เงินทำบุญ

พื้นที่สำหรับผู้ปฏิบัติธรรม แล้วมีข้อสงสัย ติดขัด อยากได้คำแนะนำจากผู้ร่วมเดินทางสายที่สุดแห่งทุกข์

เงินทำบุญ

Postโดย pongsthep » Tue Oct 26, 2010 9:12 pm

การทำบุญตักบาตรเป็นประเพณีที่ดีงาม และยังให้พระพุทธศาสนาสืบทอดต่อไป แต่มีความสงสัยไม่รู้แจ้งในการทำบุญคือ
1. การนำเงินหรือปัจจัยใส่ลงในบาตรเป็นการสมควรหรือไม่ จะเป็นปาบแก่ผู้ให้และอาบัติต่อผู้รับไหม ทำอย่างไรถึงจะถูกต้อง
2. พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว บาตรของพระองค์อยู่ไหน มีการเก็บไว้หรือมอบให้พระอรหันต์ท่านไหนสืบทอดหรือเปล่้า
pongsthep
 
จำนวนผู้ตอบ: 8
สมัครสมาชิก: Fri Sep 03, 2010 8:48 pm

Re: เงินทำบุญ

Postโดย wiweksikkaram.hi5 » Tue Oct 26, 2010 11:33 pm

สวัสดีครับ

เรื่องเงิน

ก็ขอตอบคราวๆนะครับ

ตอบข้อที่ 1

ถ้าพระมีโลภะรับไว้ด้วยสาเถยจิต(ไถยจิต) พระก็อาบัติ นิสสยะคีย์ปาจิตตีย์ (พระต้องอาบัติไม่เกี่ยวกับโยม)

ต้องสละของที่ทำให้อาบัตินั้น จึงปลงอาบัติตกได้

การใส่เงินลงในบาตร ถ้าพูดให้ตรงธรรม จะเป็นสองนัยยะ คือ

เงินถ้าใช้ให้เป็นประโยชน์ ก็ได้ประโยชน์ ถ้าใช้ให้เป็นโทษ ก็เป็นโทษได้

ขึ้นอยู่กับสติปัญญาของผู้ใช้ สมมุติในโลกนี้ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ ใช้ให้ก่อประโยชน์ หรือก่อโทษ

1.พระรับไม่ได้ ถ้ามีโลภะรับไว้ด้วยสาเถยจิต(ไถยจิต) ก็อาบัติ ถ้าจะถวายพระให้ตรงวินัย คือ ถวายให้สงฆ์แต่ให้ไวยาวัจจะมัย เป็นผู้รักษาเงิน

แล้ว ปาราวณาแก่พระคุณเจ้ารูปนั้นๆ ว่าได้ฝากปัจจัยไว้กับ อุบาสก หรือ อุบาสิกา ผู้นี้ ให้พระคุณเจ้าเรียกใช้ได้ตามสมควร

2.พระรับได้ แต่ต้องรับไปเพื่อปัจจัย 4 ไม่ใช่ไปเพื่อตน หรือ เพื่อสงฆ์

พระพุทธเจ้า ไม่ให้ยินดีใน เงินทอง แต่ทรงให้ยินดีในปัจจัย 4 มักน้อยสันโดษ ไม่ดิ้นรน

จะเป็นบาปหรือไม่ พระอาบัติเป็นเรื่องของพระ ถ้าพระมีสาเถยจิต(ไถยจิต) ก็ต้องอาบัติ บาปก็ตกอยู่ที่พระ

โยมถวายทานดีแล้วในสงฆ์ ก็ได้อานิสงค์ตามสมควรแก่บุญนั้น

อาศัย

จิตก่อนให้ตั้งใจดี จิตขณะให้ตั้งใจดี จิตขณะหลังจากให้ตั้งใจดี

ผู้รับบริสุทธิ์ อันนี้ไม่ต้องไปสงสัย ทำอุทิศถวาย พระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์เจ้า ก็ถือว่าบริสุทธิ์แล้ว

ผู้ให้บริสุทธิ์ ตัวเรานี้บริสุทธิ์หรือยัง ในด้าน จิต ศีล ธรรม

อามิสบริสุทธิ์ คือ ของที่เรานำไปถวายได้มาโดยชอบ ไม่ได้ไปคดโกงใครมาเป็นต้น

เท่านี้ก็ถือว่าทานของเราบริสุทธิ์สมควรแล้ว

เราก็น้อยไปรักษาศีล เจริญสมาธิ ภาวนา ให้ยิ่งๆขึ้นไป จนถึงมรรคผล นิพพาน




ตอบข้อ 2

พระพุทธเจ้าทรงมีพระเจดีย์ที่กล่าวไว้ในตำราที่ใช้เก็บ บาตรของท่านอยู่

การตามหาบาตรท่านนี้ไม่เป็นประโยชน์เลย

ทำไม่ไม่ตามหาพระพุทธเจ้าภายในตนละ

อย่าไปยุ่งเรื่องบาตรเลย ทำไมไม่ทำตนให้เป็นบาตรรองรับธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดีกว่า

ให้ยุ่งในเรื่องละ กิเลส ตัญหา อุปาทาน อวิชชา ภายในตนที่ทำให้มืดบอดดีกว่า

ทำตนให้เป็นบาตรของรองรับธรรม อันมี ศีล สมาธิ ปัญญา มรรคผล พระนิพพาน จะดีกว่า

สาธุ

ขอให้เจริญในธรรม

ผู้เขียนยังมากด้วยอวิชชาอยู่มากทำให้อาจจะมีข้อผิดพลาดในคำตอบเกิดขึ้นได้ จึงขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
Last edited by wiweksikkaram.hi5 on Tue Oct 26, 2010 11:43 pm, edited 1 time in total.
เวลาทำสมาธิ

ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก

ให้รู้ลมหายใจเข้าออก

หายใจเข้าสั้นก็รู้

หายใจออกสั้นก็รู้

หายใจเข้ายาวก็รู้

หายใจออกยาวก็รู้

ไม่ต้องบังคับลมหายใจ

ตามรู้ลมหายใจเข้าออก

สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้

สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย

ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ

เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น

ทำอะไรก็ให้รู้เหตุปัจจัย

รู้ไม่ใช่เพื่อ ยินดี ยินร้าย รู้เพื่อให้ รู้เหตุปัจจัย

เหตุแห่งความเจริญ

เคารพ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

เคารพ สิกขา 3 ศีล สมาธิ ปัญญา

เคารพในความไม่ประมาท

เคารพในการปฎิสันฐาน

เคารพใน ศีล

เคารพใน สมาธิ

เคารพในกันและกัน

หลักตัดสิน ธรรมวินัย 8 ประการ

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด

เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้

เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส

เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย

เป็นไปเพื่อสันโดษ

เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ

เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร

เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย

ธรรมที่ควรเจริญ

สติ

สัมปัชชัญญะ

ศีล

สมาธิ

ปัญญา

วิมุตติ

วิมุตติญาณทัสสนะ

สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ

สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ

สัมมาวาจา พูดชอบ

สัมมาอาชีโว อาชีพชอบ

สัมมากัมมันโต การงานชอบ

สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ

สัมมาสติ ระลึกชอบ

สัมมาสมาธิ ตั้งมั่นชอบ

สัมมาญาณะ ความรู้ชอบ

สัมมาวิมุตติ หลุดพ้นชอบ

สัมมาวิมุตติญาณทัสสนะ ความเห็นในการหลุดพ้นชอบ

สัมมาทิฏฐิ

คือ รู้ชัดซึ่ง เหตุแห่ง กุศล วิชชา เป็น เหตุ

รู้ชัดซึ่ง เหตุแห่ง อกุศล อวิชชา เป็น เหตุ

การบรรลุธรรมอาศัย สติ ปัญญา อุเบกขา เป็นมัทยัทธ์

รักษาสัจจะ เพิ่มพูลจาคะ ไม่ประมาทปัญญา ศึกษาสันติ

การปฎิบัติธรรม

คบสัตบุรุษ ฟังพระสัทธรรม อยู่ในประเทศเหมาะสม ตั้งสัจจะ เดินสัมมาทิฏฐิ เจริญความสงบ

ออกพิจารณาด้านปัญญา + พลังกุศล - บ่มอินทรีย์ นิพพิทา วิราคะ วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ

สติ - ศีล - สมาธิ - ปัญญา - วิมุตติ - วิมุตติญาณทัสสนะ

อัปปมาโณพุทโธ อานุภาพพระพุทธเจ้าไม่มีประมาณ

อัปปมาโณธัมโม อานุภาพพระธรรมไม่มีประมาณ

อัปปมาโณสังโฆ อานุภาพพระสงฆ์ไม่มีประมาณ

เรื่องของสมมติ อวิชชา ตัวตน ยึดตรงไหน หลงที่ไหน ผิดที่นั้น จุดต่อมแห่งภพชาติ

wiweksikkaram.hi5
 
จำนวนผู้ตอบ: 114
สมัครสมาชิก: Mon Mar 15, 2010 12:20 am
ที่อยู่: สุทธาวาสภูมิ


กลับไปหน้า ถาม-ตอบธรรมะ

ผู้ที่กำลัง online

ผู้ที่กำลังอ่าน forum นี้: สมาชิก ไม่มีสมาชิก และ ผู้เยี่ยมชม 2 คน

cron