บวชเพื่อใคร

พื้นที่สำหรับผู้ปฏิบัติธรรม แล้วมีข้อสงสัย ติดขัด อยากได้คำแนะนำจากผู้ร่วมเดินทางสายที่สุดแห่งทุกข์

บวชเพื่อใคร

Postโดย pongsthep » Fri Nov 19, 2010 10:15 am

การบวชเป็นส่ิงที่ดีโดยตอบแทนคุณบิดามารดา และยังสืบทอดให้พระพุทธศาสนาสืบต่อไป อยากทราบว่าเหตุการณ์เป็นบาปไหมและมีแนวทางแก้ไขอย่างไรดีครับ
มีอยู่ว่า ลูกชายได้บวชเป็นพระในพระพุทธศาสนาโดยที่แม่ยินยอมให้บวช ผ่านไปสักระยะหนึ่ง ลูกชายที่บวชเป็นพระเข้าถึงรสพระธรรม แม่เห็นว่าบวชเพื่อทดแทนคุณน่าจะเพียงพอแล้ว อีกทั้งแม่ก็แก่ชรามากไม่มีใครดูล จึงได้บอกกับพระว่า "สึก ออกมาดูแลแม่และมาประกอบอาชีพสุจริตในการดำเินินชีวิต" พระบอกแม่ว่า "จะบวชไม่สึก" แม่ก็น้ำตาไหล เสียใจมากที่ลูกไม่ยอมสึก แม่พูดรบเร้าอยู่นานไม่สำเร็จจึงกลับบ้าน คิดสั้นโดยผูกเชือกรัดคอฆ่าตัวตาย ด้วยเดชะบุญมีคนมาพบเห็นจึงช่วยไว้ได้ทัน
จากเหตุการณ์อยากทราบว่า
1. พระบาปหรืิอเปล่า ที่ทำให้แม่น้ำตาไหลและเป็นการฆ่าแม่ทางอ้อมซึ่งเป็นปาปหนักที่สุด
2. ให้พระสึกออกมาตามคำแนะนำของแม่ โดยคิดว่าอยู่กับแม่ไปก่อน เมื่อแม่ไม่อยู่กับเราแล้วค่อยไปบวชไหมดีไหม

อีก 1 เรื่อง ความคิดกับปัญญา ต่างกันอย่างไร
pongsthep
 
จำนวนผู้ตอบ: 8
สมัครสมาชิก: Fri Sep 03, 2010 8:48 pm

Re: บวชเพื่อใคร

Postโดย นิรทุกข์ » Sat Jan 15, 2011 3:05 am

ค่อนข้างเสี่ยงที่จะตอบน้ะเนี่ยะ คำถามนี้

แต่ก็ขอแสดงความเห็นไว้สักนิด เพราะ คิดว่ามองได้หลายมุม
ผมคิดว่าลูกชายไม่ได้ทำร้ายคุณแม่ ผู้ที่ทำลายชีวิตตัวเองคือคุณแม่ จึงไม่ควรที่จะได้รับบาป (ผลของกรรม) ที่ว่าเป็นผู้ฆ่ามารดาตน
แต่ผลจากเหตุที่ทำให้มารดาเกิดความกระทบกระเทือนใจ คงจะมีแน่ และหากยังต้องกลับมาเกิดอีก คงจะได้รับผลจากการกระทำนั้น

ส่วนจะสึกมาดูแลมารดาก่อนนั้นก็ดีเพราะได้คุณในแง่ความกตัญญู แต่ก็ให้ประโยชน์กับมารดาได้เพียงดูแลธาตุขันธ์ในชาติปัจจุบัน หากสามารถชักจูงมารดาให้เห็นประโยชน์อันไพบูลย์ แล้วร่วมศึกษาปฏิบัติ ไปพร้อมกับตน หรือ นำมาแนะนำมารดาได้แล้วก็จะเป็นประโยชน์อันสูงสุดกับมารดาครับ

อาจจะพอเทียบได้บางส่วนกับที่ประสารีบุตรได้ออกบวช จะสำเร็จมรรคผลแล้วกลับมาโปรดมารดา ก่อนเข้านิพพานครับ
นิรทุกข์
 
จำนวนผู้ตอบ: 558
สมัครสมาชิก: Sat Mar 13, 2010 7:46 pm

Re: บวชเพื่อใคร

Postโดย wiweksikkaram.hi5 » Sat Jan 15, 2011 6:27 pm

ไม่ต้องสึกก็ดูแลพ่อแม่ได้ เป็นพุทธานุญาติ

ไม่จำเป็นต้องสึกครับ

สาธุ
เวลาทำสมาธิ

ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก

ให้รู้ลมหายใจเข้าออก

หายใจเข้าสั้นก็รู้

หายใจออกสั้นก็รู้

หายใจเข้ายาวก็รู้

หายใจออกยาวก็รู้

ไม่ต้องบังคับลมหายใจ

ตามรู้ลมหายใจเข้าออก

สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้

สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย

ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ

เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น

ทำอะไรก็ให้รู้เหตุปัจจัย

รู้ไม่ใช่เพื่อ ยินดี ยินร้าย รู้เพื่อให้ รู้เหตุปัจจัย

เหตุแห่งความเจริญ

เคารพ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

เคารพ สิกขา 3 ศีล สมาธิ ปัญญา

เคารพในความไม่ประมาท

เคารพในการปฎิสันฐาน

เคารพใน ศีล

เคารพใน สมาธิ

เคารพในกันและกัน

หลักตัดสิน ธรรมวินัย 8 ประการ

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด

เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้

เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส

เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย

เป็นไปเพื่อสันโดษ

เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ

เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร

เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย

ธรรมที่ควรเจริญ

สติ

สัมปัชชัญญะ

ศีล

สมาธิ

ปัญญา

วิมุตติ

วิมุตติญาณทัสสนะ

สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ

สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ

สัมมาวาจา พูดชอบ

สัมมาอาชีโว อาชีพชอบ

สัมมากัมมันโต การงานชอบ

สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ

สัมมาสติ ระลึกชอบ

สัมมาสมาธิ ตั้งมั่นชอบ

สัมมาญาณะ ความรู้ชอบ

สัมมาวิมุตติ หลุดพ้นชอบ

สัมมาวิมุตติญาณทัสสนะ ความเห็นในการหลุดพ้นชอบ

สัมมาทิฏฐิ

คือ รู้ชัดซึ่ง เหตุแห่ง กุศล วิชชา เป็น เหตุ

รู้ชัดซึ่ง เหตุแห่ง อกุศล อวิชชา เป็น เหตุ

การบรรลุธรรมอาศัย สติ ปัญญา อุเบกขา เป็นมัทยัทธ์

รักษาสัจจะ เพิ่มพูลจาคะ ไม่ประมาทปัญญา ศึกษาสันติ

การปฎิบัติธรรม

คบสัตบุรุษ ฟังพระสัทธรรม อยู่ในประเทศเหมาะสม ตั้งสัจจะ เดินสัมมาทิฏฐิ เจริญความสงบ

ออกพิจารณาด้านปัญญา + พลังกุศล - บ่มอินทรีย์ นิพพิทา วิราคะ วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ

สติ - ศีล - สมาธิ - ปัญญา - วิมุตติ - วิมุตติญาณทัสสนะ

อัปปมาโณพุทโธ อานุภาพพระพุทธเจ้าไม่มีประมาณ

อัปปมาโณธัมโม อานุภาพพระธรรมไม่มีประมาณ

อัปปมาโณสังโฆ อานุภาพพระสงฆ์ไม่มีประมาณ

เรื่องของสมมติ อวิชชา ตัวตน ยึดตรงไหน หลงที่ไหน ผิดที่นั้น จุดต่อมแห่งภพชาติ

wiweksikkaram.hi5
 
จำนวนผู้ตอบ: 114
สมัครสมาชิก: Mon Mar 15, 2010 12:20 am
ที่อยู่: สุทธาวาสภูมิ


กลับไปหน้า ถาม-ตอบธรรมะ

ผู้ที่กำลัง online

ผู้ที่กำลังอ่าน forum นี้: สมาชิก ไม่มีสมาชิก และ ผู้เยี่ยมชม 3 คน

cron