันเข้ามาจะทำอันตราย ท่านรู้สึกตกใจ ตั้งสติ กำหนดจิตอธิษฐานว่า “ข้ามาที่นี่ได้ได้มาเพื่อเบียดเบียนใคร มาเพื่อต้องการบำเพ็ญคุณงามความดี มุ่งต่อความพ้นทุกข์ ถ้าหากว่าเราเคยได้กระทำกรรมต่อกันมา ก็ขอให้กัดข้าให้ตายไปเสียเถิด เพื่อเป็นการชดใช้กรรมเก่า แต่ถ้าไม่เคยมีเวรภัย ต่อกันแล้ว ก็ขอให้หลีกไป” หมาป่าเหล่านั้นทั้งเห่าทั้งขู่คำราม จิตเกิดความรูสึกกลัวมาก ก็ปรากฏเห็นเป็นหลวงปู่มั่น ตวาดขึ้นด้วยเสียงอันดังว่า “ไป๊ พวกสูจะมาทำอะไรเขาอยู่ที่นี่เล่า” ท่านเงื้อท่อนไม้ขึ้นคล้ายจะตี หมาป่าเหล่านั้นแตกตื่นวิ่งหนีไป ท่านคิดว่าหลวงปู่มั่นมาช่วยจริง ๆ
คราวที่ปัสสาวะเลือดออกเป็นแท่ง ๆ คิดว่าถ้าตายสมควรตายก็ให้ตายเท่านั้นแหละ จะทำยังไงได้ล่ะถึงกลัวไม่กลัวมันก็ต้องตาย เพราะความตายอยู่ที่เรานี้เอง ตายเพราะการบำเพ็ญภาวนานี่ตายก็เต็มใจตาย ตายเพราะการทำชั่วนั้นไม่คุ้มค่า ตายอย่างนี้สมควรแล้ว เอ้า! ตายก็ตาย พระนิพพานอยู่ฟากความตายนะ พิจารณาคนดีอยู่ที่ไหน คนดีอยู่ที่ตัวเรา ถ้าเราดีเสียแล้ว ไปอยู่ที่ไหนมันก็ดี เขาจะนินทา สรรเสริญ จะว่าจะทำอะไร เราก็ยังดี แม้เขาจะข้ามหัวไป ก็ยังดีอยู่ แต่ถ้าเรายังไม่ดี เขานินทา เราก็โกรธ ถ้าเขาสรรเสริญ เราก็ยินดี ก็หวั่นไหวอยู่อย่างนั้น เมื่อรู้ว่าคนดีอยู่ที่ไหนแล้ว เราจะมีหลักในการปล่อยวางความคิด เราจะอยู่ที่ไหน เขาจะรังเกียจหรือจะว่าอะไร ก็ถือว่าไม่ใช่เขาหรือเขาชั่ว เพราะดีหรือชั่วอยู่ที่ตัวเรา เราย่อมรู้จักตัวเราเองยิ่งกว่าใคร...
ระหว่างที่ท่านเดินธุดงค์คนเดียวแสวงหาความวิเวกเกิดอาพาธหนัก นอนซมพิษไข้อยู่องค์เดียวกลางภูเขา ไข้ขึ้นสูงมากจนลุกไม่ขึ้น ประกอบกับไม่ได้ฉันอาหารมาหลายวัน ทำให้รู้สึกอ่อนเพลียราวกับจะสิ้นใจ ถ้ามีคนพบศพแจ้งข่าวบอกญาติพี่น้องทางบ้านก็จะเป็นภาระ จึงจะจุดไม้ขีดเผาใบสุทธิเพื่อทำลายหลักฐาน พอได้ยินเสียงอีเก้งมันร้องดังก้องภูเขา เกิดกำลังใจขึ้นมากเพราะอีเก้งมันป่วยเป็น มันไม่มียากิน หมอรักษาก็ไม่มี แต่ก็ยังมีลูกหลานสืบต่อเผ่าพันธุ์เป็นอันมาก จึงพยายามตะเกียกตะกายไปเอาน้ำในกามาดื่ม แล้วลุกขึ้นนั่งทำสมาธิจนอาการไข้ทุเลาลงเรื่อย ๆ
การปฏิบัตินี้มันเป็นทุกข์ลำบากแสนสาหัส มันหนัก! เอาชีวิตเข้าแลก เสือจะกินช้างจะเหยียบ ก็ให้มันตายไปเสียคิดอย่างนี้มันควรตายแล้ว เมื่อเราได้รักษาศีลให้บริสุทธิ์ ก็ไม่ต้องมีอะไรจะต้องกังวลอีกต่อไป ตายก็เหมือนไม่ตายละทีนี้ เลยเป็นเหตุให้ไม่กลัวเป็นธรรมาวุธ อาวุธคือธรรมะ
อาวุธของเราคือธรรมะอย่างเดียว ปล่อยมันเลย กล้าหาญ ยอมตายเสีย เสี่ยงชีวิต ถ้าคนไม่กลัวตายยอมตายเสียมันกลับไม่ตายนะ ทีนี้ทุกข์ก็ให้มันเกินทุกข์ มันหมดทุกข์โน่น ให้มันเห็นเรื่องของมัน เห็นความจริง เห็นสัจธรรม
ขณะพักอยู่บนภูลังกา ได้เร่งความเพียรอย่างหนักพักผ่อนเพียงเล็กน้อย ไม่คำนึงถึงเวลาว่าเป็นกลางวัน หรือกลางคืน คงยืนหยัดต่อไปอย่างต่อเนื่องจิตพิจารณาเรื่องธาตุ และสมมุติบัญญัติอยู่ตลอดเวลา “จิตมีความรู้สึกเหมือนเป็นคนละโลก ดูอะไรก็เปลี่ยนไปหมด กาน้ำตั้งอยู่มองดูแล้วก็รู้สึกว่าไม่ใช่กาน้ำ กระโถน บาตรก็เปลี่ยนไปทุกอย่างเปลี่ยนสภาพไปหมดเหมือนหน้ามือกับหลังมือเหมือนแดดจ้าที่มีก้อนเมฆเคลื่อนมาบดบังแสงแดดก็วาบหายไป ดูแล้วก็ไม่เป็นอะไร เป็นธาตุ เป็นของสมมุติทั้งนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างในร่างกายของเราก็ไม่ใช่ของเรา ล้วนแต่ของสมมุติ”
วันหนึ่งขณะที่ท่านเดินจงกรมอยู่เวลาประมาณห้าทุ่มกว่า รู้สึกแปลก ๆ มันแปลกมาแต่ตอนกลางวันแล้ว รู้สึกว่าไม่คิดมาก มีอาการสบาย ๆ เขามีงานอยู่ในหมู่บ้าน เมื่อเดินจงกรมเมื่อยแล้ว เลยมานั่งที่กระท่อม คู้ขาเข้าเกือบไม่ทันอ๊ะ! จิตสงบจริง ๆ เสียงเขาร้องรำอยู่ในหมู่บ้านมิใช่ว่าจะไม่ได้ยิน ยังได้ยินอยู่ แต่จะทำให้ไม่ได้ยินก็ได้ แปลกเหมือนกัน เมื่อไม่เอาใจใส่ก็เงียบไป จะให้ได้ยินก็ได้ ไม่รู้สึกรำคาญ ภายในจิตเหมือนวัตถุสองอย่างตั้งอยู่ไม่ติดกันดูจิตกับอารมณ์ตั้งอยู่คนละส่วนเหมือนกระโถนกับกาน้ำ ก็เลยเข้าใจว่าจิตมีสมาธินี่ ถ้าน้อยไปก็ได้ยินเสียง ถ้าว่างก็เงียบ ถ้ามันมีเสียงขึ้นก็ดูตัวผู้รู้ ขาดกันคนละส่วน
จึงพิจารณาว่า ถ้าไม่ใช่อย่างนี้ มันจะใช่ตรงไหนอีก มันเป็นอย่างนี้ ไม่ติดกันเลย ได้พิจารณาอย่างนี้เรื่อย ๆ จึงเข้าใจว่า อ้อ! อันนี้ก็สำคัญเหมือนกัน เรียกว่า สันตติ คือความสืบต่อ ขาด มันเลยเป็นสันติ แต่ก่อนมันเป็นสันติออกมา จึงนั่งทำความเพียรต่อไป จิตในขณะที่นั่งทำความเพียรคราวนั้นไม่ได้เอาใจใส่ในสิ่งอื่นเลย ถ้าเราจะหยุดความเพียรก็หยุดได้ตามสบาย เมื่อเราหยุดความเพียร เจ้าเกียจคร้านไหม เจ้าเหนื่อยไหม เจ้ารำคาญไหม เปล่า ไม่มีตอบได้ว่าไม่มี ของเหล่านี้ไม่มีในจิตใจ มีแต่ความพอดีหมดทุกอย่างในนั้น ถ้าเราจะหยุดก็หยุดเอาเฉย ๆ นี่แหละ
ต่อมาจึงหยุดพัก หยุดแต่การนั่งเท่านั้น ใจเหมือนเก่ายังไม่หยุด เลยดึงเอาหมอนลูกหนึ่งมาวางไว้ ตั้งใจจะพักผ่อนเมื่อเอนกายลงจิตยังสงบอยู่อย่างเดิม พอศีรษะจะถึงหมอนมีอาการน้อมในใจ ไม่รู้มันน้อมไปไหน แต่มันน้อมเข้าไปคล้ายกับมีสายไฟอันหนึ่งไปถูกสวิตช์ไฟเข้า ไปดันกับสวิตช์อันนั้น กายก็ระเบิดเสียงดังมาก ความรู้ที่มีอยู่นั้นละเอียดที่สุด พอมันผ่านตรงจุดนั้นก็หลุดเข้าข้างในโน้น ไปอยู่ข้างในซึ่งไม่มีอะไร แม้อะไรอะไรทั้งปวงก็ส่งเข้าไปไม่ได้ส่งเข้าไปไม่ถึง ไม่มีอะไรไปถึงหยุดอยู่ข้างในสักพักหนึ่ง ก็ถอยออกมา คำว่าถอยออกมานี้ไม่ใช่ว่าจะให้มันถอยออกมาหรอก เราเป็นเพียงผู้ดูเฉย ๆ เราเป็นผู้รู้เท่านั้น อาการเหล่านี้เป็นออกมา ๆ ก็มาถึงปกติจิตธรรมดา
เมื่อเป็นปกติดังเดิมแล้ว คำถามก็มีขึ้นมาว่า นี่มันอะไร? คำตอบเกิดขึ้นว่า สิ่งเหล่านี้ของเป็นเอง ไม่ต้องสงสัยมันพูดเท่านี้จิตก็ยอม เมื่อหยุดอยู่พักหนึ่งก็น้อมเข้าไปอีก เราไม่ได้น้อมมันน้อมเอง พอน้อมเข้าไป ๆ ก็ไปถูกสวิตช์ไฟอย่างเก่า ครั้งที่สองนี้ร่างกายแตกละเอียดหมด หลุดเข้าไปข้างในอีก เงียบ! ยิ่งเก่งกว่าเก่า ไม่มีอะไรส่งเข้าไปถึง เข้าไปอยู่ตามปรารถนาของมันพอสมควรแล้วก็ถอยออกมาตามสภาวะของมัน ในเวลานั้นมันเป็นอัตโนมัติ มิได้แต่งว่าจงเป็นอย่างนั้น จงเป็นอย่างนี้ จงออกอย่างนี้ จงเข้าอย่างนั้นไม่มี เราเป็นเพียงผู้ทำความรู้ ดูอยู่เฉย ๆ มันก็ถอยออกมาถึงปกติมิได้สงสัย แล้วก็นั่งพิจารณาน้อมเข้าไปอีกครั้งที่สามนี้โลกแตกละเอียดหมด ทั้งพื้นปฐพี แผ่นดิน แผ่นหญ้าต้นไม้ ภูเขาเลากา เป็นอากาศธาตุหมด ไม่มีคน หมดไปเลย ตอนสุดท้ายนี้ไม่มีอะไร
เมื่อเข้าไปอยู่ตามปรารถนาของมัน ไม่รู้ว่ามันอยู่อย่างไร ดูยาก พูดยาก ของสิ่งนี้ไม่มีอะไรมาเปรียบปานได้เลย นานที่สุดที่อยู่ในนั้น พอถึงกำหนดเวลาก็ถอนออกมา คำว่าถอนเราก็มิได้ถอนหรอก มันถอนของมันเอง เราเป็นผู้ดูเท่านั้น ก็เลยออกมาเป็นปกติ สามขณะนี้ใครจะเรียกว่าอะไร ใครรู้ เราจะเรียกอะไรเล่า
ที่เล่ามานี้เรื่องจิตตามธรรมชาติทั้งนั้น อาตมามิได้กล่าวถึงจิต ถึงเจตสิก ไม่ต้องอะไรทั้งนั้น มีศรัทธา ทำเข้าไปจริง ๆ เอาชีวิตเดินพัน เมื่อถึงวาระที่เป็นอย่างนี้ออกมาแล้ว โลกนี้ แผ่นดินนี้มันพลิกไปหมด ความรู้ความเห็นมันแปลกไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง ในระยะนั้นถ้าคนอื่นเห็นอาจจะว่าเราเป็นบ้าจริง ๆ ถ้าผู้ควบคุมสติไม่ดีอาจเป็นบ้าได้นะ เพราะมันไม่เหมือนเก่าสักอย่างเลย เห็นคนในโลกไม่เหมือนเก่า แต่มันก็เป็นผู้เดียวเท่านั้น แปลกไปหมดทุกอย่าง ความนึกคิดทั้งหลายทั้งปวงนั้น เขาคิดไปทางโน้น แต่เราคิดไปทางนี้ เขาพูดมาทางนี้ เราพูดไปทางโน้น เขาขึ้นทางโน้น เราลงทางนี้ มันต่างกับมนุษย์ไปหมด มันก็เป็นของมันเรื่อย ๆ ไป
เวลาทำสมาธิ

ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก

ให้รู้ลมหายใจเข้าออก

หายใจเข้าสั้นก็รู้

หายใจออกสั้นก็รู้

หายใจเข้ายาวก็รู้

หายใจออกยาวก็รู้

ไม่ต้องบังคับลมหายใจ

ตามรู้ลมหายใจเข้าออก

สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้

สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย

ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ

เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น

ทำอะไรก็ให้รู้เหตุปัจจัย

รู้ไม่ใช่เพื่อ ยินดี ยินร้าย รู้เพื่อให้ รู้เหตุปัจจัย

เหตุแห่งความเจริญ

เคารพ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

เคารพ สิกขา 3 ศีล สมาธิ ปัญญา

เคารพในความไม่ประมาท

เคารพในการปฎิสันฐาน

เคารพใน ศีล

เคารพใน สมาธิ

เคารพในกันและกัน

หลักตัดสิน ธรรมวินัย 8 ประการ

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด

เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้

เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส

เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย

เป็นไปเพื่อสันโดษ

เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ

เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร

เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย

ธรรมที่ควรเจริญ

สติ

สัมปัชชัญญะ

ศีล

สมาธิ

ปัญญา

วิมุตติ

วิมุตติญาณทัสสนะ

สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ

สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ

สัมมาวาจา พูดชอบ

สัมมาอาชีโว อาชีพชอบ

สัมมากัมมันโต การงานชอบ

สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ

สัมมาสติ ระลึกชอบ

สัมมาสมาธิ ตั้งมั่นชอบ

สัมมาญาณะ ความรู้ชอบ

สัมมาวิมุตติ หลุดพ้นชอบ

สัมมาวิมุตติญาณทัสสนะ ความเห็นในการหลุดพ้นชอบ

สัมมาทิฏฐิ

คือ รู้ชัดซึ่ง เหตุแห่ง กุศล วิชชา เป็น เหตุ

รู้ชัดซึ่ง เหตุแห่ง อกุศล อวิชชา เป็น เหตุ

การบรรลุธรรมอาศัย สติ ปัญญา อุเบกขา เป็นมัทยัทธ์

รักษาสัจจะ เพิ่มพูลจาคะ ไม่ประมาทปัญญา ศึกษาสันติ

การปฎิบัติธรรม

คบสัตบุรุษ ฟังพระสัทธรรม อยู่ในประเทศเหมาะสม ตั้งสัจจะ เดินสัมมาทิฏฐิ เจริญความสงบ

ออกพิจารณาด้านปัญญา + พลังกุศล - บ่มอินทรีย์ นิพพิทา วิราคะ วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ

สติ - ศีล - สมาธิ - ปัญญา - วิมุตติ - วิมุตติญาณทัสสนะ

อัปปมาโณพุทโธ อานุภาพพระพุทธเจ้าไม่มีประมาณ

อัปปมาโณธัมโม อานุภาพพระธรรมไม่มีประมาณ

อัปปมาโณสังโฆ อานุภาพพระสงฆ์ไม่มีประมาณ

เรื่องของสมมติ อวิชชา ตัวตน ยึดตรงไหน หลงที่ไหน ผิดที่นั้น จุดต่อมแห่งภพชาติ

wiweksikkaram.hi5
 
จำนวนผู้ตอบ: 114
สมัครสมาชิก: Mon Mar 15, 2010 12:20 am
ที่อยู่: สุทธาวาสภูมิ

Re: ชีวิตแลกธรรม

Postโดย wiweksikkaram.hi5 » Sat Jul 03, 2010 11:34 pm

หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต
ท่านเดินหลงทางอยู่กลางป่าหลายวัน ค่ำไหนนอนนั่น ข้าวก็ไม่ได้ฉัน ต้องเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า เหนื่อยก็เหนื่อยแต่กาย แต่ใจไม่เคยเหนื่อยหน่ายย่อท้อ ตั้งใจมุ่งมั่นว่าจะไปแล้วต้องไปให้ถึง ทำอะไรต้องทำให้สำเร็จ แม้จะยากลำบากขนาดไหนก็ตาม พอหลายวันเข้าน้ำในกาก็หมด เดินแวะขั้นลงป่าหุบเขาตรงไหนก็คิดว่าพอจะมีน้ำสักหยดก็ไม่มี ล้าก็ล้า เหนื่อยก็เหนื่อย หิวน้ำก็หิว ฉันน้ำปัสสาวะตัวเองนี่แหละ ท่านจึงฉันน้ำปัสสาวะ ฉันไปฉันมาน้ำปัสสาวะ ก็ไม่มีให้ฉัน ร่างกายขาดน้ำ ท่านต้องอดทนต่อทุกขเวทนาอย่างมาก ทั้งเหนื่อยทั้งเพลีย ไหนจะต้องแบกบาตรสะพายกลด ถือกาเปล่า ๆ ร่างกายยามนี้ถือหรือแบกอะไรมันช่างหนักไปหมด ตายแน่ ๆ ตายอยู่กลางป่านี้แน่ ๆ เราทอดอาลัยตายอยาก จะตายทั้งทีก็อย่าให้ร่างกายเน่าเสียเปล่า ปักกลดนั่งภาวนากลางทางเสือทางช้างป่าผ่านนี่แหละ พลบค่ำเลือกได้ที่เหมาะ ๆ แห่งหนึ่ง จึงได้ปักกลดพักภาวนา คราวนี้เป็นคราวที่เราจนตรอก จนมุมแล้วหลงทางกลางป่ากลางดงคนเดียว ไม่มีใครช่วย คงต้องเอาชีวิตมาทิ้งที่นี่แน่ ๆ เอาละ ตายก็ตาย นั่งภาวนาสละตายอยู่ตรงนี้แหละ
พอคิดได้ดังนั้นจึงภาวนาตาย ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ตั้งมรณานุสติ ระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์อยู่อย่างนั้น จิตที่สงบแน่วแน่ตั้งมั่นเป็นสมาธิ ร่างกายหายหมด เหลือแต่ผู้รู้สว่างไสวอยู่อันเดียว สัตว์ชนิดหนึ่งวิ่งชนกลดดังโครงคราว ๆ ถึงสามครั้งสามหน ปานกลดจะพังให้ได้ ท่านไม่ได้สะดุ้งตกใจกลัวแต่อย่างใด จิตใจกลับองอาจกล้าหาญ พอเปิดมุ้งกลดออกดู มองเห็นเสือโคร่งใหญ่ลายพาดกลอน ยืนจังก้าจ้องหน้ามายังท่านเหมือนจะกินเลือดกินเนื้อห่างออกไปราว ๓ – ๔ วา ได้ถนัดชัดเจน เพราะเป็นคืนเดือนเพ็ญ จึงคิดว่าดีละ ไหน ๆ ก็จะถึงที่ตายอยู่แล้ว จะตายทั้งทีร่างกายนี้จะได้ไม่ต้องน่าเปื่อยผุผังเสียเปล่า ๆ มีผู้มาเก็บศพให้ก็ดีแล้ว เราจะเดินไปให้เสือกินพร้อมทั้งบริขารนี่แหละ คิดดังนั้นแล้วจึงเก็บบริขารทั้งหมด ได้เดินดุ่ม ๆ เข้าไปหาเสือกิน โดยไม่สะทกสะท้านกับความตายแต่ประการใด “ฮืบมากนมา เฮามาให้กินแล้ว กินให้หมดเด้อ อย่าให้เหลือซาก มันสิเหน่าเหม็นถิ่มซื่อ ๆ” ทั้งพูดทั้งเดินเข้าไปหาเสือ แปลกแต่จริง พอมันเห็นท่านเดินเข้าไปหา กลับถอยหลังกรูด ๆ หันหลังให้แล้ววิ่งไปข้างหน้าหน่อยหนึ่งหันกลับม้าองมองท่านอีก ตะกายดิน แล้วกระโจนเข้าป่าหนีไป
ผ่านดงแม่เผด มีฝูงควายใหญ่ประมาณสี่สิบกว่าตัวพร้อมกันลุกพรวดพราด ท่าทางไม่ประสงค์ดี สายตาของมันจ้องมองมายังท่าน พร้อมกับสิ่งตะบึงตะบันเข้ามาหา เราจะทำอย่างไรดี เอาละตายเป็นตาย หนีไม่พ้นแล้วจะทำยังไงพึ่งใครไม่ได้แล้ว มีแต่คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระอริยสงฆ์เท่านั้นแหละ เสี้ยววินาทีก่อนฝูงควายจะมาถึงตัวนั้น เมื่อตั้งสติได้จึงกำหนดแผ่เมตตาจิตอย่างไม่มีประมาณ เจาะจงพุ่งเข้าไปที่ควายฝูงนั้นทันที อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย จงอยู่เป็นสุขเป็นสุขเมื่อเกิดอัศจรรย์นักโอ...คุณพระรัตนตรัย คุณบิดามารดา คุณครูบาอาจารย์ ควายทั้งฝูงหยุดชะงักทันที กิริยาอาการที่เป็นศัตรู หรือดุร้ายก่อนหน้านี้กลับกลายท่าทางเป็นมิตร เหมือนกับว่าท่านเป็นเจ้าของมันทำท่าทางสะบัดหูสะบัดหางเหมือนรู้จักกันและได้เดินนำหน้าหลวงปู่เข้าสู่หมู่บ้าน ท่านก็เดินตามหลังพวกมันไป
คืนหนึ่ง ขณะที่คลิ้ม ๆ หลับอยู่นั้น ท่านก็สะดุ้งตื่นเมื่อได้ยินเสียงยวบ ๆ ยาบ ๆ เป็นจังหวะ เสียงดังโป๊ะป๊ะ ๆ เป็นระยะ ๆ ทันใดนั่นเองก็รู้สึกเหมือนกับว่ามีตัวอะไรมายืนคร่อมท่าน ทั้งมุ้งกลดก็โย้เย้ไปมาอยู่ ท่านจึงได้รู้ว่าเป็นช้างป่าตัวใหญ่มาก แต่ไม่ตกใจกล้าเลย กลับมีจิตใจเป็นปกติ แผ่เมตตาให้มัน ท่านว่าตัวที่ยืนคร่อมกลดท่านนั้น เป็นช้างสีดอตัวใหญ่มาก มากับโขลงช้างป่าที่มาเที่ยวหากิน
ท่านตั้งสัจจะอธิษฐานว่าจะอดอาหาร ๕๐ วัน ๖ วันแรกท่านไม่ฉันอะไรเลย แม้แต่น้ำก็ไม่ฉัน หลังจากนั้นจึงฉันแต่น้ำเปล่าเท่านั้น ตั้งใจปฏิบัติภาวนาอย่างอุกฤษฎ์ เอาเป็นเอาตายเข้าว่า นั่งสมาธิทั้งวัน เดินจงกรมตลอดคืน บางทีก็นั่งสมาธิตลอดคืนสลับกับเดินจงกรมทั้งวัน ทำอยู่อย่างนั้นจนร่างกายอ่อนเพลียมากเดินไม่ไหว ก็ไม่ต้องเดิน ท่านก็ได้แต่นั่งภาวนาเอาร่างกายท่านซูบผอมมากเหลือแต่หนังหุ้มกระดูก พองดอาหารมาได้ ๔๕ วัน เมื่อขาดสารอาหารไปหล่อเลี้ยงร่างกายมาก ๆ เข้า ท่านก็ไม่สามารถลุกนั่งได้
แต่จิตใจท่านไม่ได้ย่อท้อ กลับมีกำลังเข้มแข็ง จิตใจเหมือนจะเหาะจะบินเพราะมีความปิติสุขเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง มีความอิ่มใจ ดื่มด่ำอยู่ในรสแห่งพระธรรม ดั่งคำที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ธรมรโส สพพรสชินาติ รสแห่งธรรมย่อมชนะซึ่งรสทั้งปวง ดังนี้ ท่านมีความรื่นเริงบันเทิง เบิกบาน มุ่งมั่นอยู่กับอรรถกับธรรมที่กำลังพินิจพิจารณาอยู่ยิ่งอดก็ยิ่งได้กำลังใจ ภาวนาสะดวกยิ่งขึ้น จิตสงบเป็นสมาธิได้ง่าย เมื่อพิจารณาทางด้านปัญญายิ่งคล่องแคล่ว เมื่อนั่งไม่ได้ท่านก็นอนภาวนาอย่างเดียว ท่านได้กำหนดรู้ทุกขเวทนากล้าได้อย่างชัดเจน ท่านได้รู้ได้เห็นเหตุการณ์เกี่ยวกับตัวท่านเองหลาย ๆ อย่างไม่ลุกไปไหน นอนอยู่อย่างนั้นแหละ จนในที่สุดก็ครบ ๕๐ วันตามที่ท่านตั้งสัจจะไว้
หลวงปู่คำดี ปภาโส ได้กล่าวยกย่องปฏิปทาหลวงปู่ผางไว้ว่า “ท่านเป็นพระที่ปฏิบัติจริงมาก ปฏิบัติแบบสละชีวิตได้เลย ในคราวที่ท่านไปบำเพ็ญเพียรที่ถ้ำน้ำหนาว จนได้พบ วิโมกขธรรมภายในพรรษา”
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ได้กล่าวยกย่องปฏิปทาหลวงปู่ผางไว้ว่า “ท่านเข้าถึงธรรมะไม่มีวัย ไม่มีเกิดไม่มีตาย เป็นธรรมล้วน ๆ เป็นธรรมธาตุ ไม่มีคำว่าอดีต อนาคต เหมือนโลกสมบัติทั้งหลายถือกัน”
กว่าจะได้ธรรมมาสอนโลกเอาชีวิตเข้าแลกธรรม

“ดูกรสุภัททะ อริยมรรค ประกอบด้วยองค์แปดเป็นทางประเสริฐ
สามารถให้บุคคลผู้เดินไปตามทางนี้ถึงซึ่งความสุขสงบเย็นเต็มที่เป็นทางเดินไปสู่อมตะ”
หลวงปู่จันทร์ สิริจันโท (พระอุบาลีคุณูปมาจารย์)
วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร ยศเส กรุงเทพมหานคร
“ความระงับสังขารทั้งหลายนั้น ท่านมิได้หมายถึงความตาย ท่านหมายถึงวิปัสสนาญาณ และอาสวักขยญาณคือปัญญารู้เท่าสังขาร รู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะเป็นชื่อของพระนิพพานเป็นยอดแห่งความสุข
หนังสือ “ธรรมพระบูรพาจารย์” (หน้า ๓)



พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ
พระที่มีระเบียบธรรมวินัย คือ องค์แทนของศาสดาเป็นเครื่องปฏิบัติดำเนินความสงบเสงี่ยมเจียมตัวระวังกาย วาจา ใจ ไม่ให้เคลื่อนไปในทางผิดนั่นแลคือพระที่ทรงมรรค ทรงผล ทรงธรรม ทรงวินัย จะสามารถทรงตัวได้ดีทั้งปัจจุบัน และอนาคตไม่เสื่อมเสีย
พระหลวงปู่มั่น ท่านมีนิสัยผาดโผนนับแต่เริ่มออกปฏิบัติใหม่ ๆ แม้ขณะจิตจะเข้าถึงจุดอันเป็นวาระสุดท้ายก็ยังแสดงลวดลายให้องค์ท่านเอง เล่าให้ลูกศิษย์ฟังพอเป็นขวัญใจ คือ “พอจิตพลิกคว่ำวัฏทจักรออกจากใจโดยสิ้นเชิงแล้ว ยังแสดงขณะเป็นลักษณะฉวัดเฉวียนเวียนรอบตัววิวัฏฏจิตถึงสามรอบ รอบที่หนึ่งสิ้นสุดลงแสดงบทบาลีขึ้นมาว่า โลโป บอกความหมายขึ้นมาพร้อมว่า ขณะใหญ่ของจิตที่ทำหน้าที่สิ้นสุดลงนั้น คือการลบสมมติทั้งสิ้นออกจากใจ รอบที่สอง สิ้นสุดลงแสดงคำบาลีขึ้นมาว่า วิมุตติ บอกความหมายว่าขณะใหญ่ของจิตที่ทำหน้าที่สิ้นสุดลงนั้น คือความหลุดพ้นอย่างตายตัว รอบที่สามสิ้นสุดลงนั้นคือ การตัดอาวรณ์โดยสิ้นเชิง เป็นเอกจิต เอกธรรม จิตแท้ ธรรมแท้ มีอันเดียว ไม่มีสองเหมือนสมมติทั้งหลาย นี่คือวิมุตติธรรมล้วน ๆ ไม่มีสมมติเข้ามาแอบแฝง จึงมีได้เพียงอันเดียว รู้ได้เพียงครั้งเดียว ไม่มีสองมีสามมาสืบต่อสนับสนุนกันพระพุทธเจ้า และพระสาวกล้วนแต่รู้เพียงครั้งเดียวก็เป็นเอกจิต เอกธรรมอันสมบูรณ์ ไม่แสวงเพื่ออะไรอีก สมมติภายในคือ ขันธ์ก็เป็นขันธ์

พุทธโอวาทของพระพุทธเจ้า “ดูกรสุภัททะ ถ้าภิกษุ หรือใครก็ตามจะพึงอยู่โดยชอบ
ปฏิบัติดำเนินตามมรรคอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดนี้อยู่
โลกก็จะพึงว่างจากพระอรหันต์”
พระหลวงปู่เสาร์ กนตสีโล
วัดอนาตุ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
“ให้พาพันละบาป และบำเพ็ญบุญอย่างให้เสียชีวิตและลมหายใจไปเปล่าที่ได้มีวาสนาเกิดเป็นมนุษย์” “จะให้ทานมากหลายท่อใด๋ (เท่าใด) กะสู้บวชเป็นชีเป็นขาว รักษาศีลอุโบสถบ่ได้” “พิจารณาความตายให้มาก ๆ ไม่ว่าคนหรือสัตว์ เกิดมาแล้วก็ต้องตายเพราะเกิดกับตายเป็นของคู่กัน”
หนังสือ “ธรรมพระบูรพาจารย์” (หน้า ๔)
ล้วน ๆ ไม่เป็นพิษเป็นภัยและทรงตัวอยู่ตามปกติเดิม ไม่มีการเพิ่มขึ้น และลดลงตามความตรัสรู้ คือ ขันธ์ที่เคยนึกคิด เป็นต้น ก็ทำหน้าที่ของตนไปตามคำสั่งของจิตผู้บงการ จิตที่เป็นวิมุตติก็หลุดพ้นจากความคละคล้าพัวพันในขันธ์ต่างอันต่างอยู่ ต่างอันต่างจริง ต่างไปหาเรื่องหลอกลวงต้มตุ๋นกันดังที่เคยเป็นมา ต่างฝ่ายต่างสงบอยู่ตามธรรมชาติของตนต่างฝ่ายต่างทำธุระหนาที่ประจำตนจนกว่าจะถึงกาลแยกย้ายจากส่วนผสม เมื่อกาลนั้นมาถึงจิตที่บริสุทธิ์ก็แสดง ยาถาทีโป จ นิพพุโต เหมือนประทีปดวงไฟที่หมดเชื้อแล้วดับไป ฉะนั้นไปตามความจริงเรื่องของสมมติที่เกี่ยวข้องก็มีเพียงเท่านี้ นอกนั้นไม่มีสมมติจะติดต่อกันให้เกิดเรื่องราวต่อไป นี่คือธรรมแสดงในจิตท่านขณะแสดงลวดลายเป็นขณะสามรอบจบลง อันเป็นวาระสุดท้ายแห่งสมมติกับวิมุตติทำหน้าที่ต่อกัน และแยกทางกันเดินตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้น ตลอดคืนวันนั้นท่านว่าท่านปลงความสังเวชในความโง่เขลาเต่าตุ่น ซึ่งเปรียบเหมือนหุ่น ตัวท่องเที่ยวในภพน้อยใหญ่ไม่มีประมาณ จนน้ำไหลตลอดคืน
“หนังสือประวัติ ท่านพระอาจารย์มั่น” (หน้า ๑๑๘)
เวลาทำสมาธิ

ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก

ให้รู้ลมหายใจเข้าออก

หายใจเข้าสั้นก็รู้

หายใจออกสั้นก็รู้

หายใจเข้ายาวก็รู้

หายใจออกยาวก็รู้

ไม่ต้องบังคับลมหายใจ

ตามรู้ลมหายใจเข้าออก

สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้

สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย

ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ

เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น

ทำอะไรก็ให้รู้เหตุปัจจัย

รู้ไม่ใช่เพื่อ ยินดี ยินร้าย รู้เพื่อให้ รู้เหตุปัจจัย

เหตุแห่งความเจริญ

เคารพ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

เคารพ สิกขา 3 ศีล สมาธิ ปัญญา

เคารพในความไม่ประมาท

เคารพในการปฎิสันฐาน

เคารพใน ศีล

เคารพใน สมาธิ

เคารพในกันและกัน

หลักตัดสิน ธรรมวินัย 8 ประการ

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด

เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้

เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส

เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย

เป็นไปเพื่อสันโดษ

เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ

เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร

เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย

ธรรมที่ควรเจริญ

สติ

สัมปัชชัญญะ

ศีล

สมาธิ

ปัญญา

วิมุตติ

วิมุตติญาณทัสสนะ

สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ

สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ

สัมมาวาจา พูดชอบ

สัมมาอาชีโว อาชีพชอบ

สัมมากัมมันโต การงานชอบ

สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ

สัมมาสติ ระลึกชอบ

สัมมาสมาธิ ตั้งมั่นชอบ

สัมมาญาณะ ความรู้ชอบ

สัมมาวิมุตติ หลุดพ้นชอบ

สัมมาวิมุตติญาณทัสสนะ ความเห็นในการหลุดพ้นชอบ

สัมมาทิฏฐิ

คือ รู้ชัดซึ่ง เหตุแห่ง กุศล วิชชา เป็น เหตุ

รู้ชัดซึ่ง เหตุแห่ง อกุศล อวิชชา เป็น เหตุ

การบรรลุธรรมอาศัย สติ ปัญญา อุเบกขา เป็นมัทยัทธ์

รักษาสัจจะ เพิ่มพูลจาคะ ไม่ประมาทปัญญา ศึกษาสันติ

การปฎิบัติธรรม

คบสัตบุรุษ ฟังพระสัทธรรม อยู่ในประเทศเหมาะสม ตั้งสัจจะ เดินสัมมาทิฏฐิ เจริญความสงบ

ออกพิจารณาด้านปัญญา + พลังกุศล - บ่มอินทรีย์ นิพพิทา วิราคะ วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ

สติ - ศีล - สมาธิ - ปัญญา - วิมุตติ - วิมุตติญาณทัสสนะ

อัปปมาโณพุทโธ อานุภาพพระพุทธเจ้าไม่มีประมาณ

อัปปมาโณธัมโม อานุภาพพระธรรมไม่มีประมาณ

อัปปมาโณสังโฆ อานุภาพพระสงฆ์ไม่มีประมาณ

เรื่องของสมมติ อวิชชา ตัวตน ยึดตรงไหน หลงที่ไหน ผิดที่นั้น จุดต่อมแห่งภพชาติ

wiweksikkaram.hi5
 
จำนวนผู้ตอบ: 114
สมัครสมาชิก: Mon Mar 15, 2010 12:20 am
ที่อยู่: สุทธาวาสภูมิ

Re: ชีวิตแลกธรรม

Postโดย wiweksikkaram.hi5 » Thu Jul 15, 2010 1:27 am

พระพุทธเจ้า 15.jpg
เวลาทำสมาธิ

ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก

ให้รู้ลมหายใจเข้าออก

หายใจเข้าสั้นก็รู้

หายใจออกสั้นก็รู้

หายใจเข้ายาวก็รู้

หายใจออกยาวก็รู้

ไม่ต้องบังคับลมหายใจ

ตามรู้ลมหายใจเข้าออก

สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้

สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย

ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ

เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น

ทำอะไรก็ให้รู้เหตุปัจจัย

รู้ไม่ใช่เพื่อ ยินดี ยินร้าย รู้เพื่อให้ รู้เหตุปัจจัย

เหตุแห่งความเจริญ

เคารพ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

เคารพ สิกขา 3 ศีล สมาธิ ปัญญา

เคารพในความไม่ประมาท

เคารพในการปฎิสันฐาน

เคารพใน ศีล

เคารพใน สมาธิ

เคารพในกันและกัน

หลักตัดสิน ธรรมวินัย 8 ประการ

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด

เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้

เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส

เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย

เป็นไปเพื่อสันโดษ

เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ

เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร

เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย

ธรรมที่ควรเจริญ

สติ

สัมปัชชัญญะ

ศีล

สมาธิ

ปัญญา

วิมุตติ

วิมุตติญาณทัสสนะ

สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ

สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ

สัมมาวาจา พูดชอบ

สัมมาอาชีโว อาชีพชอบ

สัมมากัมมันโต การงานชอบ

สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ

สัมมาสติ ระลึกชอบ

สัมมาสมาธิ ตั้งมั่นชอบ

สัมมาญาณะ ความรู้ชอบ

สัมมาวิมุตติ หลุดพ้นชอบ

สัมมาวิมุตติญาณทัสสนะ ความเห็นในการหลุดพ้นชอบ

สัมมาทิฏฐิ

คือ รู้ชัดซึ่ง เหตุแห่ง กุศล วิชชา เป็น เหตุ

รู้ชัดซึ่ง เหตุแห่ง อกุศล อวิชชา เป็น เหตุ

การบรรลุธรรมอาศัย สติ ปัญญา อุเบกขา เป็นมัทยัทธ์

รักษาสัจจะ เพิ่มพูลจาคะ ไม่ประมาทปัญญา ศึกษาสันติ

การปฎิบัติธรรม

คบสัตบุรุษ ฟังพระสัทธรรม อยู่ในประเทศเหมาะสม ตั้งสัจจะ เดินสัมมาทิฏฐิ เจริญความสงบ

ออกพิจารณาด้านปัญญา + พลังกุศล - บ่มอินทรีย์ นิพพิทา วิราคะ วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ

สติ - ศีล - สมาธิ - ปัญญา - วิมุตติ - วิมุตติญาณทัสสนะ

อัปปมาโณพุทโธ อานุภาพพระพุทธเจ้าไม่มีประมาณ

อัปปมาโณธัมโม อานุภาพพระธรรมไม่มีประมาณ

อัปปมาโณสังโฆ อานุภาพพระสงฆ์ไม่มีประมาณ

เรื่องของสมมติ อวิชชา ตัวตน ยึดตรงไหน หลงที่ไหน ผิดที่นั้น จุดต่อมแห่งภพชาติ

wiweksikkaram.hi5
 
จำนวนผู้ตอบ: 114
สมัครสมาชิก: Mon Mar 15, 2010 12:20 am
ที่อยู่: สุทธาวาสภูมิ


กลับไปหน้า ธรรมเพื่อชีวิต

ผู้ที่กำลัง online

ผู้ที่กำลังอ่าน forum นี้: สมาชิก ไม่มีสมาชิก และ ผู้เยี่ยมชม 5 คน

cron