วิธีใดถึงจะเหมาะในการแก้ไขความขี้เกียจและความง่วง?

พื้นที่สำหรับผู้ปฏิบัติธรรม แล้วมีข้อสงสัย ติดขัด อยากได้คำแนะนำจากผู้ร่วมเดินทางสายที่สุดแห่งทุกข์

วิธีใดถึงจะเหมาะในการแก้ไขความขี้เกียจและความง่วง?

Postโดย Tewin » Wed Nov 17, 2010 3:29 pm

1. ขอคำแนะนำในการฝึกตนเองให้มีความขยันในการทำงานและดำเนินชีวิต รวมถึงการทำภาวนาด้วย
2. ขอคำแนะนำในการฝึกให้เวลานั่งสมาธิแล้วไม่่เคลิ้มหลับ

ขอบพระคุณครับ
Tewin
 
จำนวนผู้ตอบ: 9
สมัครสมาชิก: Tue Apr 06, 2010 9:32 pm
ที่อยู่: Perth, Australia

Re: วิธีใดถึงจะเหมาะในการแก้ไขความขี้เกียจและความง่วง?

Postโดย นิรทุกข์ » Wed Nov 17, 2010 4:19 pm

ที่เคยอ่านเจอมามีแนะนำไว้ตามนี้ครับ

พระโมคคัลลานะ อุปสมบทแล้วได้ 7 วัน ก็ไปบำเพ็ญเพียรในที่สงบ แต่แล้วก็ถูกความง่วงเข้าครอบงำ ทำให้ไม่สามารถบำเพ็ญเพียรได้เป็นปกติ พระศาสดาจึงทรงบอกวิธีแก้ง่วงแก่พระโมคคัลลานะ

1. เมื่อกำลังคิดถึงสิ่งใดอยู่ ให้คิดถึงสิ่งนั้นเข้าไว้ จะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้
2. ถ้ายังไม่หายง่วง ให้คิดทบทวนถึงธรรมที่ได้เรียนมาแล้วอย่างละเอียด จะทำให้หายง่วงได้
3. ถ้ายังไม่หายง่วง ให้ท่องธรรมที่ได้เรียนมาดังๆ
4. ถ้ายังไม่หายง่วง ให้แยงหูทั้งสองข้าง แล้วใช้ฝ่ามือลูบไปตามตัว
5. ถ้ายังไม่หายง่วง ให้ลุกขึ้นแล้วลูบหน้าด้วยน้ำ และเหลียวไปรอบๆ หรือ แหงนหน้าขึ้น จะทำให้หายง่วงได้
6. ถ้ายังไม่หายง่วง ให้นึกว่านี่เป็นเวลากลางวันที่มีแสงอาทิตย์ สว่างไสวไปหมด จะทำให้หายง่วงได้
7. ถ้ายังไม่หายง่วง ให้ลุกขึ้นเดินจงกรม เพื่อให้จิตมีสติรู้เท่าทันการเคลื่อนไหว
8. ถ้ายังไม่หายง่วง ให้นอนในท่าสีหไสยา คือ ตะแคงขวา ตั้งสติว่าจะตื่นอยู่เสมอ และจะไม่ยินดีกับการนอน หรือ การเคลิ้มหลับ จะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้



ส่วนที่ทำอยู่ก็ใช้หลายวิธีครับ
- เปลี่ยนเวลามานั่งสมาธิหลังตื่นนอนตอนเช้าบ้าง
- ทานอาหารให้น้อยลงในตอนเย็นก่อนทำสมาธิบ้าง
- เดินจงกรมสลับกับนั่งสมาธิเช่นอย่างละครึ่งชั่วโมง
- สูดลมหายใจลึกๆ สักสามที่เมื่อรู้ตัวว่าง่วง
นิรทุกข์
 
จำนวนผู้ตอบ: 558
สมัครสมาชิก: Sat Mar 13, 2010 7:46 pm

Re: วิธีใดถึงจะเหมาะในการแก้ไขความขี้เกียจและความง่วง?

Postโดย wiweksikkaram.hi5 » Wed Nov 17, 2010 11:38 pm

Tewin wrote:1. ขอคำแนะนำในการฝึกตนเองให้มีความขยันในการทำงานและดำเนินชีวิต รวมถึงการทำภาวนาด้วย
2. ขอคำแนะนำในการฝึกให้เวลานั่งสมาธิแล้วไม่่เคลิ้มหลับ

ขอบพระคุณครับ



จะขอตอบนอกรอบนะครับ คุณ Tewin
เวลาทำสมาธิ

ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก

ให้รู้ลมหายใจเข้าออก

หายใจเข้าสั้นก็รู้

หายใจออกสั้นก็รู้

หายใจเข้ายาวก็รู้

หายใจออกยาวก็รู้

ไม่ต้องบังคับลมหายใจ

ตามรู้ลมหายใจเข้าออก

สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้

สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย

ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ

เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น

ทำอะไรก็ให้รู้เหตุปัจจัย

รู้ไม่ใช่เพื่อ ยินดี ยินร้าย รู้เพื่อให้ รู้เหตุปัจจัย

เหตุแห่งความเจริญ

เคารพ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

เคารพ สิกขา 3 ศีล สมาธิ ปัญญา

เคารพในความไม่ประมาท

เคารพในการปฎิสันฐาน

เคารพใน ศีล

เคารพใน สมาธิ

เคารพในกันและกัน

หลักตัดสิน ธรรมวินัย 8 ประการ

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด

เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้

เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส

เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย

เป็นไปเพื่อสันโดษ

เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ

เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร

เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย

ธรรมที่ควรเจริญ

สติ

สัมปัชชัญญะ

ศีล

สมาธิ

ปัญญา

วิมุตติ

วิมุตติญาณทัสสนะ

สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ

สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ

สัมมาวาจา พูดชอบ

สัมมาอาชีโว อาชีพชอบ

สัมมากัมมันโต การงานชอบ

สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ

สัมมาสติ ระลึกชอบ

สัมมาสมาธิ ตั้งมั่นชอบ

สัมมาญาณะ ความรู้ชอบ

สัมมาวิมุตติ หลุดพ้นชอบ

สัมมาวิมุตติญาณทัสสนะ ความเห็นในการหลุดพ้นชอบ

สัมมาทิฏฐิ

คือ รู้ชัดซึ่ง เหตุแห่ง กุศล วิชชา เป็น เหตุ

รู้ชัดซึ่ง เหตุแห่ง อกุศล อวิชชา เป็น เหตุ

การบรรลุธรรมอาศัย สติ ปัญญา อุเบกขา เป็นมัทยัทธ์

รักษาสัจจะ เพิ่มพูลจาคะ ไม่ประมาทปัญญา ศึกษาสันติ

การปฎิบัติธรรม

คบสัตบุรุษ ฟังพระสัทธรรม อยู่ในประเทศเหมาะสม ตั้งสัจจะ เดินสัมมาทิฏฐิ เจริญความสงบ

ออกพิจารณาด้านปัญญา + พลังกุศล - บ่มอินทรีย์ นิพพิทา วิราคะ วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ

สติ - ศีล - สมาธิ - ปัญญา - วิมุตติ - วิมุตติญาณทัสสนะ

อัปปมาโณพุทโธ อานุภาพพระพุทธเจ้าไม่มีประมาณ

อัปปมาโณธัมโม อานุภาพพระธรรมไม่มีประมาณ

อัปปมาโณสังโฆ อานุภาพพระสงฆ์ไม่มีประมาณ

เรื่องของสมมติ อวิชชา ตัวตน ยึดตรงไหน หลงที่ไหน ผิดที่นั้น จุดต่อมแห่งภพชาติ

wiweksikkaram.hi5
 
จำนวนผู้ตอบ: 114
สมัครสมาชิก: Mon Mar 15, 2010 12:20 am
ที่อยู่: สุทธาวาสภูมิ


กลับไปหน้า ถาม-ตอบธรรมะ

ผู้ที่กำลัง online

ผู้ที่กำลังอ่าน forum นี้: สมาชิก ไม่มีสมาชิก และ ผู้เยี่ยมชม 2 คน

cron