สงสัยในกรรม

พื้นที่สำหรับผู้ปฏิบัติธรรม แล้วมีข้อสงสัย ติดขัด อยากได้คำแนะนำจากผู้ร่วมเดินทางสายที่สุดแห่งทุกข์

สงสัยในกรรม

Postโดย pongsthep » Sun Oct 10, 2010 7:10 pm

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นเผาพันธ์ มีข้อสงสัยอยู่ว่า
1. บุพกรรมของพระมหาโมคคัลลานะ ในอดีตชาติที่ปลอมมาเป็นโจร ใช้ไม้ทุบพ่อและแม่ตายทั้งคู่ และในชาติสุดท้ายพระมหาโมคคัลลานะถูกโจรทุบตีกระดูกแตกละเอียด
1.1 อยากทราบว่าโจรกลุ่มนี้เคยเป็นเจ้ากรรมนายเวรของท่านหรือเปล่า หรือเป็นพ่อแม่ท่านที่เคยถูกกระทำ
1.2 ถ้าไม่มีใครทำท่านจะหมดกรรมได้หรือไม่ โจรกลุ่มนี้กระทำเท่ากับว่าสร้างกรรมใหม่ แล้วเวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวรยังต้องรับกรรมนั้นอยู่หรือเปล่า

2. ไม่เจตนาเป็นกรรมหรือเปล่า หมายถึง เจตนาช่วยเหลือคนอื่นแต่ทำให้เขาได้รับความเดือนร้อนจนถึงความตาย

3. ทำอย่างไรไม่ต้องกลับมาเกิดอีก ต้องเข้าถึงพระอรหันต์อย่างเดียวหรือไม่
3.1 ไม่บวชเป็นพระ เป็นปุถุชนมีสิทธิ์เข้าถึงนิพพานได้หรือไม่
3.2 ต้องบำเพ็ญเท่าไร(กัลป์) ถึงไ้ด้พระอรหันต์
pongsthep
 
จำนวนผู้ตอบ: 8
สมัครสมาชิก: Fri Sep 03, 2010 8:48 pm

Re: สงสัยในกรรม

Postโดย wiweksikkaram.hi5 » Mon Oct 11, 2010 6:24 pm

เรื่องของกรรมไม่ขอตอบ เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้า

ทำอย่างไรไม่เกิดก็ทำลายสิ่งที่ทำให้เกิด คือ อวิชชา

ไม่ต้องบวชก็สามารถเข้าถึงได้

ตามปกติก็ 100000 กัลป์ แต่ไม่ต้องสนใจอดีต ปัจจุบันมาเจอคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

เอาปัจจุบันให้แจ้ง
เวลาทำสมาธิ

ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก

ให้รู้ลมหายใจเข้าออก

หายใจเข้าสั้นก็รู้

หายใจออกสั้นก็รู้

หายใจเข้ายาวก็รู้

หายใจออกยาวก็รู้

ไม่ต้องบังคับลมหายใจ

ตามรู้ลมหายใจเข้าออก

สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้

สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย

ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ

เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น

ทำอะไรก็ให้รู้เหตุปัจจัย

รู้ไม่ใช่เพื่อ ยินดี ยินร้าย รู้เพื่อให้ รู้เหตุปัจจัย

เหตุแห่งความเจริญ

เคารพ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

เคารพ สิกขา 3 ศีล สมาธิ ปัญญา

เคารพในความไม่ประมาท

เคารพในการปฎิสันฐาน

เคารพใน ศีล

เคารพใน สมาธิ

เคารพในกันและกัน

หลักตัดสิน ธรรมวินัย 8 ประการ

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด

เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้

เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส

เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย

เป็นไปเพื่อสันโดษ

เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ

เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร

เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย

ธรรมที่ควรเจริญ

สติ

สัมปัชชัญญะ

ศีล

สมาธิ

ปัญญา

วิมุตติ

วิมุตติญาณทัสสนะ

สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ

สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ

สัมมาวาจา พูดชอบ

สัมมาอาชีโว อาชีพชอบ

สัมมากัมมันโต การงานชอบ

สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ

สัมมาสติ ระลึกชอบ

สัมมาสมาธิ ตั้งมั่นชอบ

สัมมาญาณะ ความรู้ชอบ

สัมมาวิมุตติ หลุดพ้นชอบ

สัมมาวิมุตติญาณทัสสนะ ความเห็นในการหลุดพ้นชอบ

สัมมาทิฏฐิ

คือ รู้ชัดซึ่ง เหตุแห่ง กุศล วิชชา เป็น เหตุ

รู้ชัดซึ่ง เหตุแห่ง อกุศล อวิชชา เป็น เหตุ

การบรรลุธรรมอาศัย สติ ปัญญา อุเบกขา เป็นมัทยัทธ์

รักษาสัจจะ เพิ่มพูลจาคะ ไม่ประมาทปัญญา ศึกษาสันติ

การปฎิบัติธรรม

คบสัตบุรุษ ฟังพระสัทธรรม อยู่ในประเทศเหมาะสม ตั้งสัจจะ เดินสัมมาทิฏฐิ เจริญความสงบ

ออกพิจารณาด้านปัญญา + พลังกุศล - บ่มอินทรีย์ นิพพิทา วิราคะ วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ

สติ - ศีล - สมาธิ - ปัญญา - วิมุตติ - วิมุตติญาณทัสสนะ

อัปปมาโณพุทโธ อานุภาพพระพุทธเจ้าไม่มีประมาณ

อัปปมาโณธัมโม อานุภาพพระธรรมไม่มีประมาณ

อัปปมาโณสังโฆ อานุภาพพระสงฆ์ไม่มีประมาณ

เรื่องของสมมติ อวิชชา ตัวตน ยึดตรงไหน หลงที่ไหน ผิดที่นั้น จุดต่อมแห่งภพชาติ

wiweksikkaram.hi5
 
จำนวนผู้ตอบ: 114
สมัครสมาชิก: Mon Mar 15, 2010 12:20 am
ที่อยู่: สุทธาวาสภูมิ

Re: สงสัยในกรรม

Postโดย ผู้เขียน » Tue Oct 12, 2010 4:41 am

ตอบถูกต้องแล้วทุกอย่างครับ ขออนุโมทนาด้วย

(เรื่องกรรมเป็นเรื่องพุทธวิสัย ปัจจุบันชอบมีผู้ตอบปัญหากรรมกันเป็นล่ำเป็นสัน บางทีผิด บางทีถูก ทั้งนี้เพราะไปล่วงล้ำสิ่งอันเป็นพุทธวิสัย เพราะพระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วครับว่า ความละเอียดในกรรม เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าเท่านั้นถึงจะเข้าพระทัยได้อย่างแจ่มแจ้งทุกแง่มุม ฉะนั้น หน้าที่เรามีเพียงไม่ทำกรรมชั่วทุกประการ ทำแต่ความดี และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ลด ละ เลิกโลภ โกรธ หลง ครับ)
"ดูก่อน ทีฆนขะ มนุษย์เรานี้ บุคคลใดได้รับความสุข ก็จะลืมความทุกข์ชั่วขณะ บุคคลใดได้รับความทุกข์ ก็หาความสุขขณะนั้นไม่พบ คนส่วนมาก เมื่อมีทุกข์ มักคิดว่าทุกข์นั้นเป็นสิ่งเที่ยงแท้ เมื่อมีสุข ก็สำคัญว่าสุขนั้นจะอยู่กับเราตลอดไป หาคิดไม่ ว่าเป็นเสมือนการเห็นดวงจันทร์ในขันน้ำ มิอาจคว้าดวงจันทร์นั้นได้ คว้าได้แต่ขันเท่านั้นเอง สุขและทุกข์จึงเป็นของไม่เที่ยง เมื่อเห็นดังนี้แล้ว ผู้มีสติก็ย่อมเบื่อหน่ายทั้งสุขและทุกข์ ย่อมหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่น ไม่วิวาททุ่มเถียงกับผู้ใด แม้คำพูดนั้นจะระคายหู ก็ให้มีสติรู้ ว่าเป็นเพียงแค่คำพูดเท่านั้น"(พุทธพจน์)
ผู้เขียน
 
จำนวนผู้ตอบ: 77
สมัครสมาชิก: Sun Mar 14, 2010 12:23 pm
ที่อยู่: 4 Gunnamatta Place, Kelmscott, Western Australia, Australia, 6111

Re: สงสัยในกรรม

Postโดย นิรทุกข์ » Tue Oct 12, 2010 2:00 pm

สาธุ สาธุ สาธุ ขออนุโมทนาสาธุกับคำเฉลยของคุณ wiweksikkaram.hi5 ด้วยครับ ตอบได้ชัดแจ้ง กระจ่างยิ่งนัก

ด้วยความที่เคยอ่านมาบ้างเรื่องของฆราวาสที่บรรลุอรหันต์ ขอยกตัวอย่างสั้นๆ คือ เรื่องของ พาหิยะ ฆราวาสที่ฟังธรรมด้วยธรรมะที่สั้นๆว่า จงอย่ายึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวงเลย เพียงเท่านี้ก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ หลักจากนั้นก็ทูลขอบรรพชากับพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงให้ไปหาบาตร หาจีวรมาก่อน ขณะที่กำลังหาบาตร หาจีวรอยู่นั้นก็โดนวัวชนตายเสียก่อนบวช พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า พาหิยะ เป็นยอดของพระสาวกที่ตรัสรู้เร็วที่สุด


ลองอ่านเรื่องฉบับยาวได้ด้านล่างครับ


28-พระพาหิยเถระ
เอตทัคคะในทางขิปปาภิญญา


พระพาหิยะ เกิดในวรรณแพศย์ ตระกูลกุฎุมพี แคว้นพาหิยะ คงจะเรียกชื่อท่านตามชื่อ
แคว้น เมื่อเจริญวัยขึ้นได้ประกอบอาชีพค้าขายตามบรรพบุรุษ เนื่องจากมีถิ่นฐานอยู่แถบชายฝั่ง
ทะเล จึงอาศัยเรือเดินทะเลบรรทุกสุวรรณภูมิ อันตั้งอยู่ในแคว้นกัมโพชะ อินเดียตอนเหนือ ท่า
จอดเรือรับส่งขนถ่ายสินค้าที่ท่าเรือสุปปารกะ ในอปรันตชนบท

เรือแตกแต่รอดตาย
การเดินเรือค้าขายเป็นไปตามปกติตลอดมา แต่วันหนึ่งขณะที่เรือกำลังเล่นอยู่ในทะเล
ใกล้จะถึงท่าสุปปารกะ ได้มีลมพายุเกิดคลื่นใหญ่ซัดเรืออับปางลงลูกเรือตายทั้งหมด พาหิยะ
คนเดียวเท่านั้นที่อาศัยเกาะแผ่นกระดานสามารถพยุงกายมิให้จมน้ำตายเป็นเหยื่อปลาในทะเล
พยายามกระเสือกกระสนประคองกายเข้ามาถึงฝั่งที่ท่าสุปปารกะได้ แต่พาหิยะก็มาถึงท่าเพียงตัว
เท่านั้น เสื้อผ้าที่สวมใส่หลุดหายไปในทะเล เหลือแต่ร่างกายที่เปลือยเปล่า
ณ บริเวณท่าเรือสุปปาระกะนั้น มีพ่อค้าประชาชนหนาแน่น เพราะเป็นศูนย์กลางการ
ขนถ่ายสินค้าและการค้าขาย พาหิยะ นอนหมดแรงอยู่ที่ชายฝั่งทั้งหิวทั้งเพลีย นอนคิดหาหนทาง
เพื่อเอาชีวิตรอดต่อไป แต่รู้สึกเขินอายที่ร่างกายเปลือยเปล่า ไม่มีสิ่งใดปิดบังร่างกายเลย จึงใช้
เปลือกไม้บ้างใบไม้บ้าง เท่าที่จะหาได้มาทำเป็นเครื่องปิดบังแทนเครื่องนุ่งห่ม และได้เข้าไป
อาศัยร่มเงาที่ศาลเทพารักษ์แห่งหนึ่งใกล้ ๆ บริเวณท่าเรือสุปปารกะนั้น พอความเหนื่อยเพลีย
บรรเทาลงแล้ว จึงถือแผ่นกระเบื้องเที่ยวขออาหารจากชาวบ้าน


อรหันต์เปลือย
ในยุคสมัยนั้นคำว่า “พระอรหันต์” เป็นคำที่ประชาชนกล่าวขานกันทั่วไปว่า มีอยู่ที่
โน่นบ้าง มีอยู่ที่นี่บ้าง แต่ก็ยังไม่มีผู้ใดได้เคยพบพระอรหันต์จริง ๆ เลย พอได้เห็นพาหิยะผู้นุ่ง
เปลือกไม้ มีร่างกายผ่ายผอม ถือแผ่นกระเบื้องเดินมาในลักษณะอย่างนั้น ต่างก็พากันเข้าใจว่า
“นี่แหละ คือ พระอรหันต์” ดังนั้นจึงพากันให้อาหารบริโภคอย่างอุดมสมบูรณ์ พร้อมทั้งเสื้อผ้า
เครื่องนุ่งห่ม ทำให้พาหิยะมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น แต่พาหิยะปฏิเสธไม่ยอมรับเสื้อผ้ามา
สวมใส่ เพราะเกิดความคิดว่า “ถ้าสวมใส่เสื่อผ้าแล้ว จะทำให้เสื่อมจากลาภสักการะ” อีกทั้งก็
เริ่มเข้าใจผิดคิดว่าตนเป็นพระอรหันต์จริง ๆ จึงดำรงชีวิตและปฏิบัติตนไปตามนั้น ใบไม้และ
เปลือกไม้ที่แห้งไปก็เปลี่ยนใหม่ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้นามต่อท้ายชื่อของท่านว่า “ทารุจิริยะ”
และเรียกชื่อท่านเต็ม ๆ ว่า “พาหิยทารุจิริยะ” ซึ่งแปลว่า พาหิยะผู้มีเปลือกไม้เป็นเครื่องนุ่งห่ม
และท่านได้ดำเนินชีวิตโดยทำนองนี้เรื่องมาเป็นเวลานาน


พระพรหมมาเตือนให้กลับใจ
วันหนึ่ง ได้มีพระพรหม ผู้เคยเป็นสหายเก่าที่เคยปฏิบัติธรรมร่วมกันในอดีตชาติกับ
พาหิยะ และได้บรรลุธรรมถึงชั้นอนาคามิผล เมื่อตายแล้วได้ไปเกิดในพรหมชั้นสุทธาวาส ได้
ติดตามดูพฤติกรรมของพาหิยะมาตลอด เห็นว่าสหายกำลังปฏิบัติผิดทาง ดำเนินชีวิตด้วยการลวง
โลก ซึ่งจะทำให้เขาไปเกิดในทุคติอบายภูมิ จึงลงมาเตือนให้สติว่า
“พาหิยะ ท่านไม่ใช่พระอรหันต์ บัดนี้ พระอรหันต์ที่แท้จริงเกิดขึ้นแล้วในโลก ขณะนี้
พระองค์ประทับอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถีแคว้นโกศล”


เดินทางทั้งวันทั้งคืน
พระหิยะ ได้ฟังคำเตือนของพระพรหมผู้เป็นสหายเก่าแล้วเกิดความสลดใจในการกระทำ
ของตนเอง รู้สึกสำนึกผิดเลิกละการกระทำนั้น และเกิดความปิติยินดีที่ทราบว่า พระพุทธเจ้าเกิด
ขึ้นแล้วในโลก จึงรีบออกเดินทางจากท่าเรือสุปปารกะ มุ่งสู่เมืองสาวัตถี ซึ่งมีระยะทางถึง ๑๒๐
โยชน์ (๑๙๒ กม.) ท่านเดินทางทั้งวันทั้งคืนอย่างรีบร้อน เพื่อเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาให้เร็วที่สุด
เพราะไม่รู้แน่ว่าความตายจะมาถึงเมื่อใด ท่านเดินทางมาถึงเมืองสาวัตถี ในเวลารุ่งเช้าแล้วรีบ
ตรงไปยังพระเชตวันมหาวิหาร เมื่อได้ทราบว่า ขณะนี้พระบรมศาสดา เสด็จเข้าไปบิณฑบาตใน
เมือง จึงรีบติดตามไปในเมืองและได้พบพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จบิณฑบาตอยู่ ด้วยความปีติ
ยินดีอย่างที่สุดได้เข้าไปกราบแทบพระบาทแล้ว กราบทูลขอให้ทรงแสดงธรรมให้ฟัง พระพุทธ
องค์ตรัสห้าวว่า “พาหิยะ เวลานี้ มิใช่เวลาแสดงธรรม”


ตรัสรู้เร็วพลัน
พาหิยะ ได้พยายามกราบทูลอ้อนวอนถึง ๓ ครั้ง พระบรมศาสดา จึงทรงแสดงพระธรรม
เทศให้ฟัง โดยตรัสสอนให้สำรวมอินทรีย์ คือ เมื่อเห็นรูปก็สักแต่ว่าเห็น ได้ยินเสียงก็สักแต่ว่า
ได้ยิน ได้กลิ่นก็สักแต่ว่าได้กลิ่น ลิ้มรสก็สักแต่ว่าลิ้มรส และสัมผัสสักแต่ว่าสัมผัสเท่านั้น อย่า
ยินดียินร้ายในสิ่งเหล่านั้น และหมั่นสำเหนียกศึกษาในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อยู่เป็น นิตย์
พาหิยะ ส่งกระแสจิตไปตามกระแสพระธรรมเทศนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผลในทันที
ท่านได้กราบทูลขออุปสมบท แต่พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณว่า ในอดีตชาติท่าน
พาหิยะ ไม่เคยทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสามเณรด้วยบาตรและจีวรเลย เมื่อบวชแล้วบาตรและ
จีวรที่จะเกิดด้วยบุญฤทธิ์ ก็จะไม่มีจึงรับสั่งให้ท่านไปหาบาตรและจีวรมาให้ครบก่อน และใน
ขณะที่ท่านกำลังแสวงหาบาตรและจีวรอยู่นั้นได้ถูกอมนุษย์ผู้เคยเป็นศัตรูกันมากแต่อดีตชาติ เข้า
สิงร่างแม่โคลูกอ่อนวิ่งเข้าขวิดท่านตาย จึงถือว่าท่านนิพพานตั้งแต่ยังไม่ได้บวช
พระพุทธองค์ เสด็จกลับจากบิณฑบาต ทอดพระเนตรเห็นศพของท่านนอนอยู่ริมทาง
จึงรับสั่งให้ภิกษุที่ติดตามเสด็จมา จัดการฌาปนกิจให้ท่าน และทรงยกย่องท่านในตำแหน่ง
เอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ขิปปาภิญญา คือ ตรัสรู้เร็วพลัน
นิรทุกข์
 
จำนวนผู้ตอบ: 558
สมัครสมาชิก: Sat Mar 13, 2010 7:46 pm

Re: สงสัยในกรรม

Postโดย wiweksikkaram.hi5 » Tue Oct 19, 2010 7:45 pm

เรื่องของกรรม
คำตอบ จากความเมตตาของท่าน พระอาจารย์ วิชัย ครับ

ตอบ คำถามข้อที่ ๑.๑ – ๑.๒
ตามที่ปรากฏในหนังสือนั้น ท่านไม่ได้บอกว่า โจรที่ทำร้ายพระโมคคัลลานะนั้นเป็นพ่อ-แม่ในอดีตของท่าน หรือเป็นเจ้ากรรมนายเวรของท่าน บอกแต่เพียงว่าท่านใช้กรรมเก่า ซึ่งเป็นเศษกรรม หลังจากที่ท่านไปใช้กรรมในนรกแล้ว คนส่วนมากมักจะเข้าใจว่า การกระทำกรรมต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เมื่อวิบากกรรม(ผลของกรรม)นั้นให้ผลต่อตน จะต้องถูกคนที่เราทำกรรมไว้กับเขาในอดีตทำคืน อันนี้เป็นความเชื่อเรื่องของกรรมว่า ต้องเป็นบุคคลหรือตัวตนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นเรื่องบุคคล ไม่ใช่วิถีของกรรม แท้จริงแล้วการทำกรรมนั้น เมื่อทำแล้วกรรมนั้นให้ผล ไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลที่เรากระทำต่อเขาในอดีต การที่จะใช้กรรมหรือกรรมนั้นให้ผล ต้องมีองค์ประกอบครบ เรียกว่าเหตุปัจจัยถึงพร้อม คือ 1.เราได้กระทำกรรมไว้แล้วในอดีต 2.กรรมนั้นให้ผลในช่วงจังหวะนั้นพอดี 3.มีเหตุปัจจัย(เช่นเหตุการณ์ องค์ประกอบ และสิ่งแวดล้อมเป็นต้น)ที่จะเอื้อให้เกิดผลของกรรมนั้นต่อเรา เมื่อเหตุปัจจัยถึงพร้อมก็เกิดการใช้กรรมนั้น เหตุนั้นบุคคลหรือเหตุการณ์ที่ให้เราใช้กรรม จะสมมติเรียกว่าตัวแทนแห่งกรรมก็ได้ จึงไม่มีเจ้ากรรมนายเวรที่แท้จริง มีแต่วิถีแห่งกรรม ดังเช่นพระพุทธเจ้า พระองค์ถูกพระเทวทัตกลิ้งหินใส่ พระบาทถูกสะเก็ดหินห้อพระโลหิต อันนี้เป็นการใช้กรรมในอดีตของพระองค์ ที่พระองค์ได้เคยกระทำกรรมต่อน้องชายต่างมารดา เพื่อทรัพย์สมบัติ โดยผลักน้องชายลงเหวและกลิ้งหินใส่ด้วย พระองค์ไม่ได้ทำกรรมในอดีตต่อพระเทวทัต ผลของกรรมนั้นพระองค์ไปตกนรก เศษกรรมถูกพระเทวทัตกลิ้งหินใส่พระบาทห้อพระโลหิต พระองค์ใช้กรรมในอดีต เมื่อใช้กรรมแล้ว กรรมนั้นก็เป็นอโหสิกรรมไป ส่วนพระเทวทัตนั้น ท่านสร้างกรรมกลิ้งหินใส่พระพุทธเจ้าจนพระบาทห้อพระโลหิต จึงต้องไปรับใช้ผลของกรรมในนรกอเวจี การใช้กรรมของพระพุทธเจ้า กับการทำกรรมของพระเทวทัต เป็นคนละเรื่องกัน พระพุทธเจ้ามีเหตุคือกรรมในอดีตให้ผล มีปัจจัยคือพระเทวทัตที่มีจิตปองร้ายพระพุทธเจ้า แต่พระเทวทัตมีเหตุคือโลภโกรธหลง จึงสร้างกรรม อันนี้เป็นเหตุปัจจัยที่ถึงพร้อมพอดีให้พระพุทธเจ้าใช้กรรม แต่ถ้าไม่มีเหตุปัจจัยที่ถึงพร้อม เมื่อถึงเวลากรรมให้ผล กรรมนั้นเมื่อไม่มีโอกาสให้ผล เมื่อผ่านเวลานั้นไป กรรมนั้นจึงเป็นอโหสิกรรมเช่นกัน ส่วนคำว่าเวรหมายถึงผู้มีจิตพยาบาทปองร้าย ทีนี้คำว่าเวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร เป็นการไม่สร้างอกุศลกรรม หมายถึงเมื่อมีผู้พยาบาทปองร้าย(ก่อเวร)แก่เรา เราก็ระงับการพยาบาทปองร้าย(ก่อเวร)ตอบแก่เขา ซึ่งมันเป็นประโยชน์ต่อเรา โดยเราไม่ได้สร้างอกุศลกรรมขึ้น จึงไม่ต้องไปใช้วิบากกรรมนั้นในอนาคต ในปัจจุบันการที่เราไม่ก่อเวรตอบเขานั้น มันทำให้จิตใจเราไม่ทุกข์จากอาฆาตพยาบาท แล้วก็เมตตาที่เราเจริญอาจไปเปลี่ยนจิตใจเขาก็ได้ ส่วนเขาจะไม่พยาบาทปองร้ายเรานั้นขึ้นกับเขาเจริญเมตตา หรือมีสติปัญญาเห็นโทษของพยาบาทปองร้ายหรือไม่ อย่างเช่นเรื่องพระโมคคัลลานะ โจรนั้นกำลังก่อเวรต่อพระโมคคัลลานะ(ไม่ใช่เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร) ซึ่งพระโมคคัลลานะไม่ได้ก่อเวรกับโจรเหล่านั้น เหตุนั้นโจรจึงสร้างอนันตริยกรรมที่เป็นอกุศล จึงต้องไปใช้กรรมในนรก เหตุนั้นเจ้ากรรมนายเวรจึงเป็นสมมติสัตว์บุคคลขึ้นมาเฉยๆ แท้จริงนั้นเป็นเรื่องของอวิชชาตัณหาที่หลอกลวงให้จิตนั้นไปสร้างอกุศลกรรม จึงเรียกว่าไตรวัฏฏ์คือวงจรที่ให้มีการเวียนว่ายตายเกิด ได้แก่ กิเลส - กรรม – วิบาก เหตุนั้นเมื่อกรรมให้ผลให้ยอมรับใช้กรรม และให้สร้างกุศลกรรมใหม่ในปัจจุบันคือทานศีลภาวนา หรือศีลสมาธิปัญญา จึงเป็นการแก้กรรมที่ถูกต้อง อย่างเช่นเมื่อโสดาปัตติมรรคโสดาปัตติผลเกิด ก็ตัดภพตัดชาติจากอสงไขยเหลือแค่อย่างมาก๗ชาติ หรือพระองคุลิมาลท่านฆ่าคนเป็นพัน เมื่อท่านสำเร็จพระอรหันต์ กรรมที่ท่านชดใช้แค่ถูกก้อนหินศีรษะแตกจีวรขาดบาตรแตก ส่วนกรรมที่ต้องไปใช้ในนรกเป็นอโหสิกรรม เพราะอรหัตตมรรคอรหัตตผลเกิด จึงไม่สามารถตามท่านทัน .


ตอบ ข้อ ๒

กรรมมีอยู่ ๓หมวดใหญ่(ธรรมวิภาค ปริเฉทที่ ๒ หลักสูตรนักธรรมโท)
หมวดที่ ๑ กรรมให้ผลตามคราว
๑.ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพนี้(ในอัตภาพนี้นั่นเอง)เป็นกรรมแรงจึงให้ผลทันตาเห็น เมื่อผู้ทำกรรมถึงมรณะไปเสียก่อนถึงคราวให้ผล ย่อมเป็นอโหสิกรรม
๒.อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลต่อเมื่อเกิดแล้วในภพหน้า จักให้ผลได้เมื่อผู้ทำเกิดแล้วในภพหน้า พ้นจากนั้นแล้วเป็นอโหสิกรรม
๓.อปราปรเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพที่ ๓เป็นต้นไป กรรมที่เบาสุด จักให้ผลในภพที่ ๓เป็นต้นไปจนกว่าจะเป็นอโหสิกรรม
๔.อโหสิกรรม กรรมให้ผลสำเร็จแล้ว เป็นกรรมล่วงคราวแล้วเลิกให้ผล

หมวดที่ ๒ กรรมให้ผลตามกิจ(หน้าที่)
๑.ชนกกรรม กรรมนำให้เกิด
๒.อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุนทั้งกุศลกรรมและอกุศลกรรมของชนกกรรม
๓.อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น เป็นกรรมที่ทำให้ชนกกรรมให้ผลไม่เต็มที่
๔.อุปฆาตกรรม กรรมตัดรอน เป็นกรรมที่ตัดรอนผลของชนกกรรม และอุปัตถัมภกกรรมให้ขาด เป็นกรรมที่รุนแรงกว่าอุปปีฬกกรรม

หมวดที่ ๓ กรรมให้ผลตามลำดับ
๑. ครุกรรม กรรมหนัก เป็นอนัตตริยกรรมที่ให้ผลก่อนกรรมอื่น
๒. อาจิณณกรรม กรรมที่ทำบ่อยๆจนชิน เมื่อครุกรรมไม่มี กรรมนี้ย่อมให้ผลก่อนกรรมอื่น
๓. อาสันนกรรม กรรมเมื่อจวนเจียนจะตาย เมื่อครุกรรมและอาจิณณกรรมไม่มี กรรมนี้ย่อมให้ผล
๔. กตัตตากรรม กรรมสักว่าทำ เป็นกรรมอันทำด้วยไม่จงใจ เมื่อกรรมทั้ง ๓ข้อข้างต้นไม่มี กรรมนี้จึงให้ผล เช่นโทษที่เกิดจากการประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิตเป็นต้น
จะเห็นว่าคำถามในข้อ ๒นี้เข้าได้กับกตัตตากรรม เหตุนั้นจะทำจะพูดจะคิดท่านให้ใช้สติปัญญาทำ ไม่ทำด้วยประมาทหรือโมหะ ซึ่งจะเป็นช่องทางให้ปัญหาต่างๆตามมาได้ เหตุนั้นพุทธพจน์กล่าวไว้ “ธัมโม หะเว รักขะติ ธัมมะจาริง ธรรมแลย่อมคุ้มครองผู้ประพฤติธรรม” ก็คือสติธรรม ปัญญาธรรม สมาธิธรรมนั่นเอง .


ตอบข้อ ๓.๒
ให้ไปดูพระไตรปิฎกแก่นธรรม พระสุตตันตปิฎกเล่ม ๔ เฉลิมพระเกียรติพระเจ้าอยู่หัว ๘๐ พรรษา หน้า ๘๗๕
พระอรหันตสาวกมี ๓ประเภทคือ
๑.พระอัครสาวก เช่น พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ บำเพ็ญบารมี ๑อสงไขย ๑๐๐,๐๐๐ กัป
๒.พระมหาสาวก เช่น พระอิสีติมหาสาวกผู้ทรงเอตทคะบำเพ็ญบารมี ๑๐๐,๐๐๐ กัป
๓.พระปกติสาวก บำเพ็ญบารมี ๑๐๐ กัป หรือ ๑,๐๐๐ กัป ไม่มีเวลากำหนดแน่นอน .
เวลาทำสมาธิ

ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก

ให้รู้ลมหายใจเข้าออก

หายใจเข้าสั้นก็รู้

หายใจออกสั้นก็รู้

หายใจเข้ายาวก็รู้

หายใจออกยาวก็รู้

ไม่ต้องบังคับลมหายใจ

ตามรู้ลมหายใจเข้าออก

สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้

สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย

ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ

เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น

ทำอะไรก็ให้รู้เหตุปัจจัย

รู้ไม่ใช่เพื่อ ยินดี ยินร้าย รู้เพื่อให้ รู้เหตุปัจจัย

เหตุแห่งความเจริญ

เคารพ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

เคารพ สิกขา 3 ศีล สมาธิ ปัญญา

เคารพในความไม่ประมาท

เคารพในการปฎิสันฐาน

เคารพใน ศีล

เคารพใน สมาธิ

เคารพในกันและกัน

หลักตัดสิน ธรรมวินัย 8 ประการ

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด

เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้

เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส

เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย

เป็นไปเพื่อสันโดษ

เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ

เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร

เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย

ธรรมที่ควรเจริญ

สติ

สัมปัชชัญญะ

ศีล

สมาธิ

ปัญญา

วิมุตติ

วิมุตติญาณทัสสนะ

สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ

สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ

สัมมาวาจา พูดชอบ

สัมมาอาชีโว อาชีพชอบ

สัมมากัมมันโต การงานชอบ

สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ

สัมมาสติ ระลึกชอบ

สัมมาสมาธิ ตั้งมั่นชอบ

สัมมาญาณะ ความรู้ชอบ

สัมมาวิมุตติ หลุดพ้นชอบ

สัมมาวิมุตติญาณทัสสนะ ความเห็นในการหลุดพ้นชอบ

สัมมาทิฏฐิ

คือ รู้ชัดซึ่ง เหตุแห่ง กุศล วิชชา เป็น เหตุ

รู้ชัดซึ่ง เหตุแห่ง อกุศล อวิชชา เป็น เหตุ

การบรรลุธรรมอาศัย สติ ปัญญา อุเบกขา เป็นมัทยัทธ์

รักษาสัจจะ เพิ่มพูลจาคะ ไม่ประมาทปัญญา ศึกษาสันติ

การปฎิบัติธรรม

คบสัตบุรุษ ฟังพระสัทธรรม อยู่ในประเทศเหมาะสม ตั้งสัจจะ เดินสัมมาทิฏฐิ เจริญความสงบ

ออกพิจารณาด้านปัญญา + พลังกุศล - บ่มอินทรีย์ นิพพิทา วิราคะ วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ

สติ - ศีล - สมาธิ - ปัญญา - วิมุตติ - วิมุตติญาณทัสสนะ

อัปปมาโณพุทโธ อานุภาพพระพุทธเจ้าไม่มีประมาณ

อัปปมาโณธัมโม อานุภาพพระธรรมไม่มีประมาณ

อัปปมาโณสังโฆ อานุภาพพระสงฆ์ไม่มีประมาณ

เรื่องของสมมติ อวิชชา ตัวตน ยึดตรงไหน หลงที่ไหน ผิดที่นั้น จุดต่อมแห่งภพชาติ

wiweksikkaram.hi5
 
จำนวนผู้ตอบ: 114
สมัครสมาชิก: Mon Mar 15, 2010 12:20 am
ที่อยู่: สุทธาวาสภูมิ

Re: สงสัยในกรรม

Postโดย aor » Sat Oct 30, 2010 11:18 pm

อนุโมทนาสาธุ ทั้งคำถามและคำตอบค่ะ
aor
 
จำนวนผู้ตอบ: 62
สมัครสมาชิก: Wed Apr 21, 2010 1:30 pm


กลับไปหน้า ถาม-ตอบธรรมะ

ผู้ที่กำลัง online

ผู้ที่กำลังอ่าน forum นี้: สมาชิก ไม่มีสมาชิก และ ผู้เยี่ยมชม 1 คน

cron